โทร.083-7119339
ไลน์ 0837119339
การปลูกต้นไม้ตามวันและเวลาแบบโบราณ (ตามตำราพราหมณ์)
การปลูกต้นไม้ตามวันตามตำราโบราณ(คนแต่แรก)
วันอาทิตย์
ท่านให้ปลูก กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ เผือก มัน ว่านต่างๆ หรือพืชที่กินหัวหรือเง่า
วันจันทร์
ท่านให้ปลูก ต้นแมงลัก ผักกาด กวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้ง โหระพา หรือ พืชที่ใช้ใบนำมาปรุงเป็นอาหารกิน
วันอังคาร
ท่านให้ปลูก ต้นไม้จำพวกเป็นเครือ เถาพืชเลื้อย เช่น ตำลึง แตงโม น้ำเต้า แตงร้าน ถั่วพู บวบ ถั่วฝักยาว ฟักแฟง เป็นต้น
วันพุธ
ท่านให้ปลูก ต้นไม้ที่ให้ดอกปรุงอาหาร หรือบูชาพระ เช่น ขจร ดาวเรือง พุทธรักษา จำปี จำปาดอกบัว หรือพันธุ์ไม้ดอก ทุกประเภท
วันพฤหัสบดี
ท่านให้ปลูก ต้นไม้ที่ให้ฝัก และรวง เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ข้าวโพด มะรุม เพกาเป็นต้น
วันศุกร์
ท่านให้ปลูก ต้นไม้ที่ให้ผลทุกชนิดเช่น มะนาว มะพร้าว มะม่วง ส้มทุกชนิด ทุเรียน ฝรั่ง ละมุด ลางสาด ลิ้นจี่ ทับทิม กล้วย เป็นต้น
วันเสาร์
ท่านให้ปลูก ต้นไม้ยืนต้นที่ใช้เนื้อไม้ การปลูกไม่ป่า และไม้ให้คุณทั่วไป เช่น ไม้สัก พะยุง ไม้จันทน์ เป็นต้น
ส่วนการเลือกเวลาปลูกตามแบบโบราณ(คนแต่แรก)มีดังต่อไปนี้ คือ.
ปลูกตอนเช้า ท่านว่า ปลูกเอาผล
ปลูกตอนสาย ท่านว่า ปลูกเอาลำต้น
ปลูกตอนสายงายแก่ๆ ท่านว่าปลูกเอาใบ
ปลูกตอนเย็น ท่านว่า ปลูกเอาเง่าและหัว
พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์
ประวัติไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์
เมื่อกล่าวถึงความเชื่อและความศรัทธาซึ่งในแต่ละพื้นที่แต่ละภูมิภาคในประเทศไทยมีมากมายหลายแบบแตกต่างกัน ซึ่งความเชื่อและความศรัทธาล้วนแล้วแต่มีประวัติความเป็นมาแทบทั้งสิ้น
ไอ้ไข่ หรือ ตาไข่เด็กวัดเจดีย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรอบบริเวณวัดแล้ว วัดเจดีย์ก็ไม่แตกต่างกับวัดทั่วๆไปในประเทศไทยแต่สิ่งที่แปลก และเป็นที่เคารพศรัทธา นับถือ ของ
ชาวบ้านในละแวกนั้นและผู้คนทั่วสาระทิศคือไอ้ไข่ วัดเจดีย์ ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ หรือ ตาไขวัดเจดีย์ เป็นรูปไม้แกะสลักเป็นรูปเด็กอายุประมาณ 9-10 ขวบ สวมชุดลายพรางทหารสวมแว่นตาดำ ซึ่งมาจากสิ่งของที่ชาวบ้านที่นับถือศรัทธานำ
มาถวายแก้บน สังเกตบริเวณปากทางเข้าวัดจะมีรูปปั้นไก่ชนจำนวนมาก วางอยู่บริเวณใกล้กับปากทางเข้าวัดและใกล้ๆกันมีร่องรอยการจุดประทัด เศษชิ้นส่วนของประทัดกองอยู่เป็นเนินสูงและมีผู้คนเข้าออกมาไหว้พระและต่อด้วยไหว้
แก้บนกับรูปแกะสลักไอ้ไข่ จุดประทัดกันอยู่เนื่องๆ นั้นคงแสดงถึงเหตุผล หรือความเชื่ออะไรบ้างอย่าง ? นาย เรียม ผิวล้วน ชาวบ้านอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับวัดเล่าให้ฟังว่า วัดเจดีย์เมื่อก่อนเป็นวัดที่รกร้างมาประมาณ 1,000 ปี แล้ว
ได้บูรณะใหม่เมื่อปี่ พ.ศ. 2500 ซึ่งที่ ที่กำลังก่อสร้างอุโบสถอยู่นั้นเมื่อก่อนเป็นเจดีย์รกร้างชาวบ้านไม่กล้าเข้าไป ส่วนประวัติของไอ้ไข่ วัดเจดีย์ หรือ ตาไข่วัดเจดีย์ ทำไมถึงเรียกเชื่อแตกต่างกัน? ได้รับคำตอบว่าเมื่อพิจารณาอายุของไอ้
ไข่แล้วอายุหลายปีแล้ว ชาวบ้านเชื่อว่าคงไม่เหมาะสมที่ลูกหลาน เด็กรุ่นใหม่จะเรียก “ไอ้ไข่”สมควรเรียก“ตาไข่”ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า มีการเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนว่า สถานที่ตั้งวัดเจดีย์ปัจจุบันนั้นเมื่อก่อนได้มี หลวงปู่ทวด
ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ดังสายปักษ์ใต้ได้มาปักกรด เดินธุดงค์ อยู่บริเวณนั้น ส่วนไอ้ไข่ นั้นเชื่อว่าเป็นวิญญาณเด็กอายุประมาณ 9-10 ขวบเป็นลูกศิษย์ซึ่งติดตามหลวงปู่ทวด เมื่อหลวงปู่ทวดมาถึงสถานที่ดังกล่าวกลับพบว่ามีทรัพย์สมบัติ และ
ศาสนสถานที่สำคัญเป็นจำนวนมากซึ่งได้ให้ ไอ้ไข่ สิงสถิตเฝ้าทรัพย์สมบัติดังกล่าว ณ ที่นั้น และหมู่บ้านนั้นภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “หมู่บ้านโพธิ์เสด็จ”จวบเท่าปัจจุบัน หลังจากปี พ.ศ. 2500 ผู้ใดที่เข้ามานอนพักข้างแรมภายในบริเวณ
วัดเจดีย์ถ้าไม่เอ่ยชื่อหรือบอกล่าว หรือขอขมาต่อไอ้ไข่แล้ว จะนอนไม่ได้ มีการก่อกวนทั้งคืนเช่นเมื่อทำท่าจะหลับจะมีเด็กเอามือมาตีศรีษะบ้าง ดึงขา ดึงแขนบ้าง ก่อกวน ตามประสาแบบเด็กๆทั้งคืน เมื่อปีพ.ศ. 2526 พ่อท่านเทิ่ม ซึ่งเป็น
เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ในขณะนั้นได้จัดสร้างเหรียญบูชาไอ้ไข่ เป็นรุ่นแรก พร้อมกับพัฒนาวัดเรื่อยมาแต่ในพื้นที่ขณะนั้นยังเป็นพื้นที่สีชมพู คือยังมีความเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ทางราชการจึงส่งทหารพรานประมาณหนึ่ง
กองร้อยมาตั้งฐานปฏิบัติการชั่วคราวที่วัดเจดีย์ ซึ่งก็ปรากฏการณ์เช่นเดียวกันคือ เมื่อทหารกำลังหลับรู้สึกว่ามีเด็กมาดึงขาบ้าง ดึงแขนบ้าง เอาปืนตีศรีษะบ้าง ผลักปืนให้ล้มบ้าง จนไม่ได้นอนทั้งคืน เมื่อรุ่งเช้าทหารพรานชุดดังกล่าวจึงได้
ไปสอบถามชาวบ้านบริเวณใกล้ๆกับวัดเจดีย์พร้อมกับเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวให้ฟังชาวบ้านฟัง ชาวบ้านละแวกนั้นรู้เรื่องราว และเกียติศักดิ์ของไอ้ไข่เป็นอย่างดีจึงได้บอกวิธีการแก้ไข คือ ก่อนกินข้าวหุงเตรียมอาหารต้องเอ่ยถึงไอ้ไข่ซึ่ง
สถิตอยู่ ณ ที่นั้นด้วยหลังจากเมื่อทหารพรานชุดดังกล่าวได้ทำตามที่ชาวบ้านแนะนำแล้วคืนต่อมาก็นอนหลับพักผ่อนกันอย่างสบายเนื้อและสบายใจ ปราศจากการรบกวนของเด็กซึ่งลุงเรียม ยังกล่าวเน้นคำว่า สัตย์จะ เป็นเรื่องสำคัญมาก
เท่าที่ประสบและเจอมาเมื่อบนบานศาลกล่าวอะไร ก็ต้องนำสิ่งของนั้นมาแก้บนด้วย แล้วลุงก็ตอบอย่างมั่นใจว่า “ขอให้ไหว้รับอย่างแน่นอน”
พราหมณ์บวงสรวงไอ้ไข่
ไอ้ไข่วัดเจดีย์,
พราหมณ์ปลุกเสกไอ้ไข่
เจ้าพิธีไอ้ไข่
ใน พ.ศ. 1830 ราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช (ปัทมวงศ์) ปกครองอาณาจักรนครศรีธรรมราชอยู่ร้อยกว่าปีก็ได้ล่มสลายลงจากโรคห่าระบาดและสงครามกับพวกชวา สมัยท้าวอู่ทองแห่งอโยธยาที่ได้สถาปนาเป็นพระญาติกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้ส่งพระราชโอรสและไพร่พลจากเมืองพริบพรีมาฟื้นเมืองเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองบริวารใหม่ และได้สถาปนาราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชมาอีกครั้งที่มีเชื้อสายจากท้าวอู่ทองแห่งอโยธยา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19
สมัยนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่า พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา เป็นพระมหากษัตริย์นครศรีธรรมราช ในสมัยนั้นศาสนาพราหมณ์ยังมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการตั้งชุมชนพราหมณ์ขึ้นมากมาย ในหลายสถานที่รอบรายเมืองนครศรีธรรมราช สมัยนั้นพระมหากษัตริย์เมืองนครทรงแต่งตั้งหัวหน้าพราหมณ์ผู้ดูแล สถานพระนารายณ์ และสถานพระอิศวร และเป็นผู้ดูแลชุมนุมพราหมณ์ทั้งหลายรอบรายเมืองนคร
หัวหน้าพราหมณ์ 2 ท่านคือ
ออกพระศรีราชโภเบนทร์นรินทร์ภักดีศรีอาคมชุมนุม (หลวงผแดงศรีกาเกียสเภาลักจัน)
ออกพระธรรมนารายน์เวทภักดีศรีรัตนโกษา (หลวงผแดงธรรมนารายน์)
พราหมณ์ปู่และพราหมณ์พ่อของพราหมณ์อ่ำ เป็นหลิน (เชื้อสาย)ของ ออกพระศรีราชโภเบนทร์นรินทร์ภักดีศรีอาคม (หลวงผแดงศรีกาเกีย สเภาลักจัน) ซึ่งบรรพบุรุษ มาจากเมืองรามราช (เมืองพาราณสี)
พราหมณ์อ่ำ ชุมธรรม
บรรพบุรุษได้เดินทางมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 12 และสืบสายพราหมณ์มาไม่เคยขาดสายตลอดชั่ว 16 บรรพบุรุษ แม้จะหมดยุคของกษัตริย์เมืองนครแล้วแต่บรรพบุรุษของพราหมณ์อ่ำก็ยังบวชพราหมณ์สืบสายมาจนถึงพราหมณ์ปู่และพราหมณ์พ่อของพราหมณ์อ่ำ มาถึงสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในนครศรีธรรมราช รุ่งเรืองมากจนได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองพระ มีวัดวาอารามมากมาย จนถึงสมัยนี้มีจำนวนวัดทั้งหมด 84 วัด ยังไม่รวมวัดที่ร้างไปอีกจำนวนมาก มาถึงยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสุดขีด พวกพราหมณ์ทั้งหลายไม่มีงานพิธีกรรม บ้างก็ทำเกษตรกรรม บ้างก็ค้าขายเพื่อเลี้ยงชีพ เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้เชิญพราหมณ์จากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นไปอยู่ราชธานีเพื่อประกอบพิธีหลวง แต่ตระกูลของพราหมณ์อ่ำไม่ได้ไปเป็นพราหมณ์หลวงรับใช้ราชสำนักแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พราหมณ์อ่ำได้เปลี่ยนนามสกุลจาก อาคมชุมนุม (นามสกุลเดิมตั้งแต่สมัยออกพระศรีราขโภเบนทร์นรินทร์ภักดี ศรีอาคม เปลี่ยนมาเป็น ชุมธรรม (ประชุมธรรม) เนื่องจากอยู่แต่กับวัดวาอารามพราหมณ์พ่อของพราหมณ์อ่ำจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หลังจากนั้นคุณพ่อของพราหมณ์อ่ำ ก็ได้ทำมาหาเลี้ยงชีพโดยการปั้นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตามวัดวาอารามต่างๆและได้ประกอบพิธีตามวัดวาอารามและพิธีตามพื้นบ้านเพื่อเลี้ยงชีพ จนได้สืบทอดมาจนถึงรุ่นพราหมณ์อ่ำ