พิมพ์

จากตำนานพระเจ้าศรีธรรมโศกราชของจังหวัดนครศรีธรรมราชของวัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ว่าประมาณปี 1700-1800 เมืองนครศร๊ธรรมราชมีกษัตริย์ สาม พี่น้องพระเชษฐา ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมโศกราช" องค์รองชื่อ "จันทรภาณุ" องค์สุดท้ายนามว่า "พงษาสุระ" ทุกพระองค์ครองราชจะทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทั้งหมด ในช่วงนี้ได้สร้างความเจริญให้กับอาณาจักรเป็นอย่างมากทั้งโดยได้ครอบครองเมืองทั้งหลายตลอดแหลมมลายูเรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตรถือรูปดอกบัวเป็นสัญญลักษณ์ประจำเมืองนอกจากนี้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้บูรณะพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชซึ่งแบบเดิมเป็นแบบศรึวิชัย ให้เป็น แบบ ลังกาโดยก่อครอบเจดีย์เดิมเมื่อสิ้นสมัยกษัตริย์ สามพี่น้องแล้วหัวเมืองต่างๆในสุวรรณภูมิก็รวมตัวกันมีพระราชาปกครองต่อมาในสมัยพ่อขุนราม คำแหงได้มีการสร้างระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ ทำกำแพงรอบทั้งสี่ด้าน สร้างวิหารติดกับองค์ เจดีย์ใหญ่และสร้างพระพุทธรูปขึ้นแทนองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหารสามจอม และเรียกกันต่อมาว่าวิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช

 

       ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เกิดโรคห่าระบาดหลายครั้งพระองค์ต้องอพยพประชากร หนีโรคภัยออกจากเมืองหลายครั้งตามหลักฐานได้ปรากฎว่าหนีมาที่ ลานสกาและสถานที่ประทับก็คือ วังโบราณ แห่งนี้ โดยพระองค์ได้คิดวิธีแก้ไข้ห่า โดยเอาปรอทมาหุงขัดยา ทำเป็นหัวนอโม หว่านทั่วเมืองเพื่อขจัดโรคห่าให้หมดไปเมื่ือหมดจากโรคห่าพระองค์จึงเสด็จประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นการถาวร สถานที่ตรงนั้นจึงเกิดเป็นวัดขึ้น ชื่อว่าวัดน้ำรอบแต่ต่อมาได้ย้ายวัดมาที่สถานที่ใหม่เนื่องจากสถานที่เก่าคับแคบ แต่ต่อมาในปี2510 ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ได้มีการนำพระพุทธรูปจำลององค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช มาประดิษฐานที่นี่ด้วยในปี 2514 เพื่อเตือนใจว่าที่นี่เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชมาแต่ครั้งก่อน

 

       ต่อมาในปี 2518 ที่นี่ได้เกิดอุทกภัย พระพุทธรูปองค์นี้ได้สูญหายไป ต่อจากนั้นชาวบ้านได้กล่าวขานกันว่า องค์พระได้มาเข้าฝันบอกว่าจมอยู่ไนน้ำนานแล้วให้ช่วยเอาขึ้นมาด้วยชาวบ้านก็ช่วยกันขุดแต่ก็ไม่สามารถหาเจอ จนกระทั่งในปี 2546ได้ทำการขุดค้นอีกครั้งและได้ทำการบวงสรวงเทพยด่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ได้ค้นพบชิ้นส่วนองค์พระในคราวนั้นและในเดือน กรกฎาคม 2546 ได้มีการค้นพบแท่นประทับของพระเจ้าศร๊ธรรมโศกราชโดยกล่าวกันว่า การต้นพบนั้นมาจากการเข้าฝัน

วังโบราณลานสกา

วังโบราณลานสกา