พิมพ์

ประวัติความเป็นมาของพราหมณ์และฮินดู
พราหมณ์แบ่งออกเป็นสามยุค
1.ยุคพระเวท
เทพเจ้ารุ่นแรกสุดของยุคพระเวทคัมภีร์พระเวท
การแบ่งวรรณะในยุคพระเวทความเชื่อและการปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะ

2.ยุคพราหมณ์
เป้าหมายสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในยุคพราหมณ์โยคะ
ตบะ

3.ยุคฮินดู
ตรีมูรตินิกายในศาสนา
หลักคาสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกฎสาหรับวรรณะ
พิธีประจาบ้านพิธีศราทธ์
การบูชาเทวดา
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู แบ่งออกเป็น 3 ยุค
1.ยุคพระเวท1,000 – 100 ปีก่อนพุทธกาล
ศาสนาพรามหณ์-ฮินดูเกิดขึ้นในยุคพระเวท เมื่อชาวอารยันได้ตั้งถิ่นฐานในอินเดีย และได้ผสมผสาน
แนวความคิดทางศาสนาของตนเข้ากับของชนพื้นเมืองเดิมเป็นศาสนาพราหมณ์ขึ้น ซึ่งในยุคพระเวทและยุคพราหมณ์ ยังคงเรียกว่าศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่อถึงยุคฮินดู จึงเรียกว่าศาสนา

พราหมณ์-ฮินดู
2.ยุคพราหมณ์100 ปีก่อนพุทธกาลถึงพ.ศ.700
ยุคนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสาคัญในความคิดทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูคือความเชื่อแบบอติเทว
นิยมซึ่งพัฒนามาจากความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ได้เปลี่ยนมาเป็นความเชื่อแบบเอกเทวนิยมอย่างเต็มที่
3.ยุคฮินดู พ.ศ.700เป็นต้นมา
เมื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้พัฒนาจากยุคพราหมณ์มาถึงยุคฮินดู ความคิดแบบเอกเทวนิยมได้พัฒนากลับไปเป็นพหุเทวนิยมอีกครั้งหนึ่ง ในยุคนี้เกิดเทพเจ้าขึ้น 3 องค์คือพระพรหม พระ

วิษณุ พระศิวะหรือพระอิศวร
ยุคพระเวท
1.ยุคพระเวท1,000 – 100 ปีก่อนพุทธกาล
ศาสนาพรามหณ์-ฮินดูเกิดขึ้นในยุคพระเวท เมื่อชาวอารยันได้ตั้งถิ่นฐานในอินเดีย และได้ผสมผสานแนวความคิดทางศาสนาของตนเข้ากับของชนพื้นเมืองเดิมเป็นศาสนาพราหมณ์ขึ้น ซึ่งใน

ยุคพระเวทและยุคพราหมณ์ ยังคงเรียกว่าศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่อถึงยุคฮินดู จึงเรียกว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ยุคพระเวทมีแนวความคิดและความเชื่อเป็นวิญญาณนิยม(Animism) คือถือและเข้าใจว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์อยู่ในสิ่งที่ตนนับถือ เช่น ดิน น้า ลม ไฟ ต้นไม้ใหญ่ และภูเขา สามารถให้

คุณและให้โทษแก่มนุษย์
ต่อมาพัฒนาแนวคิดเป็นแบบพหุเทวนิยม (Polytheism)
หมายถึงความเชื่อว่ามีเทพเจ้าหลายองค์ ถือเป็นการเริ่มต้นของยุคพระเวท เทพเจ้ารุ่นแรกสุดของยุคพระเวทคือ
1.พระสาวิตรีเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์
2.พระวรุณเทพเจ้าแห่งฝน
3.พระอินทร์เทพเจ้าผู้สร้างโลก
4.พระยมเทพเจ้าแห่งความตาย
คัมภีร์พระเวท
คัมภีร์พระเวทมี 3 คัมภีร์เรียกว่าไตรเพท
คือ
1.ฤคเวท(Rigaveda)-เป็นคัมภีร์ที่ประกอบขึ้นด้วยคาฉันท์
ซึ่งเป็นบทร้อยกรองสาหรับใช้
สวดสรรเสริญเทพเจ้าต่างๆ
2.ยชุรเวท(Yajurveda)เป็นคาร้อยแก้ว ว่าด้วยระเบียบวิธี
ในการประกอบพิธีบูชายัญและพิธีบวงสรวงต่างๆ เช่นในการประกอบยัญพิธี พราหมณ์
3.สามเวท(Samveda)เป็นร้อยกรองประเภทคาฉันท์ที่มีความไพเราะ
มีการประกอบเสียงดนตรีสาหรับสวดสรรเสริญและขับกล่อมเทพเจ้า 3 องค์
คือพระอินทร์ พระโสมะ และ รัคนี
การแบ่งวรรณะในยุคพระเวท
ยุคพระเวทแบ่งบุคคลในสังคมออกเป็น 4 ประเภทคือ
วรรณะพราหมณ์
มีหน้าที่ติดต่อกับพระเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะ ศึกษาจดจาและ
สืบต่อคัมภีร์พระเวท และเป็นปุโรหิตให้แก่กษัตริย์พราหมณ์ถือว่าตนเป็นวรรณะสูงสุดในสังคม
วรรณะกษัตริย์
นักรบที่ทาหน้าที่ป้องกันประเทศชาติบ้านเมืองและทาศึกสงครามขยายเขตแดน เกิดจากพระพาหา
(แขน)ของพระผู้เป็นเจ้า
วรรณะแพศย์
เป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคม ได้แก่ผู้ประกอบพาณิชยกรรม เกษตรกรรมและศิลปหัตถกรรม
ต่างๆ เกิดจากพระโสนิ(ตะโพก)ของพระผู้เป็นเจ้า
วรรณะศูทร
เป็นวรรณะของพวกกรรมกรผู้ทางานรับจ้างแบกหาม และให้บริการแก่วรรณะอื่นๆ เกิดจากพระบาท
ของพระผู้เป็นเจ้า
ยุคพราหมณ์
2.ยุคพราหมณ์100 ปีก่อนพุทธกาล ถึง พ.ศ.700
ยุคนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสาคัญในความคิดทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูคือความเชื่อแบบอติเทวนิยม ซึ่งพัฒนามาจากความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ได้เปลี่ยนมาเป็นความเชื่อแบบเอก

เทวนิยมอย่างเต็มที่

จุดหมายสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูคือโมกษะหรือความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
โยคะ ผู้มุ่งโมกษะ
1.ชญาณโยคะ เป็นมรรควิธีแห่งการ
เข้าถึงพรหมด้วยความรู้
2.กรรมโยคะ เป็นการกระทำด้วย
ความรู้สึกปล่อยวางไม่หวังผลตอบแทน
3.ภักติโยคะ การประกอบความภักดี
การบริการแก่พระผู้เป็นเจ้าโดย
ปราศจากการหวังผลตอบแทน
ตบะ ความร้อนหรือความแผดเผา
ตบะคือพิธีย่างกิเลสหรือพิธีข่ม
กิเลสโดยการทรมานตัวหรือการข่มกาย
เพื่อเพิ่มพลังจิตหรือข่มความต้องการ
ทางธรรมชาติ ทรมานร่างกายให้พ้น
จากความเป็นทาสของความต้องการ
ตามธรรมชาติ

ตัวอย่างการบำเพ็ญตบะแบบต่างๆ
ชลาศยี-พวกถือแช่ตัวในน้ำแค่เอวคราวละหลายวันหรือหลายสัปดาห์
พหูทกะ-พวกถืออาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้ได้มากแห่งที่สุดโดยย้ายที่อาบไปเรื่อยๆ
ศังกุศี-พวกถือนอนบนเตียงหนามคราวละนานๆทุกๆวัน
ภูมิกา-พวกถือนอนบนพื้นดิน ไม่ยอมใช้เตียงหรือเครื่องปูลาด
กุฏิลกา-พวกถืออิริยาบถงอตัว ไม่ยอมยืน ไม่ยอมนั่ง นอนในท่าตัวตรง
นิษฉลี-พวกถือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ยืนหรือนั่งในท่าและที่เดียวเป็นเวลาแรมปีจนนกมาทา
รังในผมได้ หรือเถาวัลย์ขึ้นพันขา หรือจอมปลวกขึ้นที่เท้า
ขฑาศรี-พวกถือไม่นอน ยืนตัวตรงอยู่ตลอดเวลา
ปัญฉตปัสวี-พวกถือนั่งกลางแดดพร้อมทั้งก่อไฟอีก4กองไว้ล้อมตัวทั้ง5ทิศ
นิฉศิรสิ-พวกถือห้อยศรีษะ โดยเอาไม้เหนี่ยวกิ่งเท้าไว้อย่างค้างคาว
นขมุษฏ-พวกถือกำมือไว้จนเล็บงอกแทงเข้าไปในอุ้งมือ
อูรธวพาหุ-พวกถือยกแขนคาไว้จนแข็งค้าง
ฉหินนกา-พวกถือทำร้ายร่างกายตนเอง เช่น บีบรัดอวัยวะบางอย่างจนเป็นง่อย

อาศรม4
อาศรม4ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หมายถึง
*ช่วงหรือระยะเวลาของชีวิตและยังหมายถึงที่สาหรับอยู่อาศัยของนักบวช
*การดาเนินชีวิตตามหลักศาสนาของบุคคลในวรรณะสูงทั้ง 3 คือพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะต้องดารงชีวิตตามหลักอาศรม 4

1.พรหมจรรย์
ช่วงชีวิตที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียน เพื่อนาความรู้มาแสวงหาทรัพย์สมบัติ
ทางโลก เป็นระยะที่ต้องศึกษาเล่าเรียนสาระของพระเวท ยัญพิธี
และวิชาการอื่นๆอยู่กับครูเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ปีและในช่วง
ระยะเวลาดังกล่าวนี้ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและคาสั่งของครูอย่าง
เคร่งครัด
2.คฤหัสถ์
คือช่วงแสวงหาความสุขทางโลก มีครอบครัว มีบุตรธิดา
แสวงหาทรัพย์สมบัติ ประกอบยัญพิธีและรับผิดชอบ
ต่อชุมชน บุคคลในช่วงนี้เรียกว่าคฤหัสถ์ หมายถึง
ผู้ครองเรือน
3.วานปรัสถย์
คือช่วงที่ต้องปฏิบัติธรรม หรือทำตนให้เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยคุณธรรม โดยการออกไปพานักอยู่อาศรมในป่า
บาเพ็ญตบะและข้อปฏิบัติอื่นๆทางศาสนาอย่างเคร่งครัด
บุคคลที่อยู่ในอาศรมนี้เรียกว่าวานปรัสถ์
4.สันนยาสะ
คือการปฏิบัติเพื่อบรรลุโมกษะอันเป็นจุดหมายสุดท้ายของ
คนฮินดู เป็นช่วงที่สละทุกอย่าง เหลือแต่ผ้านุ่งกับภาชนะ
สาหรับภิกขาจารและหม้อน้ำออกจากอาศรม เที่ยวจาริก
เร่ร่อนภิกขาจารเรื่อยไป ไม่ซ่องเสพสังคม พิจารณาเห็น
ความเสื่อมโทรมปฏิกูลระคนด้วยทุกข์ของร่างกาย ให้จิตใจ
สงบระงับ

วรรณะ4
1.วรรณะพราหมณ์
2.วรรณะกษัตริย์
3.วรรณะแพศย์
4.วรรณะศูทร

พรหมมัน-อาตมัน
พรหมมัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรพรหม เป็นสิ่งที่ดารงอยู่ในภาวะ เป็นสิ่งแท้จริงสูงสุด เป็นตัวตนที่เที่ยง (อัตตา) ไม่มีขอบเขตจากัด ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด ดารงอยู่ตลอดกาล

ลักษณะของพรหมันมีอยู่ 3 คา คือ สัต จิต อานันทะ
สัต หมายถึง ความมีอยู่ของพรหมัน
จิต คือ คาอธิบายลักษณะของพรหมันว่ามีอยู่ในลักษณะเป็นจิตบริสุทธิ์หรือสัมปชัญญะ
อานันทะ แสดงคุณลักษณะของจิตบริสุทธิ์หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์

ปรมาตมัน (ปรม+อาตมัน) แปลว่า อัตตาสูงสุด
ชีวาตมัน (ชีว+อาตมัน) แปลว่า อาตมันของชีวะ ซึ่งชีวะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ประกอบขึ้นด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ ร่างกายเกิดขึ้นจากการปสมของดิน น้ำ ลม

ไฟ ส่วนวิญญาณเป็นส่วนหนึ่งของอาตมันสากล

โมกษะหรือความหลุดพ้น
กฎแห่งกรรมในแง่ที่เป็นกฎศีลธรรมนั้น หมายถึง กฎแห่งการกระทำของมนุษย์ ซึ่งหลักทั่วไปของกฎศีลธรรมมีว่า ทำดีย่อมได้รับผมดี ทาชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
จุดหมายสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ โมกษะ หรือความหลุดพ้น ซึ่งหมายถึงภาวะที่ชีวาตมันเข้ารวมกับพรหมัน หรือเป็นเอกภาพกับพรหมัน เมื่อชีวาตมันรู้แจ้งเห็นจริงในภาวะที่แท้

จริงของพรหมัน ขจัดความเห็นในความแตกต่างระหว่างพรหมันและสิ่งต่างๆ เสียได้ ประจักษ์ชัดถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวแห่งชีวาตมันและพรหมัน เมื่อนั้นก็จะบรรลุโมกษะหรือการหลุด

พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด และดารงอยู่ในความสุขอันไม่เปลี่ยนแปลงชั่วนิรันดร

โยคะ
โยคะ แปลว่า รวม หมายถึง การรวมอาตมัน หรือ ชีวาตมันเข้ากับอาตมันสากล หรือปรมาตมัน
โยคะ แบ่งเป็น 3 อย่าง มีดังนี้
1. ชญาณโยคะ เป็นมรรควิธีแห่งการเข้าถึงพรหมด้วย ความรู้
2. กรรมโยคะ ไม่มีอะไรขัดแย้งกับชญาณโยคะ กรรมโยคะจะเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีชญาณโยคะสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
3. ภักติโยคะ แปลตามตัวว่า การประกอบความภักดี หมายถึง การให้บริการแก่พระผู้เป็นเจ้า โดยปราศจากการหวังผลตอบแทน

พระพรหม
พระพรหม
ทาหน้าที่เป็นผู้สร้าง (Creator )
มีชายาชื่อ พระสรัสวดี
พาหนะประจาพระองค์คือหงส์

พระศิวะหรือพระอิศวร
พระศิวะ หรือพระอิศวร
ทาหน้าที่เป็นผู้ทำลาย (Destroyer)
มีโคสีขาวเป็นพาหนะ
ชายาของพระศิวะ คือ พระอุมา

พระวิษณุหรือพระนารายณ์
พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เคยเป็นเทพเล็กๆ ในยุคพระเวท ครั้นถึงยุคฮินดู เทพวิษณุได้บรรลุความยิ่งใหญ่เป็นพระนารายณ์ ทาหน้าที่เป็นพระผู้รักษา (Preserver)

หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีหลักคาสอนที่คล้ายคลึงกับหลักคาสอนเรื่องทิศ 6คือการปฏิบัติตัวต่อบุคคล ดังต่อไปนี้
1. ปิตฤธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของบิดาต่อบุตร
2. มาตฤธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร
3. อาจารยธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของครูอาจารย์ต่อศิษย์
4. บุตรธรรม และ ศิษยธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา และการปฏิบัติหน้าที่ของลูกศิษย์ต่อครูอาจารย์
5. ภราตฤธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของพี่ต่อน้องและน้องต่อพี่
6. ปติธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา
7. ปัตนีธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี
8. สวามี-เสวกธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง) ต่อเสวก (ลูกจ้าง) และการปฏิบัติหน้าที่ของเสวกต่อสวามี
9. ราชธรรม คือการปฏิบัติหน้าที่ของพระราชา (หรือรัฐบาล) ต่อประชาชนในด้านประชาชนมีหน้าที่ถวายความเคารพนับถือพระราชาอย่างสูงสุด
 เพราะพระราชาเหมือนพระเจ้า 8 องค์ คือ
1.พระอินทร์
2.พระยมราช
3.พระวายุ
4.พระสุริยะ
5.พระอัคนี
6.พระวรุณ
7.พระจันทร์
8.พระกุเวร

สาเหตุที่ทำให้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแตกออกเป็นนิกาย
1.ความไม่เท่ากันของสติปัญญามนุษย์
2.ความคิดเห็นที่แตกแยกกัน
3.ความเห็นแก่ตัว

นิกายไศวะ
นับถือพระอิศวรหรือพระศิวะเป็นเทพพระเจ้าสูงสุด หน้าที่สร้างโลกซึ่งเคยเป็นของพระพรหมก็ยกเป็นของพระศิวะ พระศิวะเป็นเทพที่นิยมมากที่สุด ตามความนึกคิดของผู้คนที่นับถือเห็นว่า

พระองค์ดุร้าย ทาตัวเป็นปีศาจ มเหสี คือพระปารพตีหรือพระอุมา ซึ่งน่ากลัว มีโอรสคือ พระพิฆเนศ และพระขัณฑกุมาร พระศิวะมีร่างกายเป็นสีแดง เป็นรูปคนอีกแบบหนึ่งเป็นอวัยวะเพศ

ชายเรียกว่า ศิวลึงค์ เป็นสัญลักษณ์แสดงการกาเนิดของโลกและมวลมนุษย์ ต้นไม้ประจำพระองค์คือ ต้นมะตูม มี โค เป็นพาหนะ ผู้นับถือศาสนานี้จึงไม่บริโภคเนื้อวัว

นิกายไวษณพะ
นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพพระเจ้าสูงสุด
หน้าที่การสร้างโลกซึ่งเคยเป็นของพระพรหมก็ยกให้พระนารายณ์
* พระนารายณ์มีพระยาครุฑเป็นพาหนะ
* ต้นไม้ประจาพระองค์คือ ตุลสิ (กระเพรา)
เชื่อกันว่าพระองค์อวตารเป็นมนุษย์ได้เป็นคราวๆ นารายณ์อวตาร)
ในยุคนี้พระพรหมตกต่ำไม่ค่อยมีใครนับถือนอกจากพวก
พราหมณ์ปุโรหิต และนักปราชญ์ เพราะพระพรหมไม่มีลักษณะ
เป็นรูปธรรมพอที่จะทาให้คนธรรมดายึดถือ และช่วยเหลือหรือลงโทษใครไม่ได้
คนอินเดียจึงหันไปนับถือพระอิศวร และพระนารายณ์กัน

พิธีศราทธ์ คือ
พิธีสังเวยบรรพบุรุษฝ่ายบิดา ผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยข้าวบิณฑ์
พิธีนี้ทำในวันที่หนึ่งก่อนการเผาศพ ผู้ทำพิธีศราทธ์ต้องเป็นลูกชาย พิธีศราทธ์ ที่เกี่ยวกับมงคล คือทำเพื่อหวังประโยชน์เป็นพิเศษ
4. การบูชาเทวดา กฎพิธีบูชาเทวดาของชาวฮินดูมีต่างกันไปตามชั้นวรรณะ
4.1 สวดมนต์ภาวนา สมานกาย ชำระและสังเวยเทวดาทุกวัน
4.2 พิธีสมโภช ถือศีล และวันศักดิ์สิทธิ์
4.3 ไปนมัสการบำเพ็ญกุศลในวันเทวาลัย

นิกายศักติ
นับถือพระเทวีหรือหรือพระชายาของมหาเทพ เช่น พระสรัสวดี พระลักษมี และพระอุมา ถือว่าเป็นผู้ทรงกาลังของเทพสามีไว้ เรียกว่า ศักติมีหลักอยู่ว่าพระพรหม พระนารายณ์และพระศิวะนั้น

เข้าถึงได้ยากจึงต้องอาศัยบูชาพระชายาของพระองค์
การบูชาเทวดาผู้หญิงมักเป็นไปทางอนาจาร เช่นจับระบำเปลือยกาย และสังเวยด้วยโลหิต อย่างไรก็ตามนิกายนี้ก็ยังแยกออกเป็นสองฝ่าย คือ ทักษิณาจารี (ฝ่ายขวา) มีการทำอย่างเปิดเผย

และสุภาพ และฝ่าย วามาจารี (ฝ่ายซ้าย) ทาพิธีในที่ลับและลามกอนาจารมาก

นิกายตันตระ
เกิดจากการนับถือ ศักติ การบูชาศักติตามแบบตันตระต้องทาให้ศักติและเทพพอพระทัย การพรรณนาแห่งความเสน่หา ความรักระหว่างเทพและชายา และลงท้ายด้วยการประกอบเมถุน
นิกายตันตระมีการทาพิธีที่ต้องทำตามกฎ เรียกว่า ปัญจมการ
1.มัตยะ หรือ มัชช คือ น้ำเมา
2.มางสะ คือ เนื้อสด 
3.มนตรา คือ สาธยายมนต์ เมถุน
4.มุทรา คือ ลีลาด้วยท่ายั่วยวน
5.ไมถุน หรือ เมถุน คือประกอบ

ข้อปฏิบัติและพิธีกรรมของชาวฮินดู
พิธีกรรมของชาวฮินดูแบ่งเป็น 4หมวด ดังนี้
1. กฎสาหรับวรรณะ
1.1 การแต่งงาน ผู้ที่จะแต่งงานกันต้องเป็นคนวรรณะเดียวกัน จะแต่งงานข้ามวรรณะไม่ได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎ ต้องมีโทษถึงประณาม
1.2 อาหารการกิน การกิน มีกาหนดสิ่งของว่ากินได้หรือไม่ได้ และบุคคลในวรรณะใดจึงจะปรุงหุงต้มอาหารให้
1.3 การทามาหากิน ต้องอยู่ในเขตจำกัดว่า พวกนั้นเกิดมาในตระกูลนั้น ในวรรณะนั้น ต้องทามาหาเลี้ยงชีพนั้น
1.4 เคหสถานที่อยู่ ในกฎของเดิมห้ามการมีถิ่นฐานบ้านช่องอยู่นอกเขตประเทศอินเดีย และห้ามเดินเรือไปในทะเล แต่ในบัดนี้ไม่ค่อยถือกัน
2. พิธีประจำบ้าน ผู้เป็นฮินดูต้องทาพิธีประจำบ้านละเว้นไม่ได้ ต้องอาศัยพราหมณ์นักบวชเป็นผู้ทำ พิธีสังสการ ซึ่งเป็นพิธีประจำบ้านไว้ 12 ประการที่คนในชั้นทวิชาติ คือ พราหมณ์

กษัตริย์ และแพศย์ ได้แก่
พิธีสังสการ
2.1 ครรภาธาน
2.2 ปุงสวัน
2.3 สีมันโตนนยัน
2.4 ชาตกรรม
2.5 นามกรรม
2.6 นิษกรรม
2.7 อันนปราศัน
2.8 จูฑากรรม
2.9 เกศานตกรรม
2.10 อุปายัน
2.11 สมาวรรตน์
2.12 วิวาหกรรม