พระวิษณุ ศิลา     
ศิลปะภาคใต้ เทวรูปรุ่นเก่า       
พุทธศตวรรษที่ 13-14 
ขนาดสูง 52 เซนติเมตร
แหล่งที่พบ วัดจอมทอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายสำราญ รุจิภักดิ์ ให้ยืม
เลขทะเบียนนค.88 

 

 

พระวิษณุ 4 กร สำริด 
ศิลปะลพบุรี เทวรูปรุ่นเก่า
พุทธศตวรรษที่ 16-18 
ขนาดสูงพร้อมฐาน 29 เซนติเมตร ฐาน กว้าง 9 เซนติเมตร 
แหล่งที่พบ ในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์  อำเภอเมือง 
จังหวัดนครศรีธรรมราช
เลขทะเบียน 15/2515 

 

 

พระวิษณุ ศิลา

ศิลปะภาคใต้ เทวรูปรุ่นเก่า พุทธศตวรรษที่ 10-11

ขนาดสูง 78 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ หอพระนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เลขทะเบียน 16/2515

                แสดงถึงลักษณะศิลปะอินเดียใต้  พบในภาคใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสี่กร แต่หักหายไปเหลือเพียงพระพักตร์ซ้ายหน้า ซึ่งทรงถือสังข์อันเป็นเครื่องอุปโภคสิ่งหนึ่งในสี่สิ่งของพระองค์ ที่พระเศียรทรงสวมกิรีฏมกุฎ ทรงกุณฑลรูปกลมโต ทรงสวมพาหุรัดทองพระกร และสายยัชโญปวีตเฉวียงบ่า ยาวลงมาเกือบถึงพระชานุ ประติมากรรมองค์นี้ เป็นรูปเคารพของลัทธิไวษณวิทรุ่นแรก

 

 

 

พระหริหระ สำริด

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-14

ขนาดสูง 16.5 เซนติเมตร

ขุดพบที่ ตำบลนาสาร  อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เลขทะเบียน 25/2511



 

 

พระหริหระ สำริด 
ศิลปะสมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20 
ขนาดสูง 20.3 เซนติเมตร 
แหล่งที่พบ โบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เลขทะเบียน 14/2515 

 

 

พระคเณศ สำริด 
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 
ขนาด ฐานสูง 13.2 เซนติเมตร 
ขุดพบที่ ตำบลนาสาร  อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เลขทะเบียน 11/2515 

พระคเณศองค์นี้มี 2 พระกร ถืองาไว้ในพระหัตถ์ ทรงมงกุฎและเครื่องประดับ
แบบศิลปะลพบุรี 

 

 

พระคเณศ หรือ คณปติ  สำริด 
ศิลปะภาคใต้ พุทธศตวรรษที่ 21-22 
ขนาดสูง 8 เซนติเมตร ฐานกว้าง 5 เซนติเมตร 
แหล่งที่พบ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมือง 
จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เลขทะเบียน 10/2515 

 

 

พระพิฆเนศวร หรือ คณปติ สำริด  ศิลปะภาคใต้  พุทธศตวรรษที่ 21-22 ขนาดสูง 46.5 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เลขทะเบียน 9/2515

                พระพิฆเนศวรองค์นี้ ประทับยืนมี 4 กร ทรงถือบ่วงบาศในพระหัตถ์ซ้ายบน พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือขนมโมฑก พระหัตถ์ขวาบนทรงถือผลวิลวา

 ( มะนาวชนิดหนึ่ง ) ในพระหัตถ์หน้าขวาทรงถือส่วนของงาช้าง ทรงสวมมงกุฎ

มีงูพันต่างสายยัชโญปวีต ทรงผ้านุ่งยาวใต้พระชานุ คาดผ้ารอบเอว ประดับ

องค์ด้วยพาหุรัดทองพระกรและกำไลข้อพระบาท พระพิฆเนศวรยืนนี้ มักจะ

อัญเชิญเป็นประธานในพิธีคล้องช้างที่เพนียด หรือพระราชพิธีรับและขึ้นระวาง ช้างสำคัญ ซึ่งเป็นพิธีหลวง

 

 

พระศิวนาฏราช สำริด

ศิลปะภาคใต้อิทธิพลศิลปะอินเดียใต้ ราชวงศ์โจฬะ

พุทธศตวรรษที่ 22-23 ขนาดสูงพร้อมฐาน 76 เซนติเมตร ฐานกว้าง 44 เซนติเมตร

แหล่งในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เลขทะเบียน 8/2515

           เป็นประติมากรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ พระศิวะในท่าร่ายรำ ทรงมี 4 กร ทรงร่ายรำเหยียบอยู่บนตัวอปสมารปุรุษ คนแคระภูตแห่งความชั่วร้าย ชื่อ มุยลก ซึ่งนอนคว่ำ มือกำงูเห่า อันหมายถึง ความเขลาอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยวงโค้งของเปลวเพลิงที่พวยพุ่ง พระศิวะทรงเหล้าพระเกศาเป็นเกลียวประดับด้วยหางนกยูง ดอกไม้  งูพิษ กปาละ และพระจันทร์เสี้ยว พระกรรณขวาทรงกุณฑลเป็นรูปมกร อันเป็นสัญลักษณ์ของเพศชายและพระกรรณซ้ายทรงกุณฑลจักรอันเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ทรงสนับเพลาสั้นเหนือพระชานุเล็กน้อยรอบบั้นพระองค์คาดด้วยผ้าปล่อยชายพริ้วอยู่ด้านข้าง ทรงสวมกรองศอ กำไลข้อพระกร และสร้อยรอบข้อพระบาท

           ประติมากรรมนาฏราชาองค์นี้ดูคล้ายศิลปะอินเดียใต้มาก แต่เมือเปรียบเทียบลักษณะในท่าของการร่ายรำ จะเห็นว่าการยกพระบาทและการยกพระกรดูไม่ค่อยขึงขังจริงจังเหมือนศิลปะอินเดียใต้ และลักษณะของเปลวไฟรอบๆวงโค้ง ดูคล้ายกับเปลวพระรัศมีของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในราชอาณาจักรไทย จึงอาจเป็นไปได้ที่ว่าอาจหล่อขึ้นที่ภาคใต้โดยเลียนแบบของเดิม มากกว่าที่จะนำมาจากอินเดียใต้โดยตรง

 

 

 

ศิวลึงค์ หินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

ขนาดสูง 58.5 เซนติเมตร ฐานกว้าง 18 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ หอพระอิศวร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

เลขทะเบียน 11/26/2

 

 

ศิวลึงค์ หินปูน 
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 
ขนาดสูง 25 เซนติเมตร 
ฐานกว้าง 40 เซนติเมตร 
แหล่งที่พบ หอพระอิศวร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เลขทะเบียน 11/26/1 
           ศิวลึงค์มีหลายรูปแบบหลายประเภท แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง ศิวลึงค์พบมากที่สุดในภาคใต้ คือที่แหล่งโบราณคดี อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 

 

 

พระอุมา สำริด 
ศิลปะภาคใต้ อิทธิพลอินเดียใต้ 
พุทธศตวรรษที่ 22-23 
ขนาดสูง 45.5 เซนติเมตร 
แหล่งที่พบ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมือง 
จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เลขทะเบียน 13/2515 

 

 

หงส์ สำริด 
ศิลปะภาคใต้ อิทธิพลอินเดียใต้ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 
ยาว 51.5 เซนติเมตร 
แหล่งที่พบ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
เลขทะเบียน 12/2515 
          เป็นพาหนะของพระพรหม  ลักษณะเป็นรูปหงส์ยืน ปากหงส์เป็นแบบปากเป็ด ที่หัวมีหงอนยาว แสดงถึงลักษณะหงส์ดั้งเดิมแบบอินเดีย มีลวดลายคล้ายกรองศอ ประดับรอบคอ บนหลังของหงส์ทำเป็นช่องสี่เหลี่ยมแสดงว่าเดิมเป็นที่รองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ในงานพิธีบูชามาก่อนแล้วสูญหายไป  (ทางพิพิธภัณไม่ทราบข้อมูลนี้ จึงขออธิบายว่า ช่อง 4 เหลี่ยมบนหลังหงส์นั้น ใช้สำหรับ วางบุษบกเทวรูป สำหรับประกอบพระราชพิธี ตรียัมปวาย ตรีปวาย)

Pin It