เสน่ห์และมนต์ขลังของลูกปัดศรีวิชัย
ลูกปัด ในความหมายทางโบราณคดี หมายถึง วัตถุต่างๆที่เจาะรู สามารถนำมาร้อยได้ เช่น ลูกปัดหิน ลูกปัดดิน ลูกปัดแก้ว ลูกปัดที่ทำมาจากกระดูก เปลือกหอย หรือ ลูกปัดที่ทำมาจากโลหะอื่นๆเช่น ทอง ดีบุก สัมฤทธิ์ เป็นต้น 

ในสมัยโบราณการใช้สอยลูกปัด พอจะแยกได้ดังนี้ …
1. ใช้เป็นเครื่องประดับ โดยร้อยเชือกหรือว้สดุอื่นๆ ร้อบเป็นพวงติดกันผูกไว้ที่ข้อมือ เป็นสายพันรอบเอว และร้อยคล้องคอ เจาะติดจมูก ใส่เป็นต่างหู พันไว้รอบศีรษะ ร้อยไว้รอบผม แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น และบางครั้งใช้เป็นเครื่องบอกฐานะทางสังคมของคนโบราณ
2. ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง บางครั้งใช้ประกอบพิธีกรรมเพราะในความหมายของคำว่า ลูกปัดในภาษาไทยอาจหมายถึง ปัดรังควาน หรือ ปัดเสนียด จัญไร หรือสิ่งชั่วร้าย เมื่อเทียบกับความหมายในภาษาอังกฤษ คำว่า BEAD มาจากคำว่า BEDE ในสมัยกลางแปลว่า การสวดมนต์ ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับพิธีกรรมทางพราหมณ์และพุทธสายมหายาน เช่นเดียวกับในธิเบต
3. ใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาโรคบางอย่างได้ ในทวีปยุโรป เชื่อกันว่าลูดปัดช่วยถนอม สายตา ลูกปัดอำพันใช้แก้โรคปวดท้องได้ 
4.ใช้แทนเงินตรา ในการแลกเปลี่ยนทางการค้าเพราะลูกปัดมีขนาดที่เหมาะสม ง่ายต่อ การนำติดตังไปยังที่ต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าในทวีปเอเซีย ยุโรป และแอฟริกา พบลูกปัดจำนวนมากอยู่ร่วมกับสินค้าอื่นๆ โดยเฉพาะในยุคที่มนุษย์เริ่มมีความสัมพันธ์ทางการค้า
 
วัตถุดิบที่ใช้ทำลูกปัดโบราณ จากหลักฐานที่มีข้อมูลพอจะแยกได้ดังนี้ 
1. กระดูก เปลือกหอย ซึ่งรวมทั้ง เขา งา ปะการัง เขี้ยว และฟัน เปลือกหอย จัดได้ว่าจัดได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่เก่าแก่ ซึ่งคนภาคใต้ในสมัยโบราณรู้จักนำมาทำเป็นเครื่องประดับและลูกปัด โดยนำเปลือกหอยมาขัดฝน เจาะรู เพื่อใช้ร้อยประดับ พบในแหล่งโบราณคดีเช่น ถ้ำเขาหินตก ถ้ำสุวรรณคูหา ถ้ำปากอม และถ้ำเบื้องแบบส่วนกระดูก ฟัน เขี้ยว และเขาสัตว์ มีการพบร่องรอยการขัดฝนทำเป็นเครื่องประดับในรูปของจี้ ห้อยแขวน หรือลูกปัดทรงกระบอก ที่พบหลักฐานในแหล่งโบราณคดีชุมชนโบราณพุนพิน (เขาศรีวิชัย) เครื่องประดับที่ทำด้วยงาช้างพบที่ชุมชนโบราณคลองท่อม ปะการังพบที่ชุมชนโบราณสทิงพระ โดยนำมาตัดเป็นแท่งๆ แต่ยังไม่พบหลักฐานการนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ 
2. หิน-แร่ประกอบหิน ตามหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้ พบว่ามีการใช้หินเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องประดับ มี 2 รูปแบบคือ นำมาขัดฝนเป็นกำไล และเม็ดลูกปัด หินที่ใช้ทำมักจะเป็นหินสีเทาดำที่ง่ายต่อการขัดฝน เช่น หินแอนดิไซด์ หินชนวน หินดินดาน และ แร่ประกอบหินตระกูลควอตซ์ สีขาวขุ่น รวมทั้งอำพัน และชาร์ต เมื่อมาถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ มีแร่ประกอบหินที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกหลายชนิด เช่น พลอย ทับทิม อำพัน แก้วตาแมว ที่มีในชุมชน ส่วนหินคาร์เนเลี่ยนและควอตซ์แก้วผลึก เป็นวัตถุดิบที่นำมาจากดินแดนอื่นเช่นอินเดีย ยังมีหิน-แร่ประกิบหินเช่นพวกพลอยม่วงหรืออะเมทิสต์ ควอตซ์ที่มีลายในเนื้อ เช่น อะเกตหรือโอนิกซ์แร่ประกอบหินสีเขียว เช่น เพรส เนไฟรต์ เซอร์เพนทีน ควอตซ์สีน้ำผึ้ง เช่น ซิทรีน ควอตซ์เนื้อละเอียด แจสเพอร์เนื้อสีแดง โอปอเนื้อวาวแบบเทียนไข หรือยางสน และออบซิเดี่ยน คล้ายแก้วสีดำ วัตถุดิบที่เป็นหิน-แร่ประกอบหิน ใช้ทำเครื่องประดับในสมัยแรกเริ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น กำไล หัวแหวน ตุ้มหู แหวน หรือ จี้สำหรับห้อยคอ แต่ที่พบมากที่สุด คือ ลูกปัด 
3. ดินเผา – แก้วหลอม ดินเผาที่ใช้ทำเครื่องประดับของคนโบราณในภาคใต้ พบหลักฐานน้อยมาก ส่วนใหญ่ จะพบเป๋นวุตถุขนาดเล็กๆ เช่น ลูกกระสุน แว และ ตุ้มถ่วงแห เป็นส่วนมาก มักจะเป็นดินเนื้อละเอียดและเผาแกร่ง ส่วนลูกปัดแก้วหลอม ทำเป็นเครื่องประดับในรูปแบบ กำไล ตุ้มหู แหวน หัวแหวน จี้ และลูกปัด สามารถทำลูกปัดให้มีสีและลวดลายต่างๆคล้ายเนื้อหิน และลวดลายใหม่ๆขึ้นอีกด้วย 
4. โลหะหลอม เครื่องประดับที่ทำจากโลหะหลอมทำมาจาก ทอง ทองแดง เงิน ตะกั่ว ดีบุก เหล็กรวมถึงโลหะผสมอีกชนิดหนึ่งคือ สำริด ลูกปัดที่ทำจากทอง พบในหลายแหล่งโบราณในภาคใต้ เช่น แหล่งชุมชนโบราณคลองท่อม,แหล่งชุมชนโบราณท่าชนะ,แหล่งชุมชนโบราณสามแก้ว,แหล่งชุมชนตะกั่วป่า แหล่งชุมชนโบราณไชยาฯลฯ เครื่องประดับทำด้วยทองที่พบอยู่ในรูปแบบของแหวน จี้ ตุ้มหู และ เม็ดลูกปัด ส่วนเงินพบน้อยมาก ตะกั่วและสำริด เป็นโลหะที่นิยมมาทำเป็นเครื่องประดับในรูปแบบของตุ้มหู แหวน ลูกปัด และ ลูกกระพรวน นอกจากนี้ยังพบแม่พิมพ์หินทราย สำหรับหล่อตุ้มหูสำริดด้วย ส่วนเหล็กที่ทำเป็นเครื่องประดับพบจากแหล่งชุมชนโบราณท่าเรือเรียกว่า ลูกปัดฮีมาไทต์รูปทรงกระบอก

เทคนิคและวิธีการทำลูกปัดแก้วในสมัยโบราณ พอจะแยกได้ดังนี้ 
1.วิธีพัน การทำลูกปัดวิธีพัน ทำโดยการนำแท่งแก้วมาลนไฟที่ส่วนปลายจนเหลวตัวแล้วนำไปพันรอบแกนเส้นโลหะเหล็กหรือทองแดง เมื่อพันรอบแล้วก็ตัดส่วนที่เกินออกแล้วนำแกนเส้นลวดที่พันแก้วทับอยู่ไปลนไฟอีกทีโดยหมุนไปรอบๆจนกว่าผิวแก้วที่เป็นรอบต่อนั้นจะเสมอกัน ซึ่งในเส้นลวดเส้นหนึ่งอาจจะนำแก้วเหลวมาพันรอบๆหลายๆลูกก็ได้ หลังจากนำไปลนไฟจนได้ที่แล้วก็นำมาปล่อยวาให้เย็น แกนเส้นลวดก็จะหดตัวมากกว่าตัวแก้ว ซึ่งจะทำให้ลูกปัดที่ติดอยู่ออกง่าย และลูกปัดก็จะมีความกว้างเท่ากับแกนเส้นลวดนั้นๆ 
2. วิธียืด การทำลูกปัดแก้วแบบยืด ทำโดยการนำก้อนแก้วที่เข้าเผาจนร้อนแดงออกมาโดยใช้แท่งเหล็กจิ้มออกมา จากนั้นนำแท่งเหล็กอีกแท่งหนึ่งมาจิ้มที่ก้นแก้วจนร้อนนั้นแล้วจึงตัดก้อนแก้วนั้นให้เป็นรูปกรวยหรือพันให้เป็นรูปกลม โดยให้มีช่องที่ติดฟองอากาศขนาดใหญ่อยู่ภายใน ยืดก้อนแก้วออกเป็นหลอดยาว แล้วตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆตามต้องการโดยไม่ต้องเจาะรู เพราะช่องฟองอากาศก็เป็นรูลูกปัดอยู่แล้ว และปล่อยให้เย็น ลูกปัดก็จะแข็งตัวขึ้น ที่ขอบรอบรูลูกปัดยังมีความคมอยู่ก็ปัดให้ลบคม การขัดขอบรอบรูลูกปัดด้วยวิธีง่ายๆและรวดเร็วคือ การนำลูกปัดจำนวนมากใส่ลงในถังกลมที่ผสมทรายหยาบ แล้วหมุนถังไปรอบๆเพื่อให้ตัวเม็ดทรายทำหน้าที่ขัดผิวแก้ว ที่คมของลูกปัดให้เสมอกัน แต่ถ้าหมุนถังนานๆก็อาจจะทำให้รูปร่างของลูกปัดเปลี่ยนแปลงไปได้ กรรมวิธีทำลูกปัดแบบยืดนี้อาจเพิ่มเติมสีสันลวดลายได้คือ นำเส้นแก้วที่ยังอ่อนตัวจากความร้อนมาวาทาบบนก้อนแก้ว โดยวางสลับสีกันแล้วยืดออก ก็จะได้หลอดแก้วที่มีลายเป็นเส้นยาวตามสีที่วางไว้ ลูกปัดที่สลับสีแบบนี้เรียกว่า Striped Bead แต่ถ้าหากนำมาพันทับกันเป็นชั้นๆ เช่น ทาบกัน 
5 ชั้นหรือ 6 ชั้น ชั้นละสี เมื่อยืดออกแล้วนำไปตัดก็จะได้ ลูกปัดที่มีสีสลับกันเรียกว่า โรเซทท์ (Rosette) 
3. วิธีพับ การทำลูกปัดแก้วแบบนี้ ทำโดยการนำแท่งแก้วที่ยาวและแบนมาลนไฟให้อ่อนตัว แล้วนำมาพันรอบแกนเส้นลวดเหมือนกันกับแบบพัน โดยจะเห็นรอยต่อตรงที่พับชนกันจะเป็นเส้นขนานกับรูลูกปัด ลูกปัดแบบพับนี้จะพบที่ประเทศอียิปต์และประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นลูกปัดเมื่อราว 2,000ปีมาแล้ว 
4. วิธีกด การทำลูกปัดแก้วแบบนี้ ทำได้ในขณะที่แก้วยังอ่อนตัว ซึ่งสามารถทำลูกปัดรูปร่างต่างๆได้ทั้ง สี่เหลี่ยม กลม กลมแบน แบนขอบหยัก หกเหลี่ยม หรือ แปดเหลี่ยมเป็นต้น 
5. วิธีขดให้เป็นเกลียว วิธีนี้พบครั้งแรกเนแบบของอียิปต์โบราณและของโรมัน โดยนำแท่งแก้วที่กำลังอ่อนตัวมาพันรอบๆแกนเส้นลวด โดยขอให้เป็นเกลี่ยวแล้วตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ 
6. วิธีหยอดและใช้มือเจาะรู การทำวิธีนี้ ทำโดยหยอดแก้วหลอมจากแท่งแก้วลงบนจานดินเผาเป็นเม็ดๆ แล้วใช้ตะปู ลวด หรือของแหลม เจาะรูลงไปในขณะที่หยอดแก้วยังอ่อนตัวอยู่ ซึ่งจะพบมากในอินเดีย 
7. วิธีอบ วิธีนี้ทำโดยเอาแก้วสีมาบดให้เป็นผง อาจจะใช้ขวดแก้วสีต่างๆที่แตกแล้วมาบดก็ได้ วิธีทำคล้ายการทำลูกปัด Faience ของอียิปต์โบราณ โดยการนำเอาแท่งไม้ที่มีความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางราว 
1 กระเบียด เจาะรูเข้าไปในก้อนดินเหนียวประมาณครึ่งนิ้วแล้วนำกิ่งไม้ขนาดเท่าก้านไม้ขีดกดลงไปตรงกลางของรูที่เจาะครั้งแรก แล้วเทผงแก้วสีต่างๆลงไปในรู สลับสีตามความต้องการ จากนั้นนำเอาก้อนดินเหนียวไปอบในกลางแจ้ง จะทำให้ผงแก้วละลาย และปล่อยทิ้งไว้ให้แก้วเย็นและแข็งตัว ก้านไม้ตรงกลางจะหลุดออกเป็นรูลูกปัด

ลูกปัดโบราณที่พบในภาคใต้นั้น เป็นลูกปัดที่มีมาตั้งแต่อดีตกาลก่อนยุคทวารวดี ยุคศรีวิชัย มีหลายท่านเคยถามว่า ลูกปัดเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ? เกิดขึ้นที่ใด ? คำตอบที่แน่นอนนั้นก็ยังตอบไม่ได้ตายตัวนัก เพราะว่าหลักฐานยังน้อยมาก แต่ก็พอจะสันนิฐานได้ว้า ลูกปัดเกิดขึ้นมานานราวๆ 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่งในยุคแรกๆนั้น ลูกปัดจะทำมาจาก กระดูก ฟัน เขี้ยวและพวกเปลือกหอย ซึ่งลูกปัดเหล่านี้พอจะพบหลักฐานได้บ้างจากถ้ำกระเบื้อง อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ในเวลาต่อมาก็เริมการทำลูกปัดจากหิน และพัฒนามาเป็นแก้ว 
 แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก มีความสำคัญต่อการอธิบายภาพรวมของชุมชนโบราณแถบภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และหลักฐานทางโบราณคดีที่พบชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทุ่งตึกเป็นเมืองท่าการค้าที่อยู่ในเส้นทางขนถ่ายสินค้าข้ามคาบสมุทรไปมาระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งทะเลอ่าวไทย นักวิชาการส่วนใหญย่เรียกเส้นทางการค้านี้ว่า “เส้นทางข้ามคาบสมุทรตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน” ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยศรีวิชัยลูกปัดเป็นเครื่องประดับที่พบแพร่หลายทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เราจึงพบลูกปัดรูปแบบต่างๆ ตามแหล่งโบราณคดีทั่วไปแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น ใช้ลูกปัดเป็นเครื่องประดับหรืออาจจะใช้เป็นเครื่องราง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่และอาจจะใช้ลูกปัดเป็นของมีค่าที่สามารถแลกเปลี่ยนแทนเงินตราในการค้าขาย ลูกปัดในสมัยโบราณเป็นเครื่องแสดงความเจริญของคนแต่ละยุคสมัยในการประดิษฐ์คิดค้น และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันทางอารยธรรมระหว่างชุมชนได้อีกด้วย ดังนั้นการพบลูกปัดจำนวนมากมายและหลากหลายรูปแบบที่แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก จึงเป็นหลักฐานสำคัญอย่างยิ่งทำให้เราทราบว่า ทุ่งตึกมีความสัมพันธ์ติดต่อกับประเทศอินเดีย กลุ่มประเทศอาหรับในฐานะที่เป็นเมืองท่าชายฝั่งหรือที่พักสินค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งบนฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมาลายู ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดียกับดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลูกปัดโบราณวัตถุที่มีความเป็นมาอันยาวนาน ลูกปัดที่ทำด้วยเปลือกหอย ดินเผา และดินสีต่างๆนั้น จะเห็นได้ว่าพบในทุกแห่งอารยธรรมและยังมี่ข้อสรุปว่าที่ใดเป็นแหล่งกำเนิด คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก แต่สำหรับลูกปัดแก้วนั้นเนื่องจากพบอยู่อยู่ทั่วไปทั้งในยุโรปแถบเยอรมัน อิตาลี บริเวณทะเลเมอร์ดิเตอร์เรเนียน ในเปอร์เซีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย อินเดีย ไทย ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ขึ้นไปถึงจีน ญี่ปุ่น และอลาสกา ได้มีนักวิชาการศึกษาค้นคว้ากันมานาน โดยพยายามหาดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดที่รู้จักผลิตแก้วขึ้นเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้เป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน ในบริเวณประเทศอียิปต์ และแถบเมโสโปเตเมียรู้จักผลิตแก้วมาแล้วตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ยังไม่กว้างขวางนักมาแพร่หลายจริงๆราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล
 ลูกปัดจากแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะภาคใต้ได้พบลูกปัดทั่วไปทุกแห่งที่เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ เช่น ควนพุนพิน ไชยา และท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่าศาลาและอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งที่ภาคใต้นี้จะพบลูกปัดที่ทำจากวัสดุต่างๆ เช่นดินเผา หินต่างๆ และแก้วสีต่างๆ มีรูปแบบมมากมาย อาจจะกล่าวได้ว่ามีมากกว่าที่อำเภออู่ทองจัดว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดที่ใหญ่มาก แบบที่พบทางภาคใต้คือลูกปัดมีตา ลูกปัดรูปคล้ายทุ่นเบ็ดมีขั้วที่ปลายทั้งสองด้าน ลูกปัดรูปพระจันทร์เสี้ยว รูปคล้ายกระดุม และลูกปัดที่มีลวดลายสีต่างๆ ลูกปัดแฝด ลูกปัดเกลียว เป็นต้น 
ลูกปัดทราวดี เขาศรีวิชัย (หัวเขา) สุราษฎร์ธานี มรดกล่ำค่าที่เป็นมรดกตกทอดของคนในยุคเก่าที่ผสมทั้งศาตร์และศิลป์ได้อย่างสวยงามและหาของแท้ได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบันลูกปัดเส้นนี้ใช้เวลาในการสะสมและรวบรวมนับ10ปีด้วยความงามที่เป็นตัวของตัวเองเรียกได้ว่าลงตัวทั้งพุทธคุณและศิลปะตามสไตล์ที่เป็นหนึ่งเดียวด้วยสีสันที่สวยงามเรียงร้อยตามท้วงทำนองแบบคัดสรรแทบทุกเม็ดที่พอจำแนกแต่ละเม็ดมีอะไรบ้างลองมารู้จักกัน 1.เม็ดหัวทวาขนเม้น กว้าง15มมยาว32มม น้ำ ขาว นำตาล เทา 2.เม็ดลูกยอ 19*17มม 9ตา หายากสุดๆ ตรงข้ามเป็นเม็ดน้ำส้มกลม 18*16 มม รูปทรงและความสมบูรณ์ยังคงเดิม 3.เม็ดลูกปัดทรงสถูป สีน้ำเงิน ความหนา 11มม รัศมีรอบวงกลม 21มมสวยเด่น 4.ชวาขนเม้นลายสลับดำขาวดำยาว28มม หนา13 ตรงข้าม ก็เช่นกัน ด้วยขนาด ยาว23มม หนา12มม พบน้อยมาก 5.เม็ดน้ำเหลี่ยมเม็ดยอดนิยมในหัวเขา หนา9มม ยาว20มม 6.เม็น้ำส้ม6เหลี่ยม ยาว19มม หนา11มม ด้านตรงก็เช่นเดียวมีแถบขาวคาดกลาง ยาว18มม หนา 11 มม นับว่าขนาดใกล้เคียงและลงตัวกันมาก7.ลูกปัดทรงกลมน้ำเงินครามหนา13มม กว้าง12มม เม็ดน้ำเงินทรงเหลี่ยม(ชมพูเหลียม)ที่ขนาดใกล้เคียงกัน8.ทวาน้ำส้มทรงกลม ขนาด 13*13มม ตรงข้ามด้วยทวาน้ำส้มในขนาดที่ใกล้เคียงกัน 9.ชวากระดุมคาดลายยาว14มมหนา6มม คู่ตรงข้าม ยาว16มมหนา5มม หายากสุดๆ 10.เม็ดทวาวุ้นยาว18มมหนา9.5มม คู่ตรงข้ามข้าวต้มมัดสีม่วง ยาว17มมหนา10มม 11.ทวาวุ้นซีกยาว 8มม หนา 12มมคู่ตรงข้าม ยาว14มมหนา9มม12.ลูกปัดหยดน้ำค้างทรงกระดุม กว้าง11.5มมหนา7มมคู่ตรงข้ามก็มีขนาดใกล้เคียงกันสวยงามมาก 13.เม้ดชมพู่เนื้อหยก กว้าง12มมหนา11มมคู่ตรงตรงข้ามแสลนเกรียวลายธงชาติเม็ดยอดหายากอีกหนึ่งประเภท ยาว9.5มม หนา10มม 14.เม็ดน้ำส้มทรงทุ่น กว้าง14มมหนา10มมคู่ตรงข้ามที่มีขนาดใกล้เคียงกัน15.ลูกปัดอำพันทองแฝด3 ยาว21มมหนา10มม คู่ตรงข้ามเม็ดก้านผักบุ้งสีเหลืองยอดแห่งความเชื่อในเรื่องเมตตามหานิยมยาว14มมหนา7มม 16.ลูกทวากระดุม2สีขาวดำ ยาว13.5มมหนา3มม คู่ตรงข้ามเช่นกันแต่มีลักษณะสีน้ำตาลขาวยาว13.5มมหนา4มม 17.ลูกปัดเพชรน้ำค้างกระดุมกว้าง10มมหนา5มมคู่ตรงข้ามเพชรน้ำค้างทรงทุ่นยาว13มมหนา8.5มม 18.ลูกปัดทวา3สี เทา ขาวดำ ยาว14มมหนา8.5มมคู่ตรงข้ามก็เช่นกันโดยมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน 19.ลูกปัดทรงหัวใจยกขอบ ยาว11.5มม หนา6มมคู่ตรงข้ามเม็ดน้ำส้มกระดุมยาว12มม หนา5.5มม 20.ลูกปัดทวา3สี ขาวเทาดำ เนื้อวุ้นยาว13มมหนา8.5 คู่ตรงข้ามลูกปัดทวาวุ้นที่มีขนาดและน้ำใกล้เคียงกันยาว12.5หนา9มม 21.เม็ดก้านผักบุ้งสี้ขียวครามยาว13มมหนา5.5 คู่ตรงข้ามก้านผักบุ้งสีน้ำผึ้งยาว14มมหนา5.5มม 22.ลูกปัดทวาสีขาวดำยาว10มมหนา7มมคู่ตรงข้ามลูกปัดทวาสีขาวดำเทายาว13มมหนา7มม 23.ลูกปัดทวาทรงทุ่น2สีขาวน้ำผึ้งหนา6.5มมยาว10มม *ชุดหลัง* แสลนลายธงชาติของ(เขาศรีวิชัย)หัวเขาเอกลักษณืที่หายากขนาดโดยเฉลี่ยยาว7.5มมหนา5มม 14เม็รวมเม็ดก้านผักบุ้งแสลนยาว8มมหนา5มม *ชุดหลังตรงข้าม*ดม็ดทวาวุ้นคละสี เขียว แดง ส้ม วุ้น ขนาดโดยประมาณ ยาว6.5มมหนา5.5มม จำนวน8เม็ดความยาวรอบเส้น36นิ้วนับเพาะเม็ดหลัดไม่รวมเม็ดคั่น และจำนวนเม็ดเม็ดหลักมี65เม็ดทุกเม็ดเป็นเม็ดที่คัดและสู้ราคาจากสถานที่ขุดได้เพื่อเรียบเรียงให้ได้ความสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่ทำได้ ด้วยความชอบสไตล์เพื่อชีวิตและพุทธศิลปในเอกลักษณ์ของอาณาจักรศรีวิชัย                       
สีของลูกปัดทวารวดีนั้น มีทั้งหมด 19 ชนิดแต่ละชนิดมีคุณสมบัติ แตกต่างกันไป ตามความเชื่อว่า มีอยู่ว่าหากผู้ใด ได้ครอบครองลูกปัดทวารวดีทั้ง 19 สีจะทำให้ผู้นั้นไม่ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ลำบาก และแคล้วคลาดจากอันตราย ปกป้องให้พ้นจากเดรัจฉานวิชา ตลอดจนเขี้ยวงาอาวุธ ส่งเสริมบารมี เงินทองไหลมา เทมา โดยจะใช้เป็นเครื่องประดับสวมคอ และข้อมือ คุณสมบัติของสี อาจแตกต่างกันไปบ้าง แล้วแต่ท้องถิ่น ทวารวดีแท้ ถือว่าดีที่สุด หายากที่สุด สีออกน้ำตาล เนื้อละเอียด คุณสมบัติใช้ป้องกัน อาวุธต่างๆ อาธิ ดาบแหลน หลาว ธนู หน้าไม้ ทวาลูกยอ มีลวดลายคล้ายลูกยอ มีคุณสมบัติ คือ ใช้ต้มกับลูกยอ เป็นยารักษาโรคได้ ทวาหัวดำ ท้ายดำ ตรงกลางขาว ใช้ป้องกันเช่นเดียวกับ ทวารวดีแท้ ทวาหัวเทียนทำให้มีไหวพริบ ปฎิภาน เฉลียวฉลาด ทวาทำพันมอง อยุ่ยงคงกะพัน ป้องกันโรคนิ่ว หมากัดไม่เข้าเงินทองไหลมาเทมา ป้องกันสามีมีชู้ น้ำเงินเนื้อกษัตริย์ มีอำนาจวาสนาสูงส่ง น้ำโชค สีเขียวหยก มักชักนำเงินทองสิ่งของเข้าบ้านของตนตลอดเวลา เป็นมหามงคลอุดมลาภ เหลือง มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม คนรักใคร่ ไม่เกลียดชัง หรือเหลืองตองอ่อน เสน่ห์แรง คนรักใคร่ลุ่มหลง เฟริม แบบฟันเฟือง มะยม ผู้ใดมีไว้กันผัวมีเมียใหม่ ชายมีชู้ และจะมีลาภในการเสี่ยงโชค แสลน ป้องกันอุบัติเหตุป้องกันสามี มีชู้ หยกขาว ให้อายุมั่นขวัญยืน ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ ฟ้า มีโชคลาภ ร่ำรวย ดำ กันผีสาง กันขโมย ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันโรคระบาด อุบัติเหตุและไสยศาสตร์เดรัจฉานวิชา เขียวหนุมาน(แก้วสารพัดนึก) นึกอะไร ได้ทั้งนั้น สีขาวใสน้ำแก้ว เปรียบประดุจเพชรน้ำหนึ่ง ผูใช้นั้นมีผิวพรรณวรรณะงามผ่องใส สีอิฐมันปู อยู่ยงคงกระพันชาตรี เรื่องศาสตราวุธและเขี้ยวงา น้ำผึ้ง มีวาสนา มีความสุข มีชีวิตสดชื่น อยู่เสมอ สีอิฐ ป้องกันเขี้ยวงา อสรพิษกัดต่อย สีแดงเข้ม มีอำนาจดุจพญาราชสีห์ คนไม่กล้าทำร้าย สีม่วง คนเมตตาสงสาร นำทรัพย์สินมาให้ อุปถัมภ์ และคอยให้ความช่วยเหลือ 
แหล่งโบราณคดีสมัยเริ่มแรกประวัติศาสตร์ พบลูกปัดที่ทำด้วยวัตถุดิบต่างๆตั้งแต่ กระดูกสัตว์ หิน- แร่ประกอบหิน ดินเผา แก้วน้ำเคลือบ แก้ว ทอง เหล็ก ตะกั่ว แหล่งที่ขุดพิได้แก่ 
1.แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบลูกปัดที่ทำจากวัตถุดิบที่เป็นเปลือกหอย แร่ ประกอบหินตระกูลควอตซ์ อำพัน แหล่งที่พบได้แก่
- ถ้ำเบื้องแบบ หมู่ที่ 3 บ้านเบื้องแบบ ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
- ถ้ำปากอม หมูที่ 4 บ้านป่ากอม ต. เขาพัง อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี
- ถ้ำเขาขี้ชัน หมู่ที่ 3 บ้านคลองหิน ต.พรุไทย อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี
- ถ้ำแห้งบางเหียน หมู่ที่ 6 บ้านบางเหียน ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่
- ถ้ำเขาหินตก บ้านหินตก ต.เสาธง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
- ถ้ำเขาสามบาท หมู่ที่ 4 ต.นาตาล่วง อ.เมืองตรัง จ.ตรัง
- ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 3 บ้านบางลึก ต.บางลึก อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร 
- ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว หมู่ที่ 1 บ้านสามแก้ว ต.นาชะอัง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร 
- ชุมชนโบราณท่าชนะ(บ้านท่าม่วง) หมู่ที่ 7 บ้านท่าม่วง ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี 
- ชุมชนโบราณไชยา (วัดเวียง) ต.ตลาดไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 
- ชุมชนโบราณไชยา (แหลมโพธิ์) ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 
- ชุมชนโบราณพุนพิน(เขาศรีวิชัย) หมู่ที่ 7 บ้านหัวเขา ต.เขาศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 
- ชุมชนโบราณพุนพิน (ควนพุนพิน) เขตสุขาภิบาลท่าข้าม ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 
- ชุมชนโบราณตะกั่วป่า (เหมืองทอง) หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งตึก ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 
- แหล่งโบราณคดีวัดบ้านเตรียม วัดบ้านเตรียม ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา 
-ชุมชนโบราณบ้านคลองท่อม หมู่ที่ 2 บ้านควนลูกปัด ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 
- ชุมชนโบราณบ้านท่าเรือ บ้านท่าเรือ บ้านพังสิงห์ บ้านเกตุกาย ต.ท่าเรือ อ.เมืองจ.นครศรีธรรมราช 
- ชุมชนโบราณสทิงพระ หมู่ที่ 1 บ้านในไร่หรือบ้านพังเภา ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา 
- ชุมชนโบราณสทิงพระ หมู่ที่ 5 บ้านจะทิ้งพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา 
- ชุมชนโบราณยะรัง บ้านประแว ต.วัด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 

ความหมายตามความเชื่อของลูกปัดโบราณทวาราวดี-ศรีวิชัย 
ลูกปัดโบราณนั้นโดยรวมๆแล้ว แยกได้ราว 20 สี ซึ่งถ้าผู้ใดได้มีไว้ครอบครองก็จะเพิ่มพูนบารมี จะไม่ตกทุกข์ได้ยาก จะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง แต่ต้องประพฤติดี ยิ่งผู้ใดทำบุญอยู่เป็นนิจ ผู้นั้นก็จะได้พบแต่ความสุขความเจริญ จากเคราะห์ร้ายก็จะกลายเป็นดี ถ้าท่านทั้งหลายมีลูกปัดอยู่ในครอบครองไม่ว่าสีใดก็ตาม ให้สักการะด้วย ธูป เทียน ดอกไม้ โดยใส่บาตรและกรวดน้ำอุทิศให้แก่เจ้าของเดิม 
   "ลูกปัด"เป็นวัตถุหรือประดิษฐ์กรรมขนาดเล็กอย่างหนึ่ง  ซึ่งทำจากวัตถุดิบที่เป็นอินทรียวัตถุต่างๆกัน  เช่น ไม้ หิน แร่  กระดูก  เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์   เปลือกหอย เมล็ดพืช ดินปั้น ดินเผา       แก้วน้ำเคลือบ แก้วหลอม โลหะ เช่น ทอง เงิน ตะกั่ว เหล็ก พลาสติก ตลอดจนสารสังเคราะห์ ฯลฯ  โดยนำมาขัดหรือฝน ปั้น หรือหล่อหลอม พิมพ์ รูปทรงและแต่งแต้มให้เป็นรูปลักษณะต่างๆ    ต้องมีหรือทำรู        เพื่อร้อยด้ายหรือเชือกหรือเส้นสายใดๆสำหรับห้อยแขวน ประดับตกแต่งตามร่างกายหรือสถานที่ การประดับลูกปัดด้วยวัสดุ และกรรมวิธีตลอดจนลักษณะรูปร่างต่างๆกันไปย่อมสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยและเป็นไปตามแนวความเชื่อ ประเพณีนิยม หรือค่านิยมของยุคใดสมัยใดในแต่ละชุมชน บางคนถือเป็นเรื่องรางของขลัง และเป็นเครื่องประดับที่เป็นสิริมงคลมีพลังอำนาจต่างๆ ก็คือการปัดสิ่งร้ายออกไปและปัดสิ่งที่ดีเข้ามา        
ฉะนั้นในการจำแนกลูกปัดจึงมีหลายรูปแบบต่างๆหลายสี และมีความหมายแตกต่างกันไปดังนี้ 
1.ลายนกยุง            จะมีหลายสีเรียกอีกอย่างว่า สีนานาชาติจะทำการสิ่งใดจะสำเร็จผลทุกอย่าง
2.ทวาหัวเทียน  ที่หัวท้ายจะมีสีดำ ขาว น้ำตาล อยู่ยงคงกระพัน มีสติปัญญาดี
3.ลูกยอน้ำทิพย์ มีหลายสี มีตารอบด้าน รู้เหตุการณ์ข้างหน้า ค้าขายดี
4.อำพันทอง เงิน การงาน การค้า ทำให้เงินใหลมาไม่ขาดสาย
5.หยกเขียว อยู่ร่มเย็นเป็นสุข สุขกายและใจ เป็นมหามงคลเพิ่มพูน
6.หยกเหลือง เมตตามหานิยม ค้าขายดี
7.หยกขาว สีสะอาด ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บไข้ ดูไม่แก่ สดใส อายุยืน
8.ฟ้าแก่ ฟ้าอ่อน ฟ้าสวิง ร่ำรวยเงินทองพร้อมญาติมิตรการงานและการค้าดี
9.เหลืองตองอ่อน เสน่ห์แรงคนรักใคร่ คนรักซื่อตรง
10.น้ำเงินเนื้อกษัตริย์ สีไพริน  มีอำนาจวาสนา
11.ดำทึบ เสริมโชคลาภ กันภัย มนต์ดำ ผีสาง และผู้ที่คิดร้ายต่อเรา
12.ส้ม หรือส้มเงินแสนคือเรืองแสง ส่องสว่าง นึกคิดสิ่งใดสมความปรารถนาเป็นแสนเป็นล้าน
13.ส้มมันปู มีเงินทองคงกระพัน กันพิษสัตว์ร้าย
14.สีแดงอิฐ แคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพันป้องกันภัยอันตรายต่างๆ
15.แดง มีโชคลาภ มีอำนาจบารมี  บริวารเกรง
16.ม่วง คนเมมตา มหานิยม คนรักใคร่ นำทรัพย์สินมาให้มีคนอุปถัมภ์ตลอด ช่วยเสริมบารมี
17.สีน้ำผึ้ง ให้มีวาสนา สุขกายใจ สดชื่น มีเสน่ห์งามตา
18.แสลน ป้องกันภัย อุบัติเหตุ มีเสน่ห์ บริวารรักใคร่ซื่อสัตย์
19.เขี้ยวหนุมาน แก้วสารพัดนึก นึกคิดสิ่งใดได้ดั่งใจสมความปราถรถนาทุกประการ
20.อิฐใส้ดำ , อิฐหน้าดำ ป้องกันปืน ดาบ หลาว แหลน ธนู หน้าไม้และอาวุธต่างๆ อยู่ยงคงกะพัน
สร้อยลูกปัดทราวาดีเส้นรวมลูกปัดหายากต่างๆไว้เป็นคู่ด้วยความใกล้เคียงและสีสันสวยงาม ด้วยองค์ประกอบดังนี้
1.คู่ชมพู่ฟ้า
2.ทวาส้มเหลี่ยม
3.ก้านผักบุ้งเขียวฟ้าขนาดใกล้เคียงกัน
4.ทวาวุ้นน้ำตาล-เทา
5.อิบส้ม-อิฐแดง
6.กระดุมฟ้า-น้ำเงินกบัตริย์
7.แสลน
8.อิฐส้ม-อิฐแดงราชสีห์
9.น้ำค้าง-อำพัน
10.น้ำส้มกลมคาร์นิเลี่ยนหัวเขา
11.แสลนขาวดำ
12.น้ำผึ้งกานผักบุ้ง

สีของลูกปัดโบราณภาคใต้ 
ลูกปัดแก้ว ที่ใช้ทำลูกปัดในภาคใต้ มลูกปัดแก้วหลากหลายสีมีทั้งสีอ่อนและเข้ม สีทึบแสงและโปร่งแสง เช่น สีส้ม,สีแดง,สีขาวขุ่น,สีน้ำตาล,สีอิฐ,สีดำ,สีเหลือง,สีฟ้า,สีน้ำเงิน,สีเขียว,สีม่วง,สีน้ำเงินม่วง และไม่มีสี ลูกปัดแก้วสีที่พบในภาคใต้มีหลากหลายขนาดแต่ที่พบมากที่สุดก็ขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตรเพราะกรรมวิธีในการผลิตที่รวดเร็วและง่ายนั้นเอง นอกจากนี้แล้วยังมีลูกปัดแก้วที่มีตา,ลูกปัดแก้วหน้าคล้ายคนด้วย สีของลูกปัดนั้นมาจากส่วนผสมของพวก ออกไซด์ ของโลหะต่างๆกับแก้ว ซึ่งจะได้สีต่างๆกัน เช่นสีเหลือง(หล็ก),สีเขียว(โครเมี่ยม),สีน้ำเงิน,สีฟ้า(โคบอลต์),สีม่วง(นิเกิล),สีแดง(ทองแดง),สีขาวขุ่น(ดีบุก),สีดำ(ขี้เหล็ก) เป็นต้น 
ลูกปัดดิน ส่วนมากมีสีดินธรรมชาติ เช่น ดินเผาสีเทาเกือบดำ สีน้ำตาล อยู่ที่อุณหภูมิในการเผาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพบไม่มากนัก 
ลูกปัดหิน-แร่ประกอบหิน มีสีที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของหินที่นำมาใช้ทำลูกปัด เช่น 
-ลูกปัดที่ทำมาจากหินคาร์เนเลี่ยน(Carnelian) มีสีส้มหรือออกแดงเข้ม 
-ลูกปัดที่ทำมาจากหินอะเมทิสต์(Amethyst) มีสีม่วง 
-ลูกปัดที่ทำมาจากหินเขี้ยวหนุมาน(Rock crystal) มีสีขาวใสคล้ายแก้ว 
-ลูกปัดทีทำมาจากหินซาร์ด(Sard) มีสีแดงสดใสคล้ายหินคาร์เนเลี่ยนมีลายทางแนวเดียวกับลูกปัด 
-ลูกปัดที่ทำมาจากหินโมรา(Agate) มีสีขาว-ดำ และมีลายในเนื้อ 
-ลูกปัดที่ทำมาจากนิล(Bery) มีสีดำ 
-ลูกปัดที่ทำมาจากหินโอปอล(Opal) มีสีขาวขุ่นมันวาว 
-ลูกปัดที่ทำมาจาดหินโอนิกซ์(Onyx) คือควอตซ์ที่มีลายเป็นทางแนวเดียวกับลูกปัด 
-ลูกปัดที่ทำมาจากหยก . เพรส มีเขียวทั้งอ่อนและเข้ม 
-ลูกปัดที่ทำมาจากบลูควอตซ์ มีสีฟ้าใสๆ 
-ลูกปัดที่ทำมาจากบุศราคำ มีสีเหลือง 
-ลูกปัดที่ทำมาจากโกเมน มีสีม่วงเข้มออกแดงดำ(แดงเข้ม) 
-ลูกปัดหิน-แร่ประกอบหิน ที่มีลักษณะการตกแต่งด้วยเส้นสี(Etched beads)ทั้งลายเส้น วงกลม และลายสวัสดิกะ ที่พบในภาคใต้ ทำโดยการนำเอาด่างโปแตช ตะกั่วขาว และน้ำยางจากไม้พุ่มกิรารมาผสมกันลัวใช้เหล็กแหลมจุ่มน้ำยา เอามาเขียนลวดลายลงบนผิวหินที่ขุดร่องไว้ แล้วค่อยนำไปเผาไฟ เมื่อลูกปัดเย็นลงก็จะมีลวดลายที่เขียนไว้ติดแน่นล้างไม่ออก ลูกปัดแบบนี้ส่วนมากเป็นสินค้านำเข้ามาจากประเทศอินเดีย ซึ่งมีการขุดพบได้จากแหล่งชุมชนโบราณท่าชนะ ชุมชนโบราณพุนพิน ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว ชุมชนโบราณคลองท่อม เป็นต้น

ลูกปัดที่ขุดพบได้ใน จ.สุราษฎร์ธานีจะมีความสัมพันธ์กับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้ 
- ลูกปัดโบราณที่ขุดพบที่ชุมชนโบราณพุนพิน(เขาศรีวิชัย) จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะของลูกปัดส่วนใหญ่จะคล้ายๆกับลูกปัดโบราณที่ขุดพบที่ชุมชนโบราณคลองท่อม จ.กระบี่ 
- ลูกปัดโบราณที่ขุดพบที่ชุมชนโบราณแหลมโพธิ์(ไชยา) จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะของลูกปัดส่วนใหญ่จะคล้ายๆกับลูกปัดโบราณที่ขุดพบที่ชุมชนโบราณตะกั่วป่า จ.พังงา 
- ลูกปัดโบราณที่ขุดพบที่ชุมชนโบราณท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ลักษณะของลูกปัดส่วนใหญ่จะคล้ายๆกับลูกปัดที่ขุดพบที่ชุมชนโบราณเข่าสามแก้ว จ.ชุมพร จึงสัญนิฐานว่าได้มีการติดต่อค้าขาย-แลกเปลี่ยนสินค้ากันมานานตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งลูกปัดที่ขุดพบดูได้ว่าเก่าโบราณถึงยุคแต่อาจจะบอกที่มาได้ยากเหมือนกันถ้ามาวางรวมๆคละๆกัน
แหล่งโบราณทั้ง 3 นี้ ได้มีการกำหนดอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการนำตัวอย่างถ่านกระดูกสัตว์และมนุษย์ทดสอบด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอน ผลปรากฎว่ามีอายุประมาณ 4,700-6,500ปีมาแล้ว และมีวัฒนธรรมอยู่ในยุคหินกลางคือเป็นคนที่ใช้ถ้ำ การพบเปลือกหอยทะเลในถ้ำ แสดงให้เห็นว่ามีการติดต่อกับชุมชนที่อยู่ใกล้ทะเลหรือเดินทางไปมาได้ระหว่างฝั่งทะเลตะวันตก และทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นปากน้ำลำคลองหลายสายที่ไหลจาก 
ป่าเขาตอนกลางลงสู่ทะเล เส้นทางดังกล่าวได้แก่ 
1. เส้นทางสายตะกั่วป่า-อ่าวบ้านดอน เป็นเส้นทางที่อาศัยการล่องเรือมาตามลำน้ำตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่าจ.พังงา ทางฝั่งทะเลตะวันตก แล้วเดินทางบกข้ามเขาสก มาลงคลองสก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งไหลลงสู่ แม่น้ำพุมดวง อ.คีรีรัฐนิคม ล่องเรือมาบรรจบแม่น้ำตาปีที่ อ.พุนพิน แล้วลงสู่ทะเลอ่าวบ้านดอน 
2. เส้นทางสายปากคลองลาว-อ่าวบ้านดอน เส้นทางนี้เรียกว่าเส้นทางสายปากพนม โดยเริ่มต้นจาก 
ปากคลองลาว อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ทางฝั่งทะเลตะวันตกแล้วเดินทางบกผ่านเขา ต่อเข้ามายังบ้านปากพนมอันเป็นจุดรวมของคลองสกและคลองพนม เดินทางต่อไปทางแม่น้ำพุมดวง โดยผ่าน บ้านพังกา บ้านยางยวน และ บ้านตาขุน อ.บ้านตาขุน ออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน 
3. เส้นทางสายคลองปะกาไส 

ลักษณะและการใช้สอยลูกปัด
1. ใช้แขวนที่คอ
2. ใช้ผูกข้อมือ
3. ใช้ผูกรอบสะโพก
4. ใช้เป็นต่างหู
5. ใช้ประดับศีรษะร้อยกับเส้นผม
6. ใช้ผูกข้อเท้า
7. ใช้ประดับขนตา  เป็นต้น

บทบาทและหน้าที่ของลูกปัด
1. ใช้เป็นสื่อที่บอกถึงสถานภาพทางสังคมของผู้ใส่
2. ใช้เป็นเครื่องรางของขลังที่มีพลังอำนาจให้กับผู้สวมใส่
3. ใช้ในการรักษาโรคและให้โชคลาภ
4. ใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายแทนเงินตรา
5. ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างชนเผ่าต่างกลุ่ม
6. ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ  เช่น  การฝังศพ การสวดมนต์  เป็นต้น

ชื่อต่างต่างของลูกปัดศรีวิชัย
ข้าวต้มมัดสีม่วง,น้ำค้างเหลี่ยมน้ำใสน้ำหนึ่ง,น้ำค้างกลม,ม้าลายทรงกลองขาว+ดำ,ชวาส้ม 6 เหลี่ยมสีเลือดหมู,ม้าลายทรงกลองขาว+ดำ,ข้าวต้มมัดสีม่วงอ่อนลายวุ้น,น้ำส้มกลมลายหินคาดขาว,น้ำส้มแบนสี่เหลี่ยม,น้ำผึ้งกลมลายสีม่วงอ่อน(นกยูง),ฟ้าเหลี่ยมเม็ดยาว1นิ้วเม็ดสวย,ชวาส้มกลมมีเส้นลาย,อำพันหยกแฝดสอง(สีเหลือง),น้ำค้างไพรกลม,มะยมดำแฝดสอง,ขนเม่นทรงกลวย,อำพันทองแฝดสาม(เม็ดใหญ่),ขนเม่นหลอดยาวดำ,อำพันฟ้า(แฝดสาม),ขนเม่นกลมสีชา(มีลาย),ขนเม่นหลอดยาวสองนิ้วสีขาว+ชา,ขนเม่นทรงกรวยลายขาว+ดำ,ขนเม่นเดือยไก่ยาวสองนิ้ว,อำพันทอง(แฝดสาม)เม็ดเล็ก,ขนเม่นลายหลอดขาว,ขนเม่นทรงกรวยลายขาว+ดำ,ขนเม่นชวาวุ้นหลอดลายเส้นขาว,ขนเม่นหลอดเล็กขาว+ดำ,เม็ดเหลี่ยมมรกตเขียวมข้าวต้มมัดสีม่วง,น้ำค้างหกเหลี่ยมน้ำใสน้ำหนึ่ง,น้ำค้างกลม,ม้าลายขาว+ดำ,ชวาส้ม 6 เหลี่ยม,ชวาวุ้นลายขาว (ขนเม่น),ข้าวต้มมัดสีน้ำเงิน,น้ำส้มกลมลายหินขาว+ส้มสวย,เม็ดแตงโม+หินน้ำส้ม+น้ำตาล,น้ำผึ้งกลมลายสีม่วงอ่อน(นกยูง),น้ำค้างหกเหลี่ยมยาว 1 นิ้ว,น้ำส้มกลมสีเลือดนก,มะยมแฝดสองสีฟ้า,น้ำค้างไพร(เขียวหนุมานฟ้าแล่บ),มะยมดำ 1 คู่,ขนเม่นทรงกรวย,อำพันทองแฝดสาม,ขนเม่นหลอดขาว+ดำ,อำพันฟ้าแฝดสอง 2 คู่,เม็ดกลมวุ้น,ขนเม่นหลอดยาว 2 นิ้ว,เม็ดลายนกยูงน้ำตาล(เม็ดทะเล),ขนเม่นหลอดยาวชะวาวุ้น,อำพันทองแฝดสาม(เล็ก),ขนเม่นหลอดบ้องขาว,ขนเม่นทรงกรวยลายขาว+ดำ,เม็ดน้ำเงินลายนกยูง,ข้าวต้มมัดสีน้ำเงินทรงแจกัน,ขนเม่นลายขาว+ดำ,ขนเม่นทรงกรวยชวาวุ้นมสะแลนเม็ดลายแดง+ขาว,เม็ดกลมน้ำส้มยันต์,ตั๊กแตนสีเขียว อ.ไชยา,น้ำค้างกระดุม,เม็ดหลอดกุมารทองเหลือง+เขียว,เม็ดม้าลายขาว+ดำ อ.ไชยา,สะแลนเม็ดลายแดง+ขาว,เม็ดกลมสีเลือดนก,ตั๊กแตนสีเขียว อ.ไชยา,เม็ดจานบินสีน้ำเงิน,น้ำส้มแปดเหลี่ยม,สะแลนลาย หัวเขาศรีวิชัย,ม้าลาย อ.ไชยา
คนสมัยโบราณนิยมลูกปัดซึ่งทำจากหินสีต่างๆ ต่อมาจะเป็นลูกปัดที่ทำจากแก้ว ได้นำมาเจาะรูเพื่อร้อยเป็นเครื่องประดับ สวมคอและข้อมือ ไว้ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ 

การบูชาลูกปัด 
ธูป 5 ดอก พวงมาลัยมะลิสด 1 พวง น้ำ 1 แก้ว ไหว้ก่อนนอน แล้วอธิษฐานตามความปราถนา 
การทำบุญตักบาตร ข้าวสวย ไข่ต้ม 2 ใบ กล้วยน้ำหว้าหรือกล้วยหอม 9 ผล ตักบาตรทุกครั้งที่ประสบความสำเร็จ และ กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญถึงพราหมณ์และเจ้าของเดิมของลูกปัด 

Pin It