เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 4 มีคนอินเดียอพยพเข้ามาสู่นครศรีธรรมราชมากมาย รวมทั้งพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งก่อนหน้านี้อพยพเข้ามาแล้วประมาณ 2,000 ปี ก่อนพุทธกาล
ทำให้เกิดชุมชนพราหมณ์ขึ้นมากมายและได้ตั้งเมืองตามริมฝั่งแม่น้ำ และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์
ตามจารึกในประวัติศาสตร์พ.ศ.692 เมืองมลราชที่ลานสกาปรากฎตัวขึ้นในเอกสารโบราณที่นักประวัติศาสตร์กรุงเทพอ้างถึง ซึ่งชาวเมือง มลราชได้นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นหลักก่อนที่ศาสนาพุทธจะเข้ามาทีหลัง ส่วนศาสนาดั้งเดิมของคนป่าเมืองมลราชที่นับถืออิทธิฤทธิ์ของธรรมชาติก็ยังมีอยู่ และสามารถสอดคล้องรับกันได้ดีกับศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาตั้งรกรากในเมืองมลราช ที่ทำธรรมชาติเหล่านั้นให้เป็นตัวตนเทพเจ้า เช่น พระพิรุณเจ้าแห่งฝน พระอัคคี เทพแห่งไฟ พระอาทิตย์เทพแห่งแสงสว่าง เป็นต้น
เมื่อพ.ศ.1191 ชาวจีนได้อพยพเข้ามาและได้ทำการค้าขายกับพราหมณ์และชาวเมืองมลราชโดยทางเรือสำเภาที่ล่องขึ้นมาถึงคลองมลราช ( คลองเขาวังลานสกาในปัจจุบัน) ชาวจีนจีนได้เรียกเมืองมลราช (ลานสกา) ว่า นครโฮลิง ซึ่งแปลว่า "ไข่แดง" เมืองมลราชได้ส่งฑูตไปจีนครั้งแรกและหลายครั้งต่อมาทำให้จีนทราบว่า นครศรีธรรมราชเป็นเมืองศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ศาสนาพุทธลัทธิหินยาน และ “ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย” รวมกันเจริญรุ่งเรืองควบคู่กันมาโดยมีการค้าขายทางเรือกับนานาชาติที่เมืองท่าเรือและแม่น้ำทุกสายในภาคใต้ พระภิกษุจีนจึงมักแวะผ่านนครศรีธรรมราชก่อนเดินทางไป ลังกา และอินเดียทางเรือด้วยลมมรสุมอยู่เสมอ

จากตำนานพระเจ้าศรีธรรมโศกราชของจังหวัดนครศรีธรรมราชของวัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 เมืองนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์ สาม พี่น้องพระเชษฐา ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมโศกราช" องค์รองชื่อ "จันทรภาณุ" องค์สุดท้ายนามว่า "พงษาสุระ" ทุกพระองค์เมื่อตอนขึ้นครองราชก็ จะทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทั้งหมด ในช่วงนี้ได้สร้างความเจริญให้กับอาณาจักรเป็นอย่างมากทั้งโดยได้ครอบครองเมืองทั้งหลายตลอดแหลมมลายูเรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตรถือรูปดอกบัวเป็นสัญญลักษณ์ประจำเมืองนอกจากนี้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้บูรณะพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชซึ่งแบบเดิมเป็นแบบศรีวิชัย ให้เป็น แบบ ลังกาโดยก่อครอบเจดีย์เดิมเมื่อสิ้นสมัยกษัตริย์ สามพี่น้องแล้วหัวเมืองต่างๆในสุวรรณภูมิก็รวมตัวกันมีพระราชาปกครองต่อมาในสมัยพ่อขุนราม คำแหงได้มีการสร้างระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ ทำกำแพงรอบทั้งสี่ด้าน สร้างวิหารติดกับองค์ เจดีย์ใหญ่และสร้างพระพุทธรูปขึ้นแทนองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหารสามจอม และเรียกกันต่อมาว่าวิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช

       ในสมัยของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เกิดโรคไข้ห่าระบาดหลายครั้งจนพระองค์ต้องอพยพประชากร หนีโรคภัยออกจากเมืองหลายครั้ง ตามหลักฐานได้ปรากฎว่าหนีมาที่ ลานสกา หรือเมืองมลราช หรือที่จีนเรียกว่า นครโฮลิง ในอดีต และสถานที่ประทับของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชก็คือ วังโบราณ แห่งนี้ โดยพระองค์ได้คิดวิธีแก้ไข้ห่า โดยให้พราหมณ์ผู้ทรงพระเวทที่ติดตามได้นำเอาปรอทมาหุงขัดยา ทำเป็นหัวนอโม หว่านทั่วเมืองนครเพื่อขจัดโรคห่าให้หมดไปจากเมือง (ในขณะนั้นได้มีพราหมณ์ต้นตระกูลของ วิภีษณพราหมณ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพราหมณ์ประกอบพิธีหุงปรอท ตามจารึกในสมุดข่อยของคุณทวด)เมื่ือโรคไข้ห่าหมดไปจากเมือง พระองค์จึงได้เสด็จกลับไปประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นการถาวร สถานที่ตรงนั้นจึงเกิดเป็นวัดขึ้น ชื่อว่าวัดน้ำรอบแต่ต่อมาได้ย้ายวัดมาที่สถานที่ใหม่เนื่องจากสถานที่เก่าคับแคบ แต่ต่อมาในปี2510 - 2514 ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ได้มีการนำพระพุทธรูปจำลององค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ( สร้างตามแบบ พระพุทธราชา ) มาประดิษฐานที่นี่ด้วย เพื่อเตือนใจว่าที่นี่เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชมาแต่ครั้งอดีต

       ต่อมาในปี 2518 ที่นี่ได้เกิดอุทกภัย พระพุทธรูปองค์นี้ได้สูญหายไป ต่อจากนั้นชาวบ้านได้กล่าวขานกันว่า องค์พระได้มาเข้าฝันบอกว่าจมอยู่ไนน้ำนานแล้วให้ช่วยเอาขึ้นมาด้วยชาวบ้านก็ช่วยกันขุดแต่ก็ไม่สามารถหาเจอ จนกระทั่งในปี 2546ได้ทำการขุดค้นอีกครั้งหนึ่งและได้ทำพิธีพราหมณ์บวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ได้ค้นพบชิ้นส่วนองค์พระในคราวนั้นและในเดือน กรกฎาคม 2546 ได้มีการค้นพบแท่นประทับของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชหลายชิ้น สามารถเดินทางไปชมได้
อำเภอลานสกายังเป็นสถานที่ๆมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น ก่อนจะถึงทางเข้าวังโบราณก็จะมีทางเข้าอุทยานแห่งชาติเขาหลวง หมู่บ้านคีรีวง เมื่อเลยทางเข้าวังโบราณลานสกาไปก็จะไปเจอถ้ำแก้วสุรกานต์ ( ที่มีไชยศรศิลป์อยู่บนยอดเขาเหนือถ้ำ ) เลยถ้ำแก้วสุรกานต์ก็จะเจอน้ำตกกะโรม ( เป็นน้ำตกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงเสด็จเมื่อครั้งอดีต)ไปอีกไม่ไกลก็จะถึงจุดถ่ายรูปที่อากาศดีที่สุดใน

 

คลิกเพื่อชมวีดีโอสไลด์โชว์ ตามรอยพราหมณ์วังโบราณลานสกา

Pin It