ปราสาทหินพิมาย
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการนั่นคือ
“ปราสาทหินพิมาย”แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ“พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตู ระเบียงคด ด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูป เคารพหรือศาสนาสถานสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทาง ทิศใต้ต่างจาก ปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจาก เมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมือง พิมายทางด้านทิศใต้จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะ การก่อสร้างบ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะ เริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้า สุริยวรมัน ที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็น แบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะ ที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมี ลักษณะของศิลปะแบบนครวัตซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้
1.สะพานนาคราช
เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายใน การสร้าง ให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่อง จักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไป ยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ
2.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท
ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมี แนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจาก ตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร
3.พลับพลา
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิม เรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านาย ชั้นสูง ที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขวบนสิ่งของถวายต่างๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียก กันว่า "คลังเงิน"
4.ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตก
มีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่ พระพุทธรูปนาคปรก ที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม
5.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ระเบียงคด
เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน กำแพง ชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดิน มีหลัง คาคลุม อันเป็น ลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และ ความกว้างจาก ตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคา มุงด้วยแผ่นหิน
6.ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรง กึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูป กากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
7.ปรางค์ประธาน
ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาว ทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทราย สีขาว เป็นส่วนประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดย มี ฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและ ประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน
8.ปรางค์พรหมทัต
ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูป ประติมากรรมฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนาน พื้น เมือง เรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พิมาย
9.ปรางค์หินแดง
ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า
10.หอพราหมณ์
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบ ศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบ พิธีทางศาสนาพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้ง ของ บรรณาลัยมากกว่า
11.บรรณาลัย
ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาด เดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุม เสารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
แบบบาปวน ถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สร้างความสงสัยให้เราหาเหตุผลอื่นมาสนับสนุนเพื่อค้นหาคำตอบ
ข้อมูลจากการทดลองประกอบหินหล่นและการขุดแต่งได้มาผสมผสานกันเข้าเป็นข้อมูลทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานที่สามารถตรวจสอบและยืนยันได้ด้วยการศึกษาเปรียบเทียบกับรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรที่มีการเรียงลำดับอายุสมัยไว้แล้วโดยนักวิชาการชาวฝรั่งเศส จากการวิเคราะห์แต่ละองค์ประกอบทำให้สามารถสรุปได้ว่าสิ่งก่อสร้างของปราสาทสด๊กก๊อกธมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างยุคสมัยคลังหรือเกลียง (Khleang) และสมัยบาปวน (Baphuon) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในจารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ ๒ ซึ่งระบุถึงรัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ ผู้สร้างปราสาทบาปวนขึ้นเป็นปราสาทประจำรัชกาลที่เมืองพระนคร แต่ด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมในบางองค์ประกอบที่ยังคงมีรูปแบบค่อนข้างโน้มเอียงไปในลักษณะของยุคก่อนมากกว่าจึงสันนิษฐานได้ว่า เป็นการปฏิสังขรณ์เทวาลัยที่มีมาก่อนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ หรือเป็นการก่อสร้างในช่วงตอนต้นของรัชสมัย โดยมีองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่ให้ข้อมูลสำคัญที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของยุคสมัยที่ทำการก่อสร้างปราสาท เช่น รูปแบบของปราสาทประธาน และ การตั้งเสาหินที่มีลักษณะเหมือนเสานางเรียงขนาดเล็ก ล้อมรอบปราสาทประธาน เหมือนเป็นการแสดงถึงปริมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ที่ยังไม่มีหลักฐานปรากฏที่ใดมาก่อน
ดังนั้นลักษณะทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของปราสาทสด๊กก๊อกธม จึงสามารถใช้ข้อมูลของเพื่อประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบสำหรับการศึกษาทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยคลังต่อบาปวน ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ปราสาทหินที่อยู่ร่วมสมัยในแหล่งอื่นๆต่อไป
"ปราสาทสด๊กก๊อกธม" หรือ ชื่อเดิมคือ "ปราสาทเมืองพร้าว" อยู่ใกล้กับโนนหมากมุ่น บริเวณทิศตะวันออกของบ้านหนองเสม็ด ตำบลโคกสูง อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว แต่เดิมเคยเป็นเขตปะทะระหว่างทหารไทยกับเวียดนาม เมื่อ พ.ศ. 2523
ปราสาทสด๊กก๊อกธม เป็นปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออก และมีความสำคัญต่อการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองไทย เนื่อง จากพบจารึก หลักซึ่งกล่าวถึงลำดับราชวงศ์เขมรช่วยให้การลำดับราชวงศ์เขมรมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจนมากขึ้น
ต่อมาปราสาทสด๊กก๊อกธม ได้รับการเก็บกู้ระเบิดออกจากบริเวณปราสาทจนเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 และกรมศิลปากรเริ่มบูรณะซ่อมแซมปราสาทสด๊กก๊อกธมด้วยวิธีอนัสติโลซิ สตั้งแต่ พ.ศ.2538 จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2550 ปราสาทสด๊กก๊อกธมสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง
โดยจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสามารถสันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้เริ่มสร้างช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 แต่ยังไม่แล้วเสร็จและต้องล้มเลิกการ ก่อสร้างไป ปราสาทหลังนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ ตัวปราสาทและบาราย (สระน้ำ) ตัวปราสาท มีกำแพงแก้วล้อมรอบสามารถเข้าออกได้ 2 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกเป็น โคปุระ (ซุ้มประตู) หลักสำหรับเข้าออก และด้านทิศตะวันตกเป็นซุ้มประตูหลอกขนาดเล็ก
องค์ปราสาทประธานมีโคปุระ 4 ด้าน โคปุระด้านทิศตะวันออกก่อยอดเป็นเรือนปราสาท ซึ่งแตกต่างจากโคปุระของปราสาทองค์อื่นที่ไม่มีการก่อยอดเป็นเรือนปราสาท ระหว่าง โคปุระทั้ง 4 มีวิหารระเบียงคดที่มีหลังคาหินทรายและหลังคาอิฐมุง ด้านนอกก่อทึบ ด้านในเว้นเป็นเสาเรียงเชื่อมต่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม
บริเวณวิหารคดมีบรรณาลัย 2 หลัง ตามแนวเหนือ-ใต้ กึ่งกลางปราสาทเป็นปราสาทประธาน หลังเดียวขนาดใหญ่ ลานด้านในปูพื้นศิลาแลงทั้งหมด และมีการประดับเสานางเรียง ตรงทางเดินเข้าและบริเวณรายรอบปราสาทประธาน ซึ่งนับเป็นการวางแผนผังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของปราสาทสด๊กก๊อกธม บารายกว้างใหญ่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอยู่บริเวณหน้า ปราสาท
ปัจจุบันน้ำแห้งแต่ก็ยังพอมองเห็นแนวคันดินรอบบารายได้ ถัดจากบารายมีทางเดินก่อด้วยศิลาแลงมุ่งหน้าตรงไปยังปราสาท สองข้างทางปักเสานางเรียงเป็นระยะ แสดงให้เห็น ถึงความอุดมสมบูรณ์และพิธีกรรมมากมายที่เคยเกิดขึ้นบริเวณปราสาท
จารึกสด๊กก๊อกธมบริเวณปราสาทสด๊กก๊อกธมพบศิลาจารึกที่สำคัญ 2 หลัก ได้แก่ จารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ 1 จารึกบนแผ่นหินทรายรูปใบเสมา พบโดยเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากรบริเวณบ้านสระแจง ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง สันนิษฐานว่าจารึกเมื่อ พ.ศ. 1480 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 เนื้อความบันทึกเกี่ยวกับการถวายทาสชาย หญิงดูแลรักษาศิวลึงค์ และรายนามทาสพระ
ปัจจุบันจารึกหลักนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร จารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ 2 จารึกบนหลักแท่งหินสี่เหลี่ยมค้นพบบริเวณด้านทิศเหนือของ ปราสาทสด๊กก๊อกธมโดยเจ้าอาวาสวัดโคกสูง เป็นจารึกที่มีความสำคัญต่อการค้นคว้าด้านการลำดับราชวงศ์เขมรเป็นอย่างมาก
สันนิษฐานว่าจารึกเมื่อ พ.ศ. 1595 เนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2 พระราชทานที่ดินและผู้คนเพื่อสร้างปราสาทถวายแด่พราหมณ์สทาศิวะผู้เป็นอาจารย์ และยังจารึกเรื่องการสืบสายตระกูลพราหมณ์สทาศิวะควบคู่ไปกับพระนามของกษัตริย์เขมรย้อนหลังจนถึงพราหมณ์ศิวไกวัลยะ
ข้อมูลท่องเที่ยว - ต.โคกสูง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 348 (ถ.อรัญประเทศ-ตาพระยา) ประมาณ 25.5 กม. จะถึงทางหลวงหมายเลข 3341 เลี้ยวขวาเข้า ไปประมาณ 10 กม. จะเห็นสถานีอนามัยโคกสูงอยู่ขวามือ เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางแยกอีกประมาณ 4 กม. ผ่านโรงเรียนหนองเสม็ด ถึง กม.ที่ 12 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 2.5 กม.
“เมืองที่มีต้นกกขึ้นรกในหนองน้ำใหญ่” คือความหมายของคำในภาษาขะแมร์ที่ว่า “สด๊กก๊อกธม” ชื่อปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน จ.สระแก้ว ตั้งอยู่ ณ อ.โคกสูง ทว่า เมื่อเทียบกับปราสาทพิมาย จ.นครราชสีมา และปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์แล้ว
“สด๊กก๊อกธม” ก็ด้อยกว่าทั้งขนาดและความวิจิตรตระการตาของลวดลายจำหลัก รวมทั้งต้องยอมรับว่า มิอาจนำไปเทียบกับสิ่งก่อสร้างระดับมหาปราสาท อย่างนครวัด บาแค็ง บาปวน ฯลฯ ในกัมพูชา
ปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยเมืองพระนครของขอม ซึ่งรุ่งเรืองเมื่อราวพันปีก่อน แล้ววันนี้กระจายอยู่ในกัมพูชาและไทยนั้น ส่วนใหญ่จะมีศิลาจารึกที่มีเนื้อหาเทิดทูนบูชามหาเทพฮินดู อาทิ พระอิศวร (พระศิวะ) กับพระนารายณ์ (พระวิษณุ) รวมทั้งเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ผู้สร้าง ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อวตารของมหาเทพ ต่อท้ายด้วยบัญชีรายชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนจำนวนพราหมณ์ นางรำ ข้าวัด แรงงาน ฯลฯ ที่ถวายไว้ ให้ดูแลปราสาท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันในวงการโบราณคดีว่า ศิลาจารึกที่พบ ณ ปราสาทสด๊กก๊อกธม มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
สาระสำคัญใน จารึกสด๊กก๊อกธม เล่าเรื่องตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งที่รับใช้ใกล้ชิดกษัตริย์ขอมถึง 12 รัชกาล เป็นเวลาถึง 250 ปี ระหว่าง พ.ศ.1345-1595 คือตั้งแต่แผ่นดินพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ถึงพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (ก่อนสมัยนครวัด) โดยความตอนหนึ่งได้เล่าเรื่องพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เสด็จจากเกาะชวามาครองกัมพูชา แล้วทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อใคร และเพื่อแสดงบุญญาบารมี ทรงได้นำเอาลัทธิไศเลนทร์ หรือลัทธิเทวราชาจากชวามาหยั่งรากในอาณาจักรขอม ลัทธินี้ถือว่า “เทวะ” คือ “ราชา”, “ราชา” คือ “เทวะ” ลงมาจุติเพื่อสร้างสันติสุขบนโลกมนุษย์ การบูชา “เทวราชา” คือการสร้างรูปศิวลึงค์ (แทนองค์ศิวะเทพ) ประดิษฐานบนยอดเขา เช่นเดียวกับพระศิวะประทับบนเขาไกรลาส ทั้งนี้เนื่องจาก “เทวราชา” มีรากฐานจากศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพชั้นสูงสุด
โดยสรุปรวมแล้ว การค้นพบและอ่านจารึกสด๊กก๊อกธมสำเร็จ มีส่วนสำคัญทำให้องค์ความรู้ว่าด้วยปรัชญาเบื้องหลังการก่อสร้างปราสาท และการลำดับรัชกาลพระราชาขอม ที่เคยคลุมเครือมานาน สามารถปะติดปะต่อกันจนนักโบราณคดีมั่นใจว่า การสร้างศาสนสถานบนฐานเป็นชั้น อันถือเป็นราชประเพณีที่พระราชาขอมทุกพระองค์พึงปฏิบัติ ก็เพื่อเป็นวิหารเก็บราชลึงค์บนภูเขา เป็นทิพยวิมานของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ เป็นพระราชสุสานหรือพระเมรุมาศเมื่อยามสวรรคต ดวงพระวิญญาณของพระองค์จะกลับไปหลอมรวมกับเทพเจ้าที่ใจกลางปรางค์ประธาน และสุดท้ายคือเป็นเขาพระสุเมรุหรือศูนย์กลางโลกและจักรวาล
แล้วเหตุใดจึงมาจารึกไว้ที่ปราสาทหลังนี้ ก็เป็นไปได้ว่า พระครูพราหมณ์ตระกูลนี้รับใช้ราชสำนักมายาวนาน จนได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างปราสาทได้ จึงได้สร้างไว้ที่ชุมชนบ้านเกิด คือจุดที่ตั้งปราสาทสด๊กก๊อกธมในวันนี้
ดังนั้น หากมหาปราสาทนครวัด ที่เคยเป็นศูนย์ของเมืองพระนคร (Angkor) ของขอม ได้รับสมญาว่า “พีระมิดแห่งเอเชีย” และหากการที่ ฌอง-ฟรองซัวส์ ชอมโปลิย็อง (Jean-Fran?ois Champollion) ชาวฝรั่งเศส สามารถอ่านและแปล “ไฮโรกลิฟิค” หรืออักษรภาพของอียิปต์โบราณ จนอ่านจารึกค้นพบที่เมืองโรเซตตาสำเร็จในปี พ.ศ.2365 เปรียบได้ดั่งการค้นพบกุญแจไขความลี้ลับแห่งมหาฟาโรห์ผู้สร้างมหาพีระมิดเมื่อหลายพันปีก่อน และเปิดศักราชใหม่ของวิชาอียิปต์วิทยา (Egyptology) ที่โลกตะลึง..ฉันใด การค้นพบและอ่านจารึกสด๊กก๊อกธม เมื่อปี พ.ศ.2511 ก็มีความสำคัญดั่งการการค้นพบตัวต่อ หรือ จิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย ไขความลี้ลับของ “พีระมิดแห่งเอเชีย” ฉันนั้น
คลิกเพื่อชมวีดีโอสไลด์โชว์ ตามรอยพราหมณ์ที่ปราสาทหินพิมาย