ใน พ.ศ. 1830 ราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช (ปัทมวงศ์) ปกครองอาณาจักรนครศรีธรรมราชอยู่ร้อยกว่าปีก็ได้ล่มสลายลงจากโรคห่าระบาดและสงครามกับพวกชวา สมัยท้าวอู่ทองแห่งอโยธยาที่ได้สถาปนาเป็นพระญาติกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้ส่งพระราชโอรสและไพร่พลจากเมืองพริบพรีมาฟื้นเมืองเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองบริวารใหม่ และได้สถาปนาราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชมาอีกครั้งที่มีเชื้อสายจากท้าวอู่ทองแห่งอโยธยา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19
สมัยนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่า พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา เป็นพระมหากษัตริย์นครศรีธรรมราช ในสมัยนั้นศาสนาพราหมณ์ยังมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการตั้งชุมชนพราหมณ์ขึ้นมากมาย ในหลายสถานที่รอบรายเมืองนครศรีธรรมราช สมัยนั้นพระมหากษัตริย์เมืองนครทรงแต่งตั้งหัวหน้าพราหมณ์ผู้ดูแล สถานพระนารายณ์ และสถานพระอิศวร และเป็นผู้ดูแลชุมนุมพราหมณ์ทั้งหลายรอบรายเมืองนคร
หัวหน้าพราหมณ์ 2 ท่านคือ
ออกพระศรีราชโภเบนทร์นรินทร์ภักดีศรีอาคมชุมนุม (หลวงผแดงศรีกาเกียสเภาลักจัน)
ออกพระธรรมนารายน์เวทภักดีศรีรัตนโกษา (หลวงผแดงธรรมนารายน์)
พราหมณ์ปู่และพราหมณ์พ่อของพราหมณ์อ่ำ เป็นหลิน (เชื้อสาย)ของ ออกพระศรีราชโภเบนทร์นรินทร์ภักดีศรีอาคม (หลวงผแดงศรีกาเกีย สเภาลักจัน) ซึ่งบรรพบุรุษ มาจากเมืองรามราช (เมืองพาราณสี)
พราหมณ์อ่ำ ชุมธรรม
บรรพบุรุษได้เดินทางมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 12 และสืบสายพราหมณ์มาไม่เคยขาดสายตลอดชั่ว 16 บรรพบุรุษ แม้จะหมดยุคของกษัตริย์เมืองนครแล้วแต่บรรพบุรุษของพราหมณ์อ่ำก็ยังบวชพราหมณ์สืบสายมาจนถึงพราหมณ์ปู่และพราหมณ์พ่อของพราหมณ์อ่ำ มาถึงสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในนครศรีธรรมราช รุ่งเรืองมากจนได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองพระ มีวัดวาอารามมากมาย จนถึงสมัยนี้มีจำนวนวัดทั้งหมด 84 วัด ยังไม่รวมวัดที่ร้างไปอีกจำนวนมาก มาถึงยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสุดขีด พวกพราหมณ์ทั้งหลายไม่มีงานพิธีกรรม บ้างก็ทำเกษตรกรรม บ้างก็ค้าขายเพื่อเลี้ยงชีพ เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้เชิญพราหมณ์จากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นไปอยู่ราชธานีเพื่อประกอบพิธีหลวง แต่ตระกูลของพราหมณ์อ่ำไม่ได้ไปเป็นพราหมณ์หลวงรับใช้ราชสำนักแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พราหมณ์อ่ำได้เปลี่ยนนามสกุลจาก อาคมชุมนุม (นามสกุลเดิมตั้งแต่สมัยออกพระศรีราขโภเบนทร์นรินทร์ภักดี ศรีอาคม เปลี่ยนมาเป็น ชุมธรรม (ประชุมธรรม) เนื่องจากอยู่แต่กับวัดวาอารามพราหมณ์พ่อของพราหมณ์อ่ำจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หลังจากนั้นคุณพ่อของพราหมณ์อ่ำ ก็ได้ทำมาหาเลี้ยงชีพโดยการปั้นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตามวัดวาอารามต่างๆและได้ประกอบพิธีตามวัดวาอารามและพิธีตามพื้นบ้านเพื่อเลี้ยงชีพ จนได้สืบทอดมาจนถึงรุ่นพราหมณ์อ่ำ