พราหมณ์ผู้ก่อตั้งเขาอ้อตักศิลาเมืองไทย
"พราหมณาจารย์แต่เมืองพาราณสีขนตำราลงธัญญนาวาล่องไปสู่แดนสุวรรณภูมิ ได้ประสิทธิ์กำลังคนลงเมืองสะทิงพาราณสี แล้วได้หาที่พำนักบนภเขาชัยภูมิทำเลดี ด้วยมีธรณีต้องด้วยพันธุ์สรรพสมุนไพรที่นำไป จึงประสิทธิ์สำนักขึ้นมีนามว่า เขาอ้อตักสิลา"
นี่คือส่วนหนึ่งของข้อความสั้นๆ ที่ปรากฏในหนังสือเก่าแก่ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย ซึ่งมหาเปรียญรูปหนุ่งเผชิญไปค้นเจอ เมื่อไปค้นหาตำราประกอบงานเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องพุทธศาสนาบนแหลมมลายู
จากข้อความสั้นๆ นี้เอง ทำให้มหาเปรียญรูปนั้นระลึกได้ว่า เคยได้ยินคำว่า "เขาอ้อ" มาก่อน และะคุ้นหูมาแต่เยาว์วัยด้วยว่าคือชื่อของวัดแห่งหนึ่งที่เก็บกระดูกบรรพบุรุษของเขา
จากความเข้าใจแต่เดิม คำว่าเขาอ้อเป็นยเพียง ชื่อวัดและเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เคยเป็นสำนักไสยศาสตร์ด้วย แต่เมื่อได้พบข้อความนั้น ทำให้ท่านรูปนี้เข้าใจว่า เขาอ้อใช่เพียงนามของวัดเสียแล้ว หากแต่ในอดีตอาจจะมีฐานะสำคัญยิ่งกว่านั้น อย่างน้อยก็น่าจะเป็นแหล่งรวบรวมตำราเพื่อการศึกษา และเผยแพร่ความรู้
ด้วงยความอยากรู้ การค้นหาประวัติของสำนักเขาอ้อจึงเกิดขึ้น และในกาลนั้นมหาเปรียญรูปนั้น ซึ่งต่อมาได้ลาสิกขา และผันตัวเองไปเป็นนักเขียนได้เริ่มเสาะหาข้อมูลเพิ่มเดิม จนนำเขาไปพบกับผู้คนที่สนใจหรือมีข้อมูลของสำนักนี้มากมาย การสนทนาในระหว่างผู้สนใจเรื่องเดียวกันนำไปสู่การค้นหาและรวบรวมตำราและหละกฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับสำนักเข่อ้อแห่งนั้น ด้วยอำนาจแห่งความสามัคคีกำลังเงินที่มี ผู้สนับสนุนกำลังศรัทธา และความใคร่รู้ทำให้ทีมค้นหา ข้อมูลทีมนี้ทำงานก้าวหน้าไปมาก ตำราและหลักฐานมากมายอันเป็นสิ่งยืนยันถึงความยิ่งใหญ่ของสำนักเขาอ้อค่อย ๆ ถูกเก็บรวบรวมมา แม้หลายอย่างจะอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ แต่ก็มีเค้าลางให้สืบค้นหาต่อไปได้
การค้นหาและรวบรวมตำราหรือหลักฐานที่เกี่ยวกับสำนักเขาอ้อในครั้งนั้น ทำให้ได้ตำราอันเป็นสมุดข่อยจำนวนมาก ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามบ้านเรือนของผู้ที่เคยมีบรรพบุรุษเป็นศิษย์ของสำนักเขาอ้อ ตลอดไปถึงวัดวาอารามที่เคยมีความ เกี่ยวข้องกับสำนักเขาอ้อ ซึ่งตำราพวกนี้ถูกวางไว้อย่างไร้ค่ามาช้านาน เพราะผู้ครอบครองส่วนใหญ่ไม่มีใครทราบว่าสมุดข่อยเก่าๆ พวกนี้บรรจุอะไรไว้เนื่องจากภาาที่เขียนก็เป็นภาษาขอมผสมท้องถิ่นภาคใต้ทำให้ไม่มีใครสามารถอ่านเพื่อความเข้าใจได้ หลายเล่มจึงถูกปล่อยให้เสียหายไปโดยการไม่เอาใจใส่ดูแลของผู้ครอบครองแต่เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งเกิดต้องการตำราพวกนี้ขึ้นมา มันกลับมีค่าในสายตาผ้ครอบครอง แต่กระนั้นกลุ่มผู้สนใจก็พร้อมจะจ่าย เพียงเพื่อให้ได้ตำราอันเป็นหลักฐานของสำนักไสยศาสตร์เก่าแก่แห่งนี้มา
ในบรรดาตำราที่รวบรวมมาได้ครั้งนั้น เมื่อรวมกันได้ก็สามารถแยกกลุ่มเนื้อหาออกได้เป็น ๕ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. ตำราเกี่ยวกับพิธีกรรมทางไสยศาสตร์
๒. ตำราเกี่ยวกับยาสมุนไพรและคุณประโยชน์ของสมุนไพร
๓. ตำราเกี่ยวกับลายยันต์และคาถากำกับ
๔. ตำราที่เรียกว่า "พิชัยสมบัติ" ซึ่งว่าด้วยเรื่องลักษณะของแร่ธาตุและแหล่งค้นหารวมตลอดไปถึงการแปรรูปซึ่งเทียบกับปัจจุบันก็คงจะเรียกได้ว่าเป็นการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับ "ธรณีวิทยา"
๕. ตำราเกี่ยวกับฤกษ์ยามและกลวิธีในการจัดทัพรวมตลอดไปถึงการเลือกทำเลสร้างเมือง สร้างบ้านตำราประเภทนี้เรียกว่า พิชัยสงคราม
เขาอ้อ ตักศิลา
........................
เมื่อพูดถึงเรื่องไสยศาสตร์ ผู้คนในประเทศเราส่วนใหญ่ก็จะนึกไปถึงพวกขอม ประประเทศเขมรในปัจจุบัน แต่ถ้าจะว่ากันเฉพาะในประเทศไทยแล้ว ในส่วนของภาคใต้เชื่อว่าชื่อเสียงของวัดเขาอ้อจะถูกนึงถึงเป็นอันดับแรก ในฐานะที่เป็นสำนักทางไสยเวทที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคใต้
สำนักวัดเขาอ้อที่ว่านี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดพัทลุง อยู่ในเขตอำเภอควนขนุน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัะญในอดีต ผ้เขียนเองเคยติดตามอ่านงานเขียนเกี่ยวกับสำนักเขาอ้อมามาก แต่ส่วนใหญ่ที่พบก็มักจะพูดถึงเพียงกลาย ๆ กล่าวคือ จะพูดถึงพระเกจิอาจารย์ที่เป็นศิษย์สายเขาอ้อเสียมาก แล้วเท้าความถึงเขาอ้อแต่เพียงเล็กน้อย ผู้เขียนจึงเข้าใจว่าเขาอ้อคือวัดธรรมดา ๆ ที่นิยมในทางไสยศาสตร์ แต่เมื่อถึงคราวที่ได้มีโอกาสลงไปศึกษาค้นคว้าเข้าอย่างจริงจัง กลับพบว่าสำนักเขาอ้อมีอะไรสำคัญกว่านั้น มีประวัติซับซ้อนเกี่ยวข้องโยงใยถึงประวัติชาติในภูมิภาคเอเซียเสียด้วย ซึ่งจึงได้ค้นคว้าข้อเขียนที่เกี่ยวข้องเพิ่มแล้วนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ ดังที่จะได้นำมาเสนอต่อไปนี้
ความแปลกอย่างแรกที่ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาประวัติของวัดเขาอ้ออย่างจริงจังก็คือ พบว่าวัดเขาอ้อนั้นก่อนจะเป็นวัดได้เป็นสำนักของพราหมณ์ผู้เรืองเวทมาก่อน เป็นสำนักที่สำคัญและยิ่งใหญ่ขนาดที่กษัตริย์หลายเมืองส่งลูกหลานมาเรียน รับความรู้เอาไปครองเมือง อาจารย์ผู้สอนก็เป็นพราหมณ์เรืองวิชาที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียจริง ๆ ในยุคที่พราหมณ์เคลื่อนไหวเพื่อขยายฐานศาสนา เมื่อศึกษาให้ลึกไปอีกก็พบว่า ไสยเวทสายเขาอ้อกัยไสยเวทของเขมรหรือขอมนั้นเป็นสายเดียวกัน กล่าวคือ สืบเชื้อสายมาแต่คัมภีร์อถรรพเวทของพราหมณ์ พราหมณ์ส่วนหนึ่งได้แยกไปสร้างเมือง สร้างความเจริญรุ่งเรืองในเขตประเทศเขมรในปัจจุบันส่วนหนึ่งอยู่เมืองนครศรีธรรมราช อีกส่วนหนึ่งลงไปทางใต้แหลมมลายู ส่วนที่ลงไปทางใต้นั้นเอง ส่วนหนึ่งได้พำนักอยู่ในเขตเมืองพัทลุง และในจำนวนนั้นมีพราหมณ์ผู้เรืองเวทอยู่จำนวนไม่น้อย
พราหมณ์ผู้เรืองเวทจำนวนหนึ่งได้สร้างสำนักขึ้นเพื่อขยายฐานศรัทธาของพราหมณ์ โดยสร้างขึ้นบนเขาลกหนึ่งซึ่งเป็นทำเลดีมาก อยู่ในเขตเมืองพัทลุงเก่า คือ เขตอำเภอควนขนุนในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในนาม "วัดเขาอ้อ"
ก่อนจะพูดถึงเรื่องราวของสำนักเขาอ้อโดยพิสดารขอเท้าความถึงความเป็นมาของพราหมณ์ในแผ่นดินสยามเสียก่อนสักเล็กน้อย เพื่อจะให้เห็นว่าพราหมณ์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับเขาอ้อและไสยเวทของเขาอ้อเป็นสายเดียวกับของเขมรหรือขอมจริงหรือไม่
สำหรับประวัติความเป็นยมาของพราหมณ์บนแผ่นดินสยามนั้น ผู้เขียนพบข้อเขียนที่น่าสนใจของปราชญ์ท้องถิ่นท่านหนึ่ง คือ ครูน้อม อุปรมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษำรของเมืองนครศรีธรรมราชหลายสมัย
ครูน้อม หรืออาจารย์น้อม อุปรมัย ได้เขียนถึงประวัติความเป็นมาพราหมณ์ในแผ่นดินสยามไว้ในหนังสือประวัติวัดท้าวโคตรเมืองนครศรีธรรมราชและพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาวัดท้าวโคตร ผู้เขียนเห็นว่าข้อเขียนนั้นให้ความรู้เกี่ยวกับพราหมณ์ในแผ่นดินไทยได้ดีมาก จึงขออนุญาตนำมาถ่ายทอดต่อบางส่วน ดังนี้
"...นับเวลาอย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ปี ที่ศาสนาพราหมณ์ได้อุบัติ และได้ครองลัทธิประเพณีของประชาชนชาวชมพูทวีปหรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน สืบเนื่องตกทอดตลอดมา แม้จนกระทั่งบัดนี้ ก็มีอยู่เกือบค่อนประเทศซึ่งเรียกกันว่าทั่วไปว่า "ศาสนาฮินดูอิซม์" ต่อมาเมื่อเกิดศาสนาพุทธขึ้นในย่านเดียวกันของโลก คือชมพูทวีป และมีชาวฮินดูมาก่อนได้หันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น พยานหตุการณืที่เชื่อถือได้ในเรื่องนี้คือ หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้เพียงเจ็ดวัน ก็ตั้งเค้าว่าจะเกิดแย่งพระสรีรธาตุของพระองค์ขึ้นแล้ว และเหตุการณ์นับเวลาจะรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะฉนั้นหลังจากได้ถวายพระเพลิงของพระองค์ที่นครป่าหมากหรือเมืองกุสินาราเสร็จแล้ว ก็มีโทณพราหมณ์ต้องกระทำการแจกจ่ายพระบรมอัฐิถวายกษัตริย์เมืองต่าง ๆ ไปเท่าที่จะทำได้ ส่วนสัมภินนธาตุ คือส่วนที่แตกหักก็ตวงด้วยทะนานเล็ก ๆ ให้ไป แต่ส่วนที่เป็นอวัยวะสำคัญ คือพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา ๑ องค์ เบื้องซ้ายอีก ๑ องค์ ซึ่งเราเรียกกันต่อมาว่า "พระทันตธาตุ" นั้น พระเขมะเถระซึ่งเป็นพระสาวกอาวุโสได้กำบังผู้คนที่ห้อมล้อมนำออกมาได้ เพื่อจะได้นำไปถวายพระมหากษัตริย์จากแว่นแคว้นภาคกลางและภาคใต้ชมพูทวีปบ้าง ต่อมาความลับเรื่องนี้ได้ถูกเปิดเผยขึ้นหลังจากกาลเวลาล่วงมาถึง ๘๐๐ ปี ว่าพระทันตธาตุได้ตกไปอยู่ที่เมืองทันตปุระ ทำให้กษัตริย์เมืองอื่นๆ คือ พระเจ้ายรีราภราช แห่งเมืองหรือรัฐมคธ และรัฐกาลิงค์ ยกกองทัพใหญ่มาแย่งชิงที่เมืองปาตาลีบุตร เพราะขณะนั้นพระทันตธาตุได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ที่เมืองนั้นแล้ว แต่กษัตริย์แห่งรัฐ กาลิงค์รบแพ้พระเจ้าลิวราชแห่งปาตาลีบุตร ต่อมาทันตธาตุภูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานไว้ที่เกาะลังกา เหตุการณ์หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องราว จับเอาเป็นว่าพระทันธาตุของพระพุทธเจ้าลอยทะเลมาประดิษฐ์ติดอยู่ที่หาดทรายแก้วของเผ่าเนกรีตอสในสมัยนั้น และพระสารีริกธาตุอยู่ชั่วกาลเวลาหนึ่งซึ่งรายละเอียดประกาศอยู่ในหนังสือตำนานพระบรมธาตุแล้วเหตุการณ์ที่ทำให้ถึงกษัตริย์เมืองต่าง ๆ ทำศึกสงครามกันทหารผู้คนล้มตายเหลือคณานับนั้น แสดงให้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับนับถือเลื่อมใสมีมากขึ้นรวดเร็วอย่างมหาศาล จนถึงกับทำให้ซศาสนาหรือลัทธิอื่นๆ ในชมพูทวีปหวั่นไหวในความอยู่รอดของตนไปตาม ๆ กัน..."
"ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานไม่นาน ศาสนาพราหมณ์ที่ครองความเป็นใหญ่อยู่ในหัวใจของชาวฮินดูมาก่อนเป็นพัน ๆ ปี ก็เริ่มรู้สึกหวั่นไหว เพราะได้เห็นศาสนาพุทธแพร่หลายรวดเร็วลุกลามกระจายออกไปทั่วสารทิศในชมพูทวีปราวไปไหม้ป่า จึงทำให้พราหมณ์ผู้อาวุโสทั้งหลายต่างรู้สึกว่าจะต้องหาทางยับยั้งหรืออย่างน้อยก็ให้เคียงคู่ขนานกันไปกับศาสนาพุทธ และจะจำกัดวงอยู่แต่ในชมพูทวีปแห่งเดียวก็ไม่ได้ ควรขยายเผยแพร่ออกไปยังดินแดนต่างทวีปด้วย ความคิดนี้ถือเป็นหลักการปฏิบัติอันสำคัญยิ่งของศาสนาพราหมณ์ ในสมัยเมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว จึงเริ่มดำเนินการเผยแพร่ตามแบบพิธีพราหมณ์โโยส่วนใหญ่ก็มุ่งไปทางตะวันออก (ตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย)
เส้นทางจาริกของพราหมณ์
............................................
ส่วนใหญ่ของชาวฮินดูในประเทศอินเดียแม้ในขณะนี้นับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งตามลัทธิพราหมณ์ผู้นับถือไม่จำเป็นต้องเป็น "นักบวช" คืออาจครองชีพแบบฆราวาส หมายถึงมีภรรยาและลูกก็ได้ พักอาศัยอยู่ตามนิวาสถานบ้านช่องก็ได้ คล้ายคลึงกับพระสงฆ์ของชาวทิเบต แต่ทุกคนนับถือว่าตนเป็นนักบวชอยู่ด้วยตลอดเวลา ปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างนักบวชทั้งหลายก็ได้ เพราะฉนั้นเมื่อพราหมณ์จาริกหรือทำนองอพยพไปที่ไหน ก็สามารถนำครอบครัวของตนไปด้วยก็ได้ และสามารถทำมาหากินไปตามวิถีทางของตนได้แต่ห้ามขาดเรื่องการแต่งงานกับคนนอก คือคนที่ไม่ใช่พราหมณ์ เพราะพราหมณ์ถือว่ามีวรรณะรองจากพงศ์พันธุ์กันไม่ได้ ความคิดนี้ก็ยังมีอยู่มากในประเทศอินเดียเดี๋ยวนี้ ลัทธิห้ามสมพงศ์ต่างวรรณะกับคนภายนอกนี้เท่ากับเป็นการกั้นวงล้อมของพวกพราหมณ์เอง
คณะของพราหมณ์ที่มุ่งหน้ามาตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นดราวิเดียน ซึ่งอยู่ทางปลายแหลมคอมมอรินทางฝั่งตะวันออก ได้ค่อย ๆ ทยอยกันออกมา โดยแบ่งเป็น ๒ สาย
สายที่ ๑ เริ่มต้นจากเมืองมัทราสและใด้ลงมาตามริมฝั่งทะเลมาลาบาร์ ขบวนเรืออย่างน้อยก็ประมาณ ๑๐ ลำ บ่ายโฉมหน้าพุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่ทะเลอันดามันแต่เนื่องจากกลัวพวกชีเปลือยที่หมู่เกาะอันดามัน ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่ง และเป็นเกาะที่เป็นดินแดนหรือขึ้นกับอินเดียจนกระทั่งบัดนี้ จึงบ่ายโฉมหน้าขบวนเรือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อแวะที่หมู่เกาะนิโคบาร์อันเป็นดินแดนของอินเดียเหมือนกันแต่ก็หนีพวกชัเปลือยไม่พ้น เมื่อทนพักอยู่ระยะเวลาหนึ่งก็ออกเดินทางบ่ายโฉมหน้าสู่ช่องแคบมะละกา ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา เห็นภูมิประเทศตอนหนึ่งทางซ้ายมืออันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียในปัจจุบันน่าตั้งรกรากหลักฐานที่นั่น จึงเลี้ยวเข้าสู่แม่น้ำสายหนึ่ง ไม่ใหญ่แต่ลึกมาก ซึ่งมีชื่อต่อมาเรียกแม่น้ำนั้นว่า "แม่น้ำสุไหงบาตู - ปาฮัต" อยู่ในรัฐเคดาห์ พวกพราหมณ์พวกแรกนี้จึงได้ตั้งแหล่งชุมนุมของของตนขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ "โบสถ์พราหมณ์"
โบสถพราหมณ์แห่งนี้ บัดนี้กลายเป็นโบราณสถานอันประเทศมาเลเซียถือว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเพราะเป็นเครื่องแสดงว่าดินแดนมาเลเซียเป็นดินแดนที่มนุษย์ที่เจริญแล้วเคยมาตั้งรำรากหลักฐานอยู่ก่อน ไม่ใช่มีแต่พวกคนป่า ตัวดำ ผมหยิก (หมายถึงเนกรีตอส ซึ่งในเมืองนครศรีธรรมราฃก็เคยมีพวกนี้มาตั้งแหล่งอาศัยอยู่ คือที่บ้านป่าโลงใกล้วัดใหญ่ ตลาดท่าวัง แต่ความเจริญเป็นเผ่าเนกรีตอสที่มีสาขาออกมา เรียกว่า "ปะหล่อง" ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นชุมโลงไป) โบสถ์พราหมณ์ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งทัศศึกษาของประชาชนทั่วโลก พราหมณ์รุ่นแรกที่เข้ามาตั้งชุมนุมชนขึ้นนี้เนื่องจากหาคนสืบชาติพันธุ์วรรณะพราหมณ์ไม่ค่อยได้ ที่มีก็ค่อย ๆ ล้มตายไปจนหมด และมีพราหมณ์คณะใหญ่ทยอยตามมา ก็มาขึ้นเรือที่ท่าปะเหลียนในจังหวัดตรัง แล้วอพยพต่อมา จนเข้าเขตพัทลุง และทางตอนใต้ของเมืองนครศรีธรรมราชปัจจุบันก็มีด้วย ร้องรอยหลักฐานก็ยังมีให้เห็นอยู่จนบัดนี้...
สายที่ ๒ การจาริกของคณะพราหมณ์สายนี้มีบทบาทต่อประวัติศาสตร์ไทยมาก เพราะนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ว่าไทยเทศ มักจะนึกออกถึงคำ ๆ หนึ่งและชอบกันนักคือคำว่า "ตะโกลา"
โดยมีความเป็นมาดังนี้ หลังจากพวกพราหมณ์สายที่ ๑ ตั้งหลักขึ้นครั้งแรกที่ริมแม่น้ำบาตูปาฮัตในรัฐเคดาห์ (ในมาเลเซียปัจจุบัน) ได้แล้ว ข่าวก็แพร่กระจายไปว่า ในดินแดนที่ไปพบนั้นช่างอุดมสมบูรณ์เหลือเกิน จะใช้เป็นสถานที่สำคัญในการเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ให้กว้างขวางออกไปำด้ง่าย เป็นดินแดนใหม่ที่ไม่มีผู้คนอแอัดยัดเยียดอย่างในชมพูทวีป
ข่าวนี้ทำให้มีพวกพราหมณ์สายที่ ๒ มีความกระตือรือร้น และพราหมณ์สายนี้มีความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้าที่จะขยายศาสนาเข้าไปราชอาณาจักรกัมโพช ซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน และไปทางตะวันออกจนจรดประเทศเขมรและญวนเดี๋ยวนี้ เป็นความมุ่งหมายอันใหญ่หลวงและแก่กล้ากว่าพราหมณ์พวกแรกมกา เพราะฉะนั้นจึงได้จัดขบวนใหญ่หลายสิบลำมุ่งไปทางทิศตะวันออกโดยตามแผนที่ของปโตเลมี พราหมณ์พวกนี้ไม่กลัวพวกชีเปลือยที่หมู่เกาะอันดามัน ได้หยุดพักขบวนเรือที่นั่นตามสมควรแล้ว ก็บ่ายโฉทหน้าฝ่าคลื่นใหญ่ของทะเลอันดามันมุ่งไปทางทิศตะวันออกต่อไป จนในที่สุดก็มองเห็นแผ่นดินใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงหน้า เห็นริมฝั่งทะเลเหว่ง ๆ มีเกาะแก่งสลับซับซ้อน เป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก จึงได้เคลื่อนขบวนเรือเข้าไป เห็นเป็นทำเลที่เหมาะมาก จึงขึ้นเรือที่เกาะเล็กเกาะหนึ่ง (ความจริงก็ไม่เล็กนัก) เดี๋ยวนี้ก็คือเกาะพระทอง อยู่ริมฝั่งทะเลของอำเภอ คุระบุรี จังหวัดพังงาแล้วได้ตั้งโบสถ์หรือปูชนียสถานขึ้นตามลัทธิประเพณีพราหมณ์ตั้งเป็นชุมนุนชนใหม่ขึ้น ในหมู่บ้านที่เรียกว่า "ทุ่งตึก" ซึ่งต่อมาก็ได้รู้ว่าอยู่ในเขตปกครองของเมืองตะโกลา ความจริงพราหมณ์ทั้ง ๒ สายนี้ เดิมก็มีพันธุ์และวรรณะมาจากชมพูทวีป.
ความแพร่หลายของพราหมณ์ในแหลมมลายู
..........................................................
เพื่อให้เรื่องแคบเข้ามาสู่วัตถุประสงค์ที่จะวกเข้าหาวัดท้าวโคตร จึงจะพูดถึงการขยายตัวของพราหมณ์ในขอบเขตแหลมมลายู โดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น
สายที่ ๑ คือ สายบาตูปาฮัต เมื่อตั้งชุมนุนชนเป็นปึกแผ่นหลายร้อยปีแล้ว ก็ค่อยเคลื่อนย้ายขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ย่างเข้าแคว้นแดนดินซึ่งต่อมากลายเป็นประเทศ "ลังกาสุกะ" สายนี้ตะลุยขึ้นไปตามเส้นทางที่กล่าวแล้ว จนเข้าเขตท้องที่เดี๋ยวนี้เรียกว่าเมืองสงขลา ข้ามทะเลเข้าสู่อำเภอสะทิงพระและระโนด บางพวกก็ตัดข้ามทะเลสาบตรงไปทางตะวันตก ไปตั้งชุมนุมขึ้นที่บางแก้ว เขตจังหวัดพัทลุง และหม่หยุดยั้งเพียงเท่านั้น ข้ามแม่น้ำท่าเสม็ดทางเหนือเข้าเขตเมืองนครศรีธรรมราชทางด้านใต้แล้วเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ผ่านอำเภอชะอวด ร่อนพิบูลย์ จนเข้าถึงย่านตัวเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งขณะนั้นพวกเนกรีตอสเจ้าถิ่นเดิม อพยพขึ้นไปอยู่แถวริมภูเขาบันทัด อันเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของแหลมมลายูตอนใต้หมดแล้ว เฉพาะในเขตท้องที่ที่เรียกว่า "เขาวัง" นั้น พวกวาณิชยพราหมณ์เห็นว่าเป็นทะเลเหมาะ เพราะมีเขาเป็นกำแพงล้อมรอบ และเรือสำเภาเข้าถึง (ตำบลขุนทะเลเดี๋ยวนี้) จึงได้ตั้งเป็นเมืองขึ้นเสียเลย พราหมณ์สายบาตูปาฮัตนี้อาจเรียกได้ว่าสะดุดหยุดลงที่ในเขตแหลมมาลยูตอนเหนือ คือตั้งแต่รัฐเคดาห์ขึ้นมาจนถึงเมืองนครศรีธรรมราช ได้ตั้งเป็นเมืองหรือชุมนุมใหญ่ ๆ ขึ้น ทุกแห่งที่พราหมณ์ผ่านไป แต่ละแห่งก็ตั้งอยู่เป็นร้อย ๆ ปี ทิ้งรอยให้ปรากฏอยู่ทุกแห่ง โดยเฉพาะในเขตเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจะได้กราบเรียนต่อไป
สายที่ ๒ สายตะโกลา นับว่าเป็นสายหรือคณะพราหมณ์ที่ใหญ่ที่สุดที่หลั่งไหลเข้ามาสู่แหลมอินโดจีน และยังแพร่เข้ามาถึงเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ซึ่งทำให้มีพราหมณ์เกิดเป็น ๒ พวก ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่าพราหมณ์สายตะโกลานี้มีความทะเยอทะยานแรงกล้า โดยมุ่งจะเข้าครอบคลุมแหลมอินโดจีนให้หมดทีเดียว จึงใช้วิธีการจาริกเป็น ๒ อย่าง คือ ทั้งทางน้ำและทางบก
โดยชั้นแรกล่องขึ้นตามลำแม่น้ำตะกั่วป่า ข้ามเขาแสกเดินเลียบริมแม่น้ำคีรีรัฐ ซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทยทางตะวันออกจนถึงบ้านพาน อันเป็นชุมทางร่วมกับสาขาใหญ่ของแม่น้ำตาปีอีกสายหนึ่ง เรียกว่าแม่น้ำหลวง พราหมณ์ได้ตั้งชุมนุมชนขึ้นจนกลายเป็นเมือง เรีกยว่า "จัรพาน-พาน" (ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นพุนพิน คือสถานีสุราษฎร์ธานีเดี๋ยวนี้) เมื่อถึงบ้านพานแล้ว ก็แบ่งออกเป็น ๓ พวก
พวกหนึ่งเดินบกไปสู่ทิศเหนือ ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักรกัมโพช
พวกหนึ่งแสวงหาเรือออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน แล่นเรือข้ามอ่าวไทยตรงไปทางทิศตะวันออก ไปขึ้นฝั่งที่ดินแดนอันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกัมพูชาเดี๋ยวนี้
ส่วนอีกพวกหนึ่งเดินเท้าเลียบริมแม่น้ำหลวง (สาขาแม่น้ำตาปี) ไปทางทิศใต้ ไปตั้งหลักฐานอยู่ที่บ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเดี๋ยวนี้
อีกพวกหนึ่งเป็นพวกที่ ๔ เดินเท้ามุ่งไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่ฝั่งทะเลของอ่าวไทย ผ่านเข้าบ้านกะแดะ (กาญจนดิษฐ์) เข้าชานเมืองนครศรีธรรมราช คือ อำเภอดอนสัก สิชล ท่าศาลา แล้วมาสะดุดหยุดลงในบริเวณที่เป็นวัดเสมาเมือง ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราชเดี๋ยวนี้ ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องราวเมื่อประมาณเกือบ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว หากผิดถูกประการใดขอท่านผู้รู้โปรดทะกท้วงขึ้น เพื่อช่วยกันทำความผิดให้เป็นความถูก
เป็นอันว่าคณะพรามหณ์ที่ออกจากชมพูทวีปเมืองรามนครแล้ว ข้าพเจ้าแบ่งเป็น ๒ พวก เมื่อขึ้นฝั่งแหลมมลายูได้แล้ว ก็แพร่สะพัดไปในดินแดนแหลมอินโดจีนตั้งแต่ไทยยังไม่อพยพลงมาจากประเทศจีน อาจเรียกได้ว่า นอกจากพม่าและลาวแล้ว ดินแดนส่วนนี้ของแหลมอินโดจีนตกอยู่ใต้อำนาจของพราหมณ์เกือบทั้งหมด
มีข้อสังเกตว่า ทุกแห่งที่พราหมณ์ไปตั้งชุมนุมชนอยู่ที่ไหน พราหมณ์ได้สร้างเทวสถานให้ปรากฏขึ้นที่นั่น ทิ้งร่องรอยให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ นับเป็นส่วนดีอันหนึ่งของลัทธิพราหมณ์ที่ข้าพเจ้าขอยกย่องไว้ ณ ที่นี้ด้วย พราหมณ์ ๒ สายนี้ตั้งอาณาจักรพราหมณ์ขึ้นในท้องถิ่นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือสายบาตูปาฮัต เริ่มตั้งแต่อาณาจักรลังกาสุกะขึ้นมาทางเหนือของแหลมมลายู ตั้งเมืองที่เป็นปึกแผ่นก็ที่พัทลุงเดิม เมืองสทิงปุระรอบๆ ทะเลสาบสงขลา ไต่ขึ้นมาจนถึง "หาดทรายแก้ว" ของอาณาจักรตามพรลิงค์
ส่วนพวกที่ ๔ ของสายตะโลา พอถึงริมฝั่งทะเลอ่าวไทยแล้วก็วกลงทางใต้เข้าสู่หาดทรายแก้วเหมือนกัน แต่มาตั้งรกหลักฐานเป็นปึกแผ่น สร้างเทวสถานที่ปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้ คือ หอพระอิศวรและหอพระนารายณ์ แผ่เนื้อที่ครอบคลุมชุมชนพราหมณ์บริเวณ โดยรอบถึงวัดเสมาเมืองและเสมาชัย เฉพาะในท้องที่หาดทรายแก้วนั้น พราหมณ์สายบาตูปาฮัตขยายลุกล้ำเข้ามาจนถึงบ้านหินหลักเดี๋ยวนี้...
มีหลักฐานที่เป็นเอกสารที่ระบุถึงชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลก เรียกว่า "ตามพรลิงค์" ซึ่งต่อมานักประวัติศาสตร์ทั่วไปรับรองว่าหมายถึงเมืองนครศรีธรรมราช นั้นก็คือแผนที่ของปโตเลมีแสดงว่า ตั้งอยู่ในแหลมมลายู มีอาณาเขตจดฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ระหว่างท้องที่ซึ่งเรียกกันโดยนักประวัติศาสตร์ว่า "หาดทรายแก้ว" แล้วแผ่ไปจนถึงเมืองครึหิ (ไชยา) ทางตอนใต้ของตามพรลิงค์ ลงไปก็เป็นอาณาจักร "ลังกาสุกะ" นอกจากนี้ที่เชื่อถือได้แน่ชัดก็คือจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่จารึกให้เกียรติสูงสุดแก่ชาวนครศรีธรรมราช ตอนที่ว่า "สังฆราช ปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว่าปู่ครูในเมืองทุกคน ลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา..." ก็เป็นอันว่าคำว่า "ศรีธรรมราช" ได้เข้าไปปรากฏในวงการประวัติศาสตร์โลกเป็นครั้งแรก เพราะศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักนี้ ชาติอังกฤษถือเป็น "แม็กนาคาตา" ของประเทศไทยทีเดียว
เมื่อพิจารณาถึงการตั้งเมืองนครศรีธรรมราช ในสถานที่แห่งใหม่นี้ จะเห็นว่าท้องที่ทที่เรียกว่า "หาดทรายแก้ว" เป็นท้องที่ที่เหมาะสมที่สุดในสมัยนั้น ทางตะวันออกจดทะเล เป็นท่าเรือพาณิชย์สากล ทางตะวันตกเป็นที่นาและที่สวน ทางทิศเหนือและทิศใต้ก็จดประเทศพันธมิตร ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นศัตรูกันได้ คืออาณาจักรลังกาสุกะ ดังนี้ผู้ (ตั้งตัว) เป็นใหญ่หรือพระเจ้าแผ่นดินของอาณาจักร ซึ่งเรียกชื่อที่หลังว่า "ศรีธรรมราช" นั้น จึงได้ประกอบพิธีตั้งเมือง
พิธีตั้งเมืองของท้าวโคตร
..............................................
ความจริง ชื่อ ท้าวโคตร เป็นชื่อที่ประชาชนเรียกกันเอง ในฐานะกษัตริย์พระองค์แรก แต่ชื่อที่ปรากฏต่อมาที่นักประวัติศาสตร์เรียกตามทางการนั้นคือ "พญาศรีธรรมาโศกราช ที่ ๑ " โดยเฉลิมพระนามให้ปรากฏคล้าย ๆ กษัตริย์พราหมณ์ในอินเดีย
เรื่องการตั้งเมืองนครศรีธรรมราช บนหาดทรายแก้วนี้มีปรากฏอยู่ในหนังสือ "ตำราเมืองนครศรีธรรมราช" พิมพ์ขึ้นโดยทางวัดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชในโอกาสฉลอง ๒ พุทธศตวรรษ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
"เมื่อมหาศักราชได้...ปีนั้น พระยาศรีธรรมาโศกราชสร้างสถานและหากทราย(แก้ว) นั้นเป็นกรุงเมือง ชื่อเมืองนครศรีธรรมราช ได้สถาปนาอัครมเหสีชือ่นางสังคเทวี....ฯลฯ"
ในหนังสือตำนานดังกล่าวได้เว้นตัวเลขปีมหาศักราชไว้ ทั้งนี้เพราะเกิดความไม่แน่ใจในหลักฐานก็อาจเป็นได้แต่ปีที่สร้างเมืองนครศรีธรรมราชนั้น มีในหนังสือประวัติศาสตร์อื่น ๆ ก็มีอยู่หลายเล่มว่า พญาศรีธรรมโศกราช (ที่ ๑) สร้างเมืองขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๐๙๘ ซึ่งตั้งเมืองนครศรีธรรมราชให้ปรากฏไว้ด้วย เรื่องนี้เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคำศรีธรรมราชในศิลาจารึกหลักที่ ๒๔ ที่ว่าพบที่วัดเวียง ไชยา กล่าวถึงพระเจ้าจันทรภานุแห่งนครศรีธรรมราฃ ซึ่งได้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ.๑๗๗๓ ชั่วระยะเวลาห่างกันประมาณ ๗๐๐ ปี ก็พอจะกลมกลืนกับเหตุการณ์มนประวัติศาสตร์ตอนนั้นได้ เพราะกว่าพระเจ้าศรีอินทราทิตย์จะตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาได้ก็ใช้เวลารบพุ่งกับศัตรูทางการเมืองของพระองค์มาอย่างยากลำบาก และกว่าจะถึงรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงก็ต้องใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปี อนึ่ง ตัวเลขศักราชในหนังสือตำนาน หรือ พงศาวดาร ฯลฯ เพิ่งเขียนขึ้นมาทีหลัง ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนไปได้ เพราะฉนั้นพอที่จะยอมรับกันได้ว่า เมืองนครศรีธรรมราชถูกตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๙๘ ซึ่งเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองก่อนตั้งกรุงสุโขทัย
เนื่องจากท้าวโคตรหรือพญาศรีธรรมาโศกราชที่ ๑ เป็นพราหมณ์ซึ่งอยู่ในสยาบาตูปาฮัต เพราะฉะนั้นการประกอบพิธีทางบ้านเมืองหรือทางศาสนาก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ลัทธิพราหมณ์ทั้งสิ้น เช่น ก่อนอื่นให้ขุดกำแพงดินและคูน้ำล้อมรอบอาณาเขตเมืองทั้ง ๔ ด้าน มุมกำแพงทุกมุมให้ตั้งตุ่มน้ำใบใหญ่ใส่น้ำเต็มตุ่มอยู่ตลอดเวลา กันข้าวยากหมากแพงฝังหลักเมือง มีสิ่งที่ควรจดจำในเรื่องนี้ก็คือ บริเวณที่ตั้งเมืองในขระนั้น คือเรียกว่า "วัดพระเวียง" เดี๋ยวนี้ ซึ่งบัดนี้ท่งราชการได้ใช้ที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งสถานที่เลี้ยงเด็กอนาถามาหลายปีแล้ว จนบัดนี้ภาพถ่ายเจดีย์และสิ่งสกคัญที่ท่านผ้อ่านควรจะทราบไว้ด้วยก็คือ เนื่องจากพญาศรีธรรมาโศกราชที่ ๑ นับถือศาสนาพราหมณ์ เพราะฉะนั้นจึงได้สร้างเทวสถานและเทวาลัยขึ้นไว้ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง คือตรงที่เรียกว่า "วัดท้าวโคตร) เดี๋ยวนี้ ประมาณ พ.ศ. ๑๑๑๑ สำหรับประกอบพิธีศาสนกิจตามลัทธิพราหมณ์
เทวาลัยที่พญาศรีธรรมาโศกราชที่ ๑ สร้างขึ้นมานั้นมีรูปพรรณสัณฐานดูคล้ายปล่องกลม ก่อด้วยอิฐ โดยรอบทั้งหหมด เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๕ วา สูงปผระมาณ ๘ วา ตอนบนสุดไม่มียอด แต่มีฐานยกเป็นแท่นขึ้นทางด้านตะวันออก แท่นสูงประมาณ ๒ วา กว้างประมาณ ๑ วา ตอนหน้าแท่นมีหินขาวก้อนสี่เหลี่ยมกว้างเกือบ ๒ ศอก ยาวประมาณ ๓ ศอก ตรงกลางขุดเป็นแอ่งสำหรับรองรับน้ำฝน มีบันไดอิฐขึ้นจากฐานถึงลานข้างบน ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๐ ตารางวา ส่วนที่เหลือจากที่ทำเป็นแท่นก็กลายเป็นที่ว่าง ซึ่งต่อมาใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระศพของพญาศรีธรรมาโศกราชาที่ ๑ เทวาลัยนี้ บัดนี้ก็ยังปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานอยู่ในวัดท้าวโคตร กลายเป็นปูชนียสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชาติไทย การสร้างเทวาลัยก็โดยความประสงค์ที่จะให้ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์มีโอกาสเข้าใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์บนสวรรค์ทุกพระองค์ให้มากที่สุด เมื่อถึงวันสำคัญหรือเกือบทุกวันพราหมณ์จะขึ้นไปประกอบพิธีนมัสการพระผ้เป็นเจ้า ดังนั้นจึงต้องมีแอ่งน้ำอยู่ข้างบนด้วย อันเป็นส่วนสำคัญในการประกอบพิธี อาจใช้เพื่อชำระร่างกายหรือดับไฟที่ต้องเผาของหอม ฯลฯ
เทวาลัยนี้ ถ้าผ้สร้างเป็นผู้มีอำนาจวาสนามากก็สร้างขึ้นใหญ่มาก เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของตน อย่างที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ และต่อ ๆ มา ได้สร้างไว้ที่ยอดเขาพระวิหารทางภาคอีสานติดต่อกับประเทศเขมรเดี๋ยวนี้
ส่วนเทวสถานที่พญาศรีธรรมาโศกราชที่ ๑ ได้สร้างไว้อาจเป็นการชั่วคราวเพราะมีภาระในการตั้งเมืองนครศรีธรรมราช ดังนั้นอาจเสียหายชำรุดไปตามกาลเวลาก็ได้ จึงไม่ปรากฏอยู่ หรือพระองค์อาจถือว่าอยู่ในที่จุดเดียวกับเทวลัยหรือใช้ร่วมกันกับเทวลัยไปด้วยก็ได้
เมื่อถวายพระเพลิงพญาศรีธรรมาโศกราชเสร็จสิ้นแล้วบริเวณหาดทรายแก้วตรงนั้น ก็ค่อย ๆ กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีสภาพเป็นป่า ประชาชนส่วนใหญ่ก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ตัวเมือง (ในบริเวณวัดพระเวียงโดยรอบ) และไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสถานที่สำคัญที่ใช้ที่ถวายพระเพลิง และยังมีเทวาลัยประดิษฐานเป็นที่น่าเกรงขามอยู่ด้วย ที่ตรงนั้นจึงรกร้างอยู่จำนวนเป็นร้อย ๆ ปี เว้นไว้แต่ช่องหนทางเดินเข้าออกที่จะไปปนะกอบพิธีนมัสการตามลัทธิพราหมณ์บนเทวาลัยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมืองนครศรีธรรมราชที่ได้ตั้งขึ้นแล้วต่อมาก็มีการสืบทอดสัตติวงศ์ คือพญาศรีธรรมชที่ ๒ ปกครองเมืองต่อมา แต่ยังคงนับถือศาสนาพราหมณ์ตามพระราชบิดา จนมาถึงกษัตริย์สำคัญพระองค์หนึ่งสืยทอดการปกครองเมืองต่อมา ทรงพระนามว่า "พระยาชีวะสุชิตราช" ต้องการแสดงอำนาจให้เห็นเหมือนกับพวกพราหมณ์สายตะโกลาที่ขยายเข้าครอบคลุมอาณาจักรกัมโพชหรืออาณาจักรขอม (โบราณ) จึงได้ยกกองทัพเรือไปโจมตีกรุงละดว้ (ลพบุรี) ซึ่งเป็นเมืองเองของขอมสมัยนั้น ได้กรุงละโว้ไว้ในอำนาจเป็นครั่นคร้ามของกษัตริย์ขอม ต่อมาเกิดมีความสัมพันธ์ทางการสมรส โดยหลานของพระเจ้าสุชิตราชไปได้กับธิดาของกษัตริย์ครองอาณาจักรขอม มีพระนามว่า "พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑" ซึ่งคิดสร้างเทวาสถานใหญ่และสวยงามที่สุดในโลกขึ้นที่ "เขาพระวิหาร" อยู่ตรงยอดเขาระหว่างจังหวัดศรีสะเกษของไทยกับเขมรเดี๋ยวนี้เทวสถานเขาพระวิหารได้สร้างสืบทอดติดต่อกันมาหลายองค์กษัตริย์ นับว่าเป็นเทวสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชาวโลกทั่วไป สืบทอดต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กษัตริย์พระองค์นี้มีเดชานุภาพมาก สืบเชื้อสายจากพระเจ้าสุชิตาราช (พระยาชีวกะ) ซึ่งไปจากแหลมมลายูหรือนครศรีธรรมราช
กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรนครศรีธรรมราชนักประวัติศาสตร์ถือว่ามีพระยศเป็นพญาศรีธรรมาโศกราชสำหรับพระเจ้าสุชิตราชก็นับเป็นพญาศรีธรรมาโศกราชที่ ๓ ตั้งแต่ไปมีอำนาจอยู่ในกรุงละโว้แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ากลับมายังนครศรีธรรมราชอีกเลย เพราะไปช่วยหลานชายสร้างเขาพระวิหารอยู่ก็อาจเป็นได้.."
ข้อมูลที่ยกมาอ้างนี้เห็นได้ว่าพูดถึงเรื่องพราหมณ์บนแผ่นดินสยามทั่วไป และพบว่าพราหมณ์พวกที่ไปสร้างประเทศเขมรนั้น ได้นำความรู้ในอรรพเวทไปเผยแพร่ด้วย แต่ชนชาติขอมจำนวนหนึ่งได้นำวิชาความรู้ด้านนี้ไปใช้ในทางเสื่อมเสีย จึงทำให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดี ทำให้มองว่าไสยเวทสายของขอมเป็นสายที่ชั่วร้าย ต่อมาถึงกับแบ่งกันอย่างชัดเจนว่าเป็น ไสยดำ ไสยขาว สายที่ชั่วร้ายเป็นไสยดำ สายที่ยังคงบริสุทธิ์ ประกอบพิธีกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อความสงบสุขของหมู่ชน และช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าให้ร้ายได้ชื่อว่าเป็นไสยขาว ไสยเวทสายเขมรจึงถูกจัดเป็นไสยดำจำนวนหนึ่ง ไสยขาวจำนวนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ถูกจัดเป็นไสยดำแต่สำหรับไสยเวทสายเขาสำนักเขาอ้อส่วนใหญ่จะถูกจัดเป็นไสยขาว เพราะต่อมาได้มีการถ่ายทอดวิชาให้กับพระ ซึ่งพระถูกพระธรรมวินัยกำนหดให้ทำความดี ช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าให้ร้ายด้วยเหตุนี้ ไสยเวทสายเขาอ้อจึงมีภาพพจน์ที่ดีกว่าสายเขมร
ก่อนที่จะเจาะลงไปถึงประวัติของเขาอ้อ ขอพูดถึงประวัติของพราหมณ์สายที่อพยพลงไปพัทลุงเสียก่อนสักเล็กน้อย เพื่อจะเป็นหลักฐานว่า ข้อสัญนิษฐานของผู้เขียนมีส่วนถูต้องหรือผิดพลาดอย่างไร
สำหรับเรื่องของพราหมณ์ที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองพัทลุงเก่า ได้ค้นพบหลักฐานเป็ยลายลักษณ์อักษรในหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉบับพิมพ์ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งจัดทำโดย สถาบันทักษิณคดีศึกษา ในหนังสือดังกล่าวได้เขียนถึงพราหมณ์ที่ไปตั้งถิ่นฐานในเมืองพัทลุงไว้ตอนหนึ่งว่า
"...เมืองพัทลุงเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของภาคใต้ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียมาพร้อมกับเมืองไชยา และเมืองนครศรีธรรมราช ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองพัทลุงนานแล้ว ตามตำนานเล่ากันว่าในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ปราบปรามแคว้นกลิงคราชในอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียได้นฃรับความเดือดร้อนเพราะภัยสงคราม จึงพากันอพยพมายังแหลมมลายู ชาวอินเดียส่วนหนึ่งขึ้นฝั่งที่เมืองปะเหลียน แล้วเดินบกข้ามแหลมมายังเมืองพัทลุงทางช่องเขาตระ ตำบลตะโหมด ไปตั้งรกรากครั้งแรกที่บ้านท่าทิดครู ตำบลฝาละมี ตำบลหารเทา อำเภอปากพยูนชาวดินเดียเหล่านี้ได้นำศาสนาพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ให้แก่ชาวพื้นเมือง
แต่หลักฐานทางโบราณวัตถุสถานที่บ้านท่าทิดครูไม่ปรากฏมีร่องรอยศาสนาพราหมณ์อยู่เลย แต่กลับพบร่องรอยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนา คือ พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ปางสมาธิ ศิลปะท้องถิ่นสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีอายุสมัยหลังตำนานมาก
หลักฐานทางศาสนาพราหมณ์ที่พอจะเชื่อถือได้คือโบสถ์พรามหณ์ที่บริเวณวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน ซึ่งมีร่องรอยอิฐ ฐานประติมากรรม ชิ้นส่วนศิวลึงค์และอุมาลึงค์หินทรายจำนวนหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าศาสนาพราหมณ์คงเข้ามาเผยแพร่ในขณะที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ที่โคกเมือง ซึ่งอยู่ห่างจากโบสถ์พราหมณ์ไทางทิศเหนือประมาณ ๓๐๐ เมตร
พราหมณ์เมืองพัทลุงนี้ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนิราศนครวัดตอนหนึ่งว่า "มีกิจหนึ่งซึ่งตั้งใจจะมาหาความรู้พวกพราหมณ์ที่กัมพูชา ด้วยพราหมณ์ในกรุงเทพฯ มี ๓ พวก คือ พราหมณ์พิธีที่มาจากเมืองนครศรีธรรมราช พราหมณ์โหรดาจารย์มาจากพัทลุง พวกพราหมณ์พฤฒิบาศไปจากกรุงกัมพูชา เคยสืบได้ความจากพราหมณ์ที่นครศรีธรรมราชและมืองพัทลุงว่าต้นสกุลพราหมณ์พิธีมาจากเมืองรามนคร ส่วนพรามหณ์โหรดาจารย์นั้น ได้ความว่าต้นสกุลมาจากเมืองพาราณสี แต่พวกพราหมณ์พฤฒิบาศสืบในกรุงเทพ ฯ ไม่ได้ความต้นสกุลมาจากไหน จึงหมายจะถามพวกพราหมณ์ที่กรุงกัมพูชา ได้ถามพระครู บอกได้แต่ว่ามาแต่พนมไกรลาศ หมายความว่ามาจากเขาไกรลาศ"
การสืบสวนของผู้รู้ในปัจจุบันได้ความว่า เมืองรามนครกับเมืองพาราณสีเป็นเมืองเดียวกัน วังอันเป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครพาราณสียังเรียกว่ารามนครอยู่จนทุกวันนี้แสดงว่าให้เห็นว่าพราหมณ์เมืองนครกับพราหมณ์เมืองพัทลุงมาจากเมืองเดียวกัน แต่การเรียกชื่อผิดแผกแตกต่างกันไป จึงทำให้ผู้รู้ในสมัยก่อนหลงเข้าใจผิดก อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับพราหมณ์เมืองพัทลุงนี้ จากคำบอกเล่าของพระพร้อม เขมาภิร โต อายุ ๗๔ เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ปรางไชย์ ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุง เล่าว่าพราหมณ์เมืองพัทลุงเรียกว่า "พราหมณ์บัณเฑาะว์" หรือ "พราหมณ์มลิลา" ซึ่งไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด
พงศาวดารเมืองพัทลุงของหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) ได้กล่าวมาถึงพนัะกงานพิธีของฝ่ายพราหมณ์ไว้ว่าพนักงานพิธีขึ้นกับหลวงทิพมณเทียรหน้าวัง มีพราหมณ์ ๒๐ คน กับพนักงานรักษาเทียวไชย หัวหน้าพราหมณ์ ๔ คน คือขุนศรีสยมภู หัวหน้าพราหมณ์ ขุนศรีสพสมัย ๑ เปฌนผู้ถือบัญชีพราหมณ์ ขุน ไชยปาวี ๑ ขุนสิทธิไชย ๑ เป็นผู้นำเจ้าเมืองเข้าเมือง นอกจากนี้มีผู้ช่วยอีก ๔ คน คือ ขุนไชยธรรม ผู้ช่วย ๑ ขุนเทพมุนี ผู้ช่วย ๑ ขุนยศ ผู้ช่วย ๑ ขุนน้อย ผู้ช่วย ๑ มี พราหมณ์บัณเฑาะว์ชาวสังข์อีก ๑๒ คน ๒ คู่ ๘ คน ผลัดเปลี่ยนกัน คนแกว่งปัณเฑาะว์ ๑ คู่ ๔ คน ผลัดเปลี่ยนกัน
หลังจากพระบาทสมเดจพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้มีการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๗ ความสำคัญของพราหมณ์เกี่ยวกับพิธีการต่าง ๆ ตามหัวเมืองก็ลดความสำคัญลง ทำให้การนับถือศาสนาพราหมณ์เสื่อมลงจนบางครั้งพวกพราหมณ์เองก็ได้รวมเอาศาสนาพราหมณ์กับศาสนาพุทธเข้าด้วยกัน เพราะสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ เมื่อสภาพเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนแปลงไป การหาผู้สืบทอดหรือผู้ที่บวชเป็นพราหมณ์ ก็หาได้ยากยิ่งขึ่น เพราะเมื่อบวชแล้วก็ไม่ค่อยมีกิจนิมนต์ไนการพิธีต่าง ๆ มากพอที่จะหาปัจจัยมาจุนเจือชีวิตได้ และอีกประการหนึ่งคือบวชแล้วจะสึกไม่ได้
พวกพราหมณ์ที่เมืองพัทลุงถือตัวเองว่าเป็นชนชั้นสูงเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ในอินเดีย พวกพราหมณ์จึงมักเลือกตั้งบ้านเรือนไว้ในที่สูงที่ถือว่าเป็นมงคล และเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกตนมีฐานะชนชั้นสูงกว่าบุคคลทั่วไปสถานที่ที่พวกพราหมณ์เมือพัทลังได้เคยตั้งบ้านเรือน ได้แก่บ้านดอนเค็ด บ้านดอนรุม บ้านดอนยอ บ้านลำป่า บ้านไสไฟ อำเภอเมืองพัทลุง บ้านควนปริง บ้านดอนนูด อำเภอควนขนุน บ้านดอนจาย บ้านจองถนน อำเภอเขาชัยสน เป็นต้น พราหมณ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพัทลุงมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ผิดแปลกไปกว่าพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช
ประเพณีของพราหมณ์เมืองพัทลุงเท่าที่ได้ถือปฏิบัติกันในปัจจุบัน มีดังนี้
การเกิด เดิมจะถือปฏิบัติกันอย่างไรไม่สมารถสืบทราบได้ ปัจจุบัน ได้ถือปฏิบัติแบบเดียวกับคนไทยทั่วไป
การตาย ผู้ที่เป็นพราหมณ์หรือมีเชื้อสายพราหมณ์จะนั่งตาย สาเหตุที่พราหมณ์นั่งตาย มีเรื่องเล่าทำนองนิทานว่าในสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้น พระอิศวรกับพระพุทธเจ้าทรงเล่นซ่อนหา โดยพระอิศวรเป็นผู้ซ่อนพระองค์ก่อน โดยลงไปซ่อนที่สะดือทะเล พระพุทธเจ้าทรงหาพบเมื่อถึงคราวพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเสด็จขึ้นไปซ่อนอยู่ในมวยผมของพระอิศวร พระอิศวรทรงหาเท่าไรก็ไม่พบจึงทรงเรียกพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าขานรับทำให้เสียงดังไปทั้งทวีป พระอิศวรก็เลยแยกสำเนียงไม่ได้ว่ามาจากทิศใดจึงทรงยอมแพ้ต่อพระพุทธองค์ และขอเพียงที่สำหรับพอให้พวกพราหมณ์นั่งตายเท่านั้น นอกจากนั้นไม่ต้องการอะไรอีกพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต
เมื่อพราหมณ์คนหนึ่งคนใดตาย การบรรจุโลงจะต้องทำเป็นรูปโกศรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยอดแหลม พอให้ผู้ตายนั่งได้ก่อนบรรจุศพต้องอาบน้ำศพให้สะอาด ศพต้อวงนั่งท่าสมาธิแล้วบรรจุเข้าในโกศ ให้หันหน้าไปทางทิศอีสาน พิธีฝังต้องไปทางทิศอีสาน เมื่อทำพิธีเสร็จแล้ว พวกพราหมณ์ทั้งหมดจะกลับไปบ้านเจ้าภาพ แล้วรับประทานข้าวต้มบนครก เป็นอันเสร็จพิธีศพ
สำหรับป่าช้าพราหมณ์เมืองพัทลุง เท่าที่ได้ค้นพบในเวลานี้มีอยู่ ๒ แห่ง คือ ที่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าช้าแขกชี" และป่าช้าที่หน้าวัดดอนกรวด ตำบลปราง หมู่ อำเภอเมืองพัทลุง ซึ่งเป็นป่าช้าที่ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้ เดิมที่หน้าป่าช้านี้มีเสาหงส์ขนาดใหญ่ ๑ เสา ต่อมาทางวัดดอนกรวดได้รื้อนำไปทำเป็นเสากุฎิภายในวัด ส่วนตัวหงส์ก็สูญหายไป
การบวช ผู้ที่จะบวชเป็นพราหมณ์ได้ต้องเป็นผู้ชายและเป็๋นบุตรคนแรกของตระกูล อายุ ๔๐ ปี (บางแห่งว่า ๔๒ ปี) จึงจะบวชได้ เพราะถือว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว และส่วนใหญ่จะผ่านชีวิตครอบครัวมาแล้ว เมื่อบวชก็สามารถอยู่กินกับภรรยาได้ ในวันบวช พวกญาติพี่น้องจะมานั่งรวมกันในพิธี แล้วพราหมณ์ผู้ทำหน้าที่บวช ก็ให้ญาติพี่น้องนำผ้าขาวมาคลุมศีรษะผู้บวช ปลายผ้าทั้งสองให้ผู้เข้าร่วมพิธีจับไว้แล้วโยกศีรษะผู้บวชสลับไปมา พราหมณ์ผู้ทำพิธีก็จะเป็นผู้ให้ศีลให้พร ก็เป็นอันเสร็จพิธีถือว่าเป็นพราหมณ์ได้เรียกพราหมณ์บวชแบบนี้ว่า "พราหมณ์ญัติ" หรือ "พราหมณ์บัญญัติ"
การแต่งงาน สมัยเดมจะเป็นอย่างไรไม่สามารถสืบทราบได้ ปัจจุบันการแต่งงานของพราหมณ์ก็เช่นกันกับการแต่งงานของคนไทยทั่ว ๆ ไป แต่ถ้สเป็นหญิงพราหมณ์แต่งงานกับชายไทยถือว่าผู้นั้นจะขาดความเป็นพราหมณ์ บุตรชายที่เกิดขึ้นจะพรตเป็นพราหมณ์ไม่ได้ ถ้าชฃายพราหมณ์แต่งงานกับหญิงไทยยังถือว่าเป็นพราหมณ์ บุตรชายที่เกิดขึ้นสามารถพรตเป็นพราหมณ์ได้
การแต่งกาย โดยทั่วไปแล้ว พราหมณ์จะนุ่งห่มด้วยผ้าขาว คือ เสื้อขาวธรรมดา ๑ ตัว ผ้าโจงกระเบน ๑ ผืน แต่ถ้าทำพิธีพราหมณ์จะใส่เสื้อยาวแบบเสื้อราชปะแตนสีขาวคลุมทับเสื้อใน สวมหมวกแบบถุงแป้ง ห้อยคอด้วยลูประคำ
ข้อห้ามเกี่ยวกับอาหาร พราหมณ์เมืองพัทลุงจะไม่กินเนื้อและปลาไหล เพราะพราหมณ์ถือว่าวัวเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพาหนะของพระอิศวร ซึ่งเป็นเทพเจ้าของพราหมณ์ ส่วนเนื้อปลาไหล ที่พราหมณ์ไม่รับประทานเพราะมีเรื่องเล่าทำนองนิทานว่า ในสมัยหนึ่ง พระอิศวร ได้เสด็จประพาสป่า ทรงพบกวางคู่หนึ่งกำลังร่วมสังวาสกันอยู่พระอิศวรเกิดความกำหนดขึ้นมา จึงแปลงกายเป็นกวางตัวผู้ร่วมสังวาสกับกวางตัวเมีย ต่อมาพระอิศวรเกิดความละอายใจจึงตัดอวัยวะสืบพันธุ์ทิ้งไป ก็เกิดเป็นปลาไหล ด้วยความเชื่อนี้เอง พราหมณ์จึงไม่กินปลาไหล
รูปเคารพของพราหมณ์พัทลุง เท่าที่เหลือในปัจจุบันคือ รูปพระอิศวรหล่อสำริดปางนาฏราชศิลปะอินเดีย พระพิฆเนศวร พระอุมา และยังมีรูปพระโพธิสัตว์มัญชุศรีของพุทธศาสนาลัทธิมหายานร่วมอยู่ด้วย โดยพราหมณ์เข้าใจว่าเป็นสฃรูปพระอิศวร.."
จากตำนานพราหมณ์เมืองพัทลุงที่ยกมาอ้างดังกล่าวพอจะโยงใยไปถึงการก่อตั้งสำนักเขาอ้อได้เนื่องจากตามหลักฐานพบว่าพราหมณ์เคยไปอยู่ละแวกอำเภอควนขนุน คือ ในเขตใกล้เคียงกับเขาอ้อ และที่ว่าพราหมณ์ชอบตั้งที่พำนักสูง ๆ เพราะถือว่าตัวเองเป็นชนชั้นสูง โดยเฉพาะพราหมณ์ผู้เรืองเวทด้วยแล้ว ยิ่งต้องการที่สูงอาศัยอยู่ และต้องการสถานที่สงบเงียบเพื่อการบำเพ็ญพรต
ในละแวกอำเภอควนขนุรน เขาอ้อถือเป็นชัยภูมิที่ดีมากแห่งหนึ่ง เส้นทางคมนาคมในอดีตถือ ลำคลองผ่านหน้าเขา ภายในเขามีถ้ำกว้างใหญ่เย็นสบายรอบ ๆ เขาเป็นที่อยู่ของชาวบ้าน และที่สำคัญอยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองพัทลุงเก่ามากมากนักด้วยเหตุนี้อาจจะมีพราหฒณ์ผู้เรืองเวทสักกลุ่มได้ตั้งสำนักขึ้นเพื่อถ่ายทอดวิทยาของพราหมณ์ สู่ลูกหลานพราหมณ์รวมทั้งลูกหลานกษัตริย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพราหมณ์โดยตรงที่จะต้องทำไหน้าที่ราชครูให้เหล้าพระวงศ์และองค์รัชทายาทในเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้วัดเขาอ้อแม้ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัด มีพระเป็นเจ้าอาวาสแล้ว เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็นิยมส่งลูกหลานไปเรียน
อันดับต่อไปก็จะได้กล่าวถึงตำนานและประวัติเขาอ้อโดยพิสดาร
ชื่อเสียงของวัดเขาอ้อที่ผู้คนทั่วไปรู้จักมักจะเน้นไปในทางไสยเวทเสียมากกว่า ทั้วที่วัดเขาอ้อยังมีดีมากกว่านั้น โดยเฉพาะวิชาการแพทย์แผนโบราณ พูดได้ว่าไม่มีสำนักไหนในภาคใต้ที่จะชัดเจน และได้ผลชะงัดเท่ากับสำนักนี้ แม้ปัจจุบันจะคลายลงไปบ้าง แต่ก็หาได้สูญหายไปอย่างใดไม่อย่างน้อยที่สุดยังมีพระอาจารย์หลายรูปที่สืบทอดกันต่อมา
ความเป็นมาของวัดเขาอ้อนั้นยาวนานมาก ยาวนานเสียเกินกว่าที่จะเป็นประวัติได้ เลยต้องมาว่ากันโดยตำนานก่อน
ตำนานสำนักเขาอ้อ
...................................
เล่ากันว่า จุดกำเนิดของสำนักวัดเขาอ้อนั้น แต่เดิมเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์มาหลายรุ่น
เนื่องจากภายในถ้ำบนเขาอ้อนั้นเป็นทำเลที่ดีมากตัวเขาอ้อเองก็ตั้งอยู่บนเส้นทางสัญจรของชุมชน ในอดีตเมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่ สทิงปุระ หรือสทิงพารา ณ สี ซึ่งก็คืออำเภอสทิงพระในปัจจุบัน ประวัติเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมมหลายู ในบริเวณส่วนนั้น (เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนพราหมณ์หนาแน่นที่สุด
ในขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณ (ฤๅษี) คณะหนึ่งได้ไปบำเพ็ญพรตอยู่ในถ้ำบนเขาอ้อ บำเพ็ญพรตจนเกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตามตำราอาถรรพเวท (พระเวทอันดับสี่ของคัมภีร์พราหมณ์) แล้วได้ถ่ายทอดวิชานั้นต่อ ๆ กันมา พร้อมกันนั้นก็ได้จัดตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้สนใจ ซึ่งตามวรรณะแล้ว พราหมณ์มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงค์หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำ เพื่อจะให้นำไปเป็นความรู้ในการปกครองคนต่อไป สนักเขาอ้อสมัยนั้น จึงมีฐานะคล้าย ๆ สำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ผู้ทรงคุณ
พราหมณ์ผู้ทรงคุณดังกล่าวได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้พราหมณาจารย์สืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งเท่าที่สืบค้นรากฐานก็พบว่าวิชาที่ถ่ายทอดในคณาศิษย์ นอกจากวิชาในเรื่องการปกครอง ตามตำราธรรมศาสตร์แล้ว ก็ยังมีเรืองพิธีกรรมฤกษ์ยาม การจัดทัพ ตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดไปจนถึงไสยเวทและการแพทย์ ในภายหลังก็สามารถแยกวิชาออกเป็นได้เพียงสายหลัก ๆ คือ ทางไสยเวท และการแพทย์ตามตกราบอกว่าวิชาสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน ซึ่งสืบทอดกันคนละสาย สำนักเขาอ้อในสมัยนั้นจึงเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ จึงมีพราหมณาจารย์ (คือพราหมณ์ที่มีฐานะอาจารย์) อยู่สองท่านเสมอ
การสืบทอดวิชาในสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั่งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้าย เห็นว่าไม่มีผู้รับทืบทอดต่อแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่า เมื่อสิ้นท่านแล้ว สถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะพราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทหลายคนได้ฝังร่างไว้ที่นั้น สถานที่นั้นจึงสำคัญเกินที่จะปล่อยให้รกร้างไปได้ พราหมณ์ผู้เฒ่าเท่านั้น จึงได้เล็งหาผู้ที่จะมาสืบทอดต่อและรักษาสถานที่สำคัญนั้นไว้ ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้แผ่เข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้ว บริเวณข้าง ๆ เขาอ้อ ก็มีวัดอยู่หลายวัด วัดที่ใกล้ที่สุดคือ "วัดน้ำเลี้ยว" พราหมณ์ทั้งสองท่าน เล็งเห็นว่าต่อไปภายภาคหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้น การที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดี ท่านเลยตัดสินใจไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยว ให้มาอยู่ในถ้ำแทนท่าน แล้วมอบคัมภีร์ศักดิ์สอทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้ พร้อมถ่ายทอดวิชาทางไสยศาสตจร์ให้ รวมทั้งวิชากทางแพทย์แผนไทยโบราณ
พระภิกษุรูปแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแค่เพียงว่ามีนามว่า "ทอง" ส่วนจะทองอะไรนั้นสุอจะเดาได้เพราะวัดแห่งนี้มีอาถรรพ์เหลือเกิน มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป
ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่านภายหลังจึงได้มีพิธีแช่ว่านและพิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้นที่นั่นจนลือเลืองไปทั่ว
ตามตำนานเบื้องต้น ฟังดูออกจะเหลือเชื่อ แต่เมื่อวิเคราะห์กันด้วยผลแล้ว มีส่วนเป็นไปได้มาก มีข้อให้สังเกตอยู่ ๓ จุด คือ
๑. ความสวยงามเรื่องสถานที่ วัดเขาอ้อคงเป็นอารามในถ้ำอารามแรกในละแวกนั้น และการตั้งอารามในถ้ำนั้นไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นที่นิยมของพระภิกษุในสมัยนั้น ส่วนทำเลนั้นเล่าก็สวยงามน่าอยู่ ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนา อีกด้านเป็นคลองใหญ่อันเป็นทางสัญจรสายสำคัญในสมันนั้น ทำเลที่ดีอย่างนี้ พวกพราหมณ์ที่นิยมในทางวิเวกชอบใช้เป็นที่บำเพ็ญพรต
๒. วิชาเด่นของวัด วิชาเด่นของวัดเขาอ้อคือ "ไสยเวท" เป็นที่ทราบกันว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นไม่มีวิชาใดที่สอนเกี่ยวกับไสยเวท แต่ในคัมภีร์ของพราหมณ์นั้นมีเด่นชัดขนาดเป็นคัมภีร์หนึ่งต่างหากต่อจากไตรเวท คือ คัมภีร์สำคัญของพราหมณ์มี ๓ ส่วนคือ
๑). ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวมบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า
๒). ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ส่วนรวมบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ
๓). สามเวท เป็นส่วนที่รวมบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
นอกจากคัมภีร์สามส่วนนี้ ต่อมาพราหมณ์ได้เพิ่มคัมภีร์สำคัญเข้ามาอีกอย่าหนึ่ง ซึ่งเป็นการรวบรวมวิชาเกี่ยวกับไสยเวทและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เรียกว่า "อถรรพเวท"
๓. วัตถุมงคลของสำนัก วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังของสำนักเขาอ้อแตกต่างไปจากสำนักอื่น ๆ กล่าวคือสมัยก่อนไม่มีการทำรูปพระเครื่อง หมายถึงทำเป็นรูปพระไม่ว่าเป็นพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์ หากแต่ทำเป็นของขลังอย่างอื่นแทน เป็นต้นว่า ตะกุด คด ฯลฯ อาจจะเป็นพระเครื่องรางนั้นสืบทอดต่อจากพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดจริง ๆ จะไม่ทำเป็นรูปพระ ในขณะที่สำนักอื่น ๆ ในยุคเดี่ยวกันหรือใกล้เคียง ล้วนมีหลักฐานพระเครื่องเป็นรูปพระทั้งนั้นไม่ว่าเป็นพระร่วง, พระซุ้มกอ,พระคง, พระนางพญา,พระชินเขียวต่าง ๆ ฯลฯ ที่มีการขุดค้นพบ แต่ต่อมาพระภิกษุรุ้นหลัง ๆ ในสำนักเขาอ้อได้เริ่มทำเป็นรูปพระบ้างแล้ว โดยทำเป็นรูปบูรพาจารย์ของสำนักแห่งนี้ เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์ทองหูยาน พระอาจารย์ปาน เป็นต้น และได้ทำเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ด้วยจุดน่าสังเกตดังกล่าวข้างต้น ตำนานดังกล่าวจึงมีส่วนน่าเชื่ออยู่ไม่น้อย.
ประวัติเขาอ้อ
.........................
ได้เกริ่นถึงในส่วนของตำนานไปแล้ว ที่นี้มาดูหลักฐานที่ปรากฏเป็นประวัติของวัดเขาอ้อบ้าง
อาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทสำคัญคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติเขาอ้อไว้ในยหนังสือ "พระครูสังฆวิจารณ์ ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ" ตอนหนึ่งว่า
"เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระอาจารย์เจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อ มีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์และเป็นสำนักที่สอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์ให้แก่ชนทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมือง และนักรบ มาครั้งโบราณ เริ่มมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ ๑ ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้น ทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรองกับที่วัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพยูน ปัจจุบันนี้
ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัมลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย ๒ คน ตาชื่อสามโม ยายชื่อยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรและหลานบุญธรรมอยู่สองคน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวนี้กล่าวกันว่าเป็นอัจฉริยะมนุษย์ คือเลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวเนื้อขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ ตาสามโมเป็นนายกองช้างมีหน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง (เจ้าเมืองสทิงพาราณสี) ปีละ ๑ เชือก
เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์เองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๓๐๑ (พ.ศ.๑๔๘๒) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่า เป็นผู้มีความรู้ทางอยู่คงกระพัน กำบังกายหายตัวและอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ได้เป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้ว ฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ต.เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้) การที่ให้ชื่อเมืองว่า เมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม, พระพุทธรูป, พระเจดีย์ ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองตรัง หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๙๓ สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง ๑ วัด (ในพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวว่า สร้างครั้งสมัยพระเจ้าไสยณรงค์เป็นเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ (ผิดพลาดขออภัยด้วย) สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑ องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อนี้มีมากก่อนเมืองพัทลุง เพราะพระกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง"
อีกตอนหนึ่ง "เมื่อจุลศักราช ๙๙๑ (พ.ศ.๒๑๗๑) พระสามีราม วัดพะโค๊ะ หรือที่เราทราบชื่อกันเดี๋ยวนี้ว่า หลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้น ๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี เมื่อกลับมาเมืองพัทลุง ได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุ ไว้บนพะโค๊ะสูง ๑ เส้น ๕ วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์ (แต่ตามตำนานของวัดพะโค๊ะเองบอกว่า หลวงปู่ทวดมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้นมาก่อนแล้ว แต่ถูกทำลาย เมื่อคราวอุชุตนะ จอมโจรสลัดมลายู เข้าปล้นบ้านปล้มเมืองและทำลายวัดวาอารามฃายฝั่งทะเลแถบภาคใต้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี - ผู้เขียน)
ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งฉลองพระเจดีย์นั้นท่านพระอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่ง ชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพระโค๊ะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโค๊ะ ซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบะน สถานที่ตรงนั้นเรียกว่า "ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ"
ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโค๊ะให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนด ภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉัน ท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา
อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ ๒ ลูก ไปถวายสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จพะโค๊ะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด่วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้น ๆ ถวายพระ การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่งซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้นเจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันก็มีการศึกษากันอยู่
ลำดับพระอาจารย์เท่าที่ทราบชื่อมี ๑๐ ท่าน คือ
๑. พระอาจารย์ทอง
๒. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง
๓. พระอาจารย์พรมทอง
๔. พระอาจารย์ไชยทอง
๕. พระอาจารย์ทองจันทร์
๖. พระอาจารย์ทองในถ้ำ
๗. พระอาจารย์ทองหน้าถ้ำ
๘. พระอาจารย์สมภารทอง
๙. พระอาจารย์พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)
๑๐. พระอาจารย์ปาล ปาลธีมโม (เจ้าอาวาสรูปสุดท้าย)
พระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ มีความรู้ความสามารถคล้ายคลึงกัน เพราะได้ศึกษาต่อกันมาไม่ขาดระยะตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือ พระอาจารย์สำนักวัดเขาอ้อทุกองค์สอนเวทมนตร์คาถาเป็นหลัก เรียนตั้งแต่ ธาตุ ๔ ธาตุ ๕ แม่ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุและตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุต สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์ อักขระต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ความพยายามและต้องอยู่ปฏิบัติอาจารย์จนอาจารย์เห็นความพยายามที่รักวิชาของศิษย์ จึงจะสอนให้ ศิษบ์ได้ศึกษาเล่าเรียนจนทำให้ตามตำราก็มีเป็นจำนวนมาก นอกจากสอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์แล้ว ยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรค จนกระทั่งตำรายาของสำนักเขาอ้อมีทั่วไป ทั้งภาคใต้ตลอดไปถึงมาเลเซีย
วิชาไสยศาสตร์ที่เป็นหลักเดิมเป๋นคุณวิเศษประจำอาจารย์ทุกองค์ คือ
๑. เสกน้ำมันงาดิบให้เดือด ให้แข็ง แล้วทำพิธีป้อนให้ศิษย์เป็นคงกระพัน
๒. วิธีอาบว่านแช่ยา เป็นคงกระพันกันโรค
๓. พิธีหุงข้าวเหนียวดำกินเป็นคงกระพัน กันเจ็บเอว เจ็บหลัง เป็นอายุวัฒนะ
๔. พิธีสอนให้สักยันต์ที่ตัวด้วยดินสอหรือมือ เป็นคงกระพันชาตรี เป็นมหาอุ๖ แคล้วคลาด เป็นเมตตามหานิยม
๕. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๕ ดอก ๑๖ ดอก
๖. พิธีลงตะกรุดพิชัยสงคราม ๑ ดอก ๔ ดอก ๑๖ ดอก
๗. วิชาความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม ตามตำราพิชัยสงคราม
๘. วิชาความรู้ทางยารักษาโรค รักษาคนเป็นบ้า รักษาคนกระดูกหัก กระดูกแตก ต่อกระดูก รักษาโรค ตามตำราเขาอ้อ ต้องรักษาเพื่อการกุศล หายแล้วนำอาหารควาหวานไปถวายพระ
๙. พิธีพิเศษและสูงสุดระดับชาติ ระดับศาสนา คือ ทำไม้เท้ากายสิทธิ์ ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น ช่วยชาติในคราวคับขัน เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธพิจารณาแก้ช่วยกัน แก้ได้โลกจะกลับคืนเข้าสู่สันติตัวจริง สันติตัวปลอมจะหมดไปจากโลก คือ ให้เจริญภาวนาให้เห็นว่าชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็นเป็นตัวโลกุตนธรรม"
ในพงศาวดารยังพดถึงวัดเขาอ้ออีกครั้ง โดยปรากฏในประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ดังที่อาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้เขียนไว้โดยสังเขปในหนังสือเล่มเดียวกับที่อ้างถึงข้างต้น ความว่า
"....ในพงศาวดารกล่าวว่า ครั้งสมัยศรีวิชัย ตอนกลางของแหลมมลายู ปรากฏว่ามีเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ ๓ เมือง คือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองหลวง มีเจ้าผู้ครองนคร ตกอยู่ในอำนาจของศรีวิชัยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๔๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๒๓ ต่อจากนั้นเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยครั้งพ่อขุนรามคำแหงเมืองพัทลุงกับเมืองไชยาเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนคร ฯ เมืองพัทลุงมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออก ในสมัยนั้นมีเมืองขึ้นเล็ก ๆ หลายเมือง เช่น เมืองปะเหลียน เมืองจะนะ เมืองชะรัด เมืองเทพา เมืองกำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา) เมืองสงขลา เมืองสทิง เมืองสิงห์ (กิ่งอำเภอสิงหนครม จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน - ผู้เขียน) เมืองระโนด เมืองปราน เมืองสีชะนา (ที่ตั้งเมืองพัทลุงปัจจุบัน) ตัวเมืองพัทลุงสมัยนั้นตั้งอยู่ที่บางแก้ว (เขตอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)
(ตามหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕, จดหมายเหตุของหลวงอุดมสมบัติ จดหมายเหตุเรื่อง "สยามกับสุวรรณภูมิ" ของหลวงวิจิตรวาทการ, และจากการค้นคว้าจากที่อื่นหลายแห่ง)
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ ครั้งที่พม่ายกมาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช ได้เป็นผลสำเร็๗ แล้วยกทัพตีมาเรื่อย พระยาพัทลุง (ขุน) กับพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ชาวบ้านน่ำเลือด ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์วัดเขาอ้อ มีความรู้เชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ ได้ลงตะกรุด เลขยันต์ผ้าประเจียดให้แก่ ไพร่พล แล้วแต่งเป็นกองทัพยกไปคอยรับทัพพม่าอยู่ที่ตำบลท่าเสม็ด (อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน - ผู้เขียน) ทัพพม่ายกมาถึง เหนกองทัพไทยจากพัทลุงมีกำลังมากกว่าตน แต่ที่จริงมีกำลังน้อยกว่ากองทัพพม่าหลายเท่า แต่ด้วยอำนาจเวทมนตร์คาถาที่พระมหาช่วยซึ่งนั่งบริกรรมภาวนาอยู่เบื้องหลัง ทำให้ข้าศึกมองเห็นเป็นคนจำนวนมาก และมีกำลังร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ กองทัพพม่าไม่กล้ารุกเข้าเขตเมืองพัทลุงจึงหยุดอยู่เพียงคนละฝั่งแม่น้ำเป็นเวลาหลายวัน จนกองทัพหลวงยกมาถึง พม่าจึงยกทัพกลับไป พระมหาช่วยมีความชอบ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขา แล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระยาช่วยทุกขราษฎร์ เป็นผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง..."
ปัจจุบัน พระยาช่วยทุกข์ราษฎร์ผู้นี้ถูกชาวจังหวัดพัทลุงยกขึ้นเป็นวีรบุรุษประจำเมือง โดยร่วมใจกันสร้างอนุสามวรีย์ประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพบูชา และตั้งเด่นเป็นสง่าราศีแก่เมืองพัทลุงอยู่ที่สามแยกท่าสะมิหรำ อำเภอเมือง ซึ่งถนนสายสำคัญที่เข้าเมืองพัทลุงต้องผ่านทางนั้น
ประวัติวัดเขาอ้อปรากฏหลักฐานในเอกสารทางราชการอีกปห่งคือ ในสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่จัดทำโดยสถาบันทักษิณคดีศึกษา ซึ่งได้เขียนประวัติวัดเขาอ้อไว้ย่อ ๆ ในส่วนของจังหวัดพัทลุง ความว่า
"...วัดเขาอ้อตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน วัดเขาอ้อเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมา พ.ศ. ๒๒๘๔ พระมหาอินทราชมาจากเมืองปัตตานีได้เป็นเจ้าอาวาส จึงทำการบูรณะสิ่งปรักหักพัง เช่น บูรณะพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐ องค์ สร้างอุโบสถขึ้น ๑ หลังเสร็จแล้วมีหนังสือถวายพระราชกุศลเข้าไปกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพรนะกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑ องค์ หล่อด้วยเงิน ๑ องค์ แก่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า "เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ"
ต่อมาพระมหาอินทราชได้สร้างพระพุทธบาทจำลองพร้อมด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ สร้างพระพุทธไสยสน์ ๑ องค์และสร้างเจดีย์ไว้บนเขา ๓ องค์ เสร็จแล้วพระมหาอินทราชไปเสียจากวัด จึงทำให้วัดเสื่อมโทรมลงอีก ปะขาวขุนแก้วเสนา และขุนศรีสมบัติ พร้อมด้วยชาวบ้านใกล้เคียงได้ไปนิมนต์พระมหาคง จากวัดพนางตุงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาวัดกเจริญขึ้นเรื่อยมีเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อ ๆ กันมากมายหลายสิบรูป ล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์ มีชื่อเสียงโงดังไปทั่วภาคใต้ ตราบเท่าทุกวันนี้.."
พระพุทธรูปเจ้าฟ้ามะเดื่อที่ว่านี้ ยังมีผู้รู้เล่าประวัติปลีกย่อยออกไปว่า ที่ชื่อเช่นนั้นก็เพราะอดีตนายมะเดื่อหรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมัยเมื่อยังเป็นนายมะเดื่อ ที่เชื่อกันว่าเป็นราชโอรสสลับ ๆ ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เดินทางไปศึกษาวิทยาการในสำนักเขาอ้อ โดยยกกันไปทั้งครอบครัว หนึ่งในจำนวนนั้นมีเชื้อพระวงศ์ แต่ไม่แน่ว่าเป็นสายใด ชื่ออิ่มอยู่ด้วย ครั้นศึกษาได้พอสมควรแล้ว ก็ได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เข้ารับราชการจนกระทั่งเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าเสือ ขณะที่อยู่ที่วัดเขาอ้อก็ได้สร้างปูชนียวัตถุไว้เป็นอนุสรณ์อย่างหนึ่ง คือ พระพุทธรูปที่ว่านั่นเอง
ต่อมาเมื่อชาวบ้านทราบว่าผู้ที่เดินทางไปศึกษาวิทยาคุณในครั้งนั้นเป็นถึงเจ้าฟ้า จึงได้ถวายนามพระพุทธรูปองค์นั้นตามชื่อผู้สร้างคือ "เจ้าฟ้ามะเดื่อ" เพื่อเป็นอนุสรณ์ เพราะพระองค์ทรงสร้างตั้งแต่เป็นเจ้าฟ้ามะเดื่อ
ส่วนเจ้าฟ้าอิ่มนั้นก็เช่นกัน สร้างขึ้นโดยราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งมีนามเดิมว่า "อิ่ม" ซึ่งต่อมาได้เป็นใครก็ไม่อาจจะทราบได้ ผลแต่การศึกษาของเจ้าฟ้ามะเดื่อ หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิทยาการแต่ในอดีตของสำนักแห่งนี้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันผู้นำเพียงใด ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาแต่สำนักทิศาปาโมกข์แต่เดิมสาเหตุที่ทำให้มีข้อสันนิฐานที่ว่า วัดเขาอ้อเคยเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณาจารย์ในอดีต ส่วนหนึ่งก็เพราะความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำ เพราะสำนักทิศาปาโมกข์ที่สืบทอดมาแต่ตักศิลา ประเทศอินเดีย ส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่ถวายวิทยาการให้กับเชื้อพระวงศ์และลูกหลานผู้นำ เข้าใจกันว่าสำนักเขาอ้อแต่เดิม สมัยที่ยังเป็นสำนักทิศาปาโมกข์นั้น ผู้ที่เป็นศิษย์ของสำนักแห่งนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนชั้นระดับผู้นำ ดังที่ปรากฏรายนามตามประวัติของวัด
วัดเขาอ้อที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวคงจะเป็นการพูดถึงเขาอ้อเพียงสมัยหนึ่ง คื อสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่วัดเขาอ้อสร้างมานานกว่านั้นมาก ร้างและเจริญสลับกันเรื่อยมาตราบปัจจุบัน.
เขาอ้อในปัจจุบัน
.....................................
สำนักเขาอ้อตั้งอยู่ที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปัจจุบันมีฐานะเป็นวัดแห่งหนึ่งชื่อวัดเขาอ้อ แต่เดิมวัดเขาอ้อแห่งนี้ เป็นสำนักทิศาปาโมกข์แบบเดียวกับในประเทศอินเดีย ก่อตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ.๘๐๐ ผู้ก่อตั้งคือพราหมณ์จารย์หรือพราหมณ์ผู้ทรงเวท มีการสันนิฐานกันว่าอาจจะเป็นพราหมณ์ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย หรืออาจจะเป็นพราหมณ์ที่ได้ถือกำเนิด ในแหลมมลายู แต่สันนิฐานที่ว่าเป๋นพราหมณ์มาจากประเทศอินเดียดูจะน่าเชื่อถือกว่า เนื่องจากสันนิษฐานตามหลักฐานการเดินทางของพราหมณ์สมัยนั้น ที่เป็นยุคมีนามเรียก "ดราวิเลียนยาตรา" คือยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เริ่มเคลื่อนไหวออกจากประเทศอินเดียเพื่อจะขยายฐานศรัทธาของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นผลสืบเนื่องจากศาสนาพุทธที่กำลังมาแรงในประเทศอินเดียและมีแนวโน้มจะขยายไปสร้างฐานศรัทธาในเมืองต่าง ๆ ทั้งใกล้ไกล ศาสนาพราหมณ์ไหวตัวทัน ก็เลยคิดจะขยายฐานศรัทธาล่วงหน้าจึงส่งพราหมณาจารย์ในเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ในถิ่นห่างไกล แต่แล้วก็กลายเป็นว่าพราหมณาจารย์พวกนั้นเป็นบุกเบิกเส้นทางให้กับศาสนาพุทธ เพระาแทบทุกที่ที่ศาสนาพราหมณ์ขยายไป ต่อมาศาสนาพุทธขยายตามไปทั้งนั้นซ้ำร้ายกว่านั้นเมื่ออิทธิพลศาสนาพุทธมาแรง ศาสนสถานของพราหมณ์หลายแห่งต้องกลายมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ ตัวอย่างเช่นวัดต่าง ๆ ในเขตเมืองนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี รวมตลอดไปถึงพัทลุงและเพชรบุรี
ศาสนาพุทธได้เริ่มมาตั้งมั่นในเมืองนครศรีธรรมราชราวปี พ.ศ.๘๐๐ ตามหลักฐานระบุว่าศาสนาพราหมณ์เดินทางมาก่อน ก็แสดงว่าต้องก่อน พ.ศ. ๘๐๐
มูลเหตุการเกิดของสำนักเขาอ้อเนื่องจากมีพราหมณาจารย์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักบวชที่อาศัยร่มบารมีของเจ้าเมืองพัทลุง ในอดีต สมัยที่ตั้งอยู่สะทิงพระ หรือที่เรียกกันว่าสะทิงปุระหรือสะทิงพาราณสี อันจำลองนามมาจากอินเดีย เพราะชนชั้นผู้นำได้อพยพมาจากอินเดีย เพราะพราหมณ์ยึดมั่นเรื่องวรรณะและหน้าที่พราหมณ์กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นพราหมณาจารย์แบบเดียวกับอาจารย์ตามสำนักทิศาปาโมกข์ในกรุงตักศิลา ในประเทศอินเดียได้ก่อตั้งสำนักขึ้นเพื่อจะทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาให้กับเหล่าลูกหลานผู้นำ ซึ่งได้แก่ลูกเจ้าเมืองต่าง ๆ ในแหลมมลายู บุรพพราหมณาจารย์ที่ได้ก่อตั้งสำนักแห่งนี้มีข้อสันนิฐานว่ามี ๒ ท่าน มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันออกไป ท่านหนึ่งจะต้องเก่งในเรื่องการแพทย์แผน โบราณ เรื่องว่าน เรื่องสมุนไพร แร่ธาตุต่างๆ อีกท่านจะต้องเก่งในเรื่องคัมภีร์ธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการปกครองการรบ ตำราพิชัยสงคราม เพราะแม้ในปัจจุบัน ตำราเหล่านี้ของสำนักเขาอ้อก็มีปรากฎหลักฐาน แม้จะไม่สมบูรณ์ แต่พอนำมายืนยันข้อสันนิษฐานเหล่านี้ได้
พราหมณาจารย์ของสำนักเขาอ้อได้สืบทอดหน้าที่ต่อ ๆกันมา จนถึงยุคที่ศาสนาพุทธเจริญสุดขีดในแหลมมลายูเพราะมีฐานใหญ่อยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช อิทธิพลศาสนาพุทธแผ่ขยายไปทั่วและมาแรงมาก พราหมณาจารย์รุ่นสุดท้ายของสำนักเขาอ้อเล็งเห็นสถานการณ์ว่าไม่สามารถจะด้านกระแสศรัทธาของศาสนาพุทธได้แน่แล้ว จึงคิดหลอมสำนักเขาอ้อเข้ากับศาสนาพุทธ พราหมณ์เป็นชนชั้นรักสงบ มีธาตุแห่งความประนีประนอมสูง มีความคิดกว้างไกล เป็นชนชั้นนักการศึกษาชนชั้นแรกของโลก จึงได้เล็งเห็นว่าสำนักเขาอ้อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะบุรพาจารย์สำคัญ ๆ ได้ฝากร่างไว้หากจะปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ากลายเป็นสถานที่ธรรมดาในอนาคตไม่เหมาะสม และควรที่จะฝากกับผู้มีศักยานุภาพในการรักษาและได้รับความนับถือสูงสุดในอนาคต บุรพาจารย์สองท่านจึงได้เล็งไปที่พระภิกษุ เพราะคิดว่าศาสนาพุทธจะต้องเจริญรุ่งเรืองในแหลมมลายูแน่นอน จึงคิดจะฝากสำนักและวิชาสำคัญ ๆ ของสำนักเขาอ้อไว้กับพระภิกษุ ซึ่งขณะนั้นในเมืองพัทลุงก็พอมีวัดบ้างแล้ว วัดที่อยู่ใกล้สำนักเขาอ้อมากที่สุด คือ วัดน้ำเลี้ยว (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง คงจะหมดสภาพวัดแล้ว) บุรพาจารย์สองท่านนั้นจึงได้ไปนิมนต์พระภิกษุจากวัดน้ำเลีร้ยวมารูปหนึ่ง ชื่อ "ทอง" ให้มาอยู่ประจำที่บนเขาอ้อ แล้วถ่ายวิชาต่าง ๆให้ มอบคัมภีร์สำคัญ ๆ มอบให้สำนักให้กลายเป็นสำนักสงฆ์ จนในที่สุดพัฒนามาเป็นวัดดังในปัจจุบัน แม้ว่าสำนักเขาอ้อจะกลายมาเป็นสำนักสงฆ์แล้ว แต่ก็ยังคงสืบทอดหน้าที่เป็นสำนักเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนต่อมาอีกหลายร้อยปี แต่ว่าเมื่ออยู่ในความปกครองของพระภิกษุ บรรดาศิษย์ที่เข้าเรียนในสำนักนี้มีหลายชนชั้น กล่าวคือเปิดโอกาสให้ทุกชนชั้นได้เข้าเรียน ไม่เหมือนสมัยพราหมณ์อยู่ครองที่เปิดโอกาสให้แต่ชนชั้นผู้นำเท่านั้น
ความยิ่งใหญ่ของสำนักเขาอ้อสืยทอดต่ออีกหลายร้อยปี จนกระทั่งบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาก สถานภาพของสำนักก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย จนกลายเป็นวัดธรรมดา ๆ ในที่สุดอย่างในปัจจุบัน
ขุมวิชาเขาอ้อ
.........................
ถอดความบันทึกในตำราโบราณอันเป็นสมุดข่อยของสำนักเขาอ้อ
สำนักเขาอ้อหรือวัดกเขาอ้อในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ภูเขาเขาอ้อ ตำบลประดู่หอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
๑. บนภูเขาเขาอ้อ
ให้ขึ้นไปบนภูเขาของเขาอ้อ จะมียอดเขางอกออกมามีต้นยางป่าดู่เต็มไปด้วยเถาวัลย์ยา แล้วก็มีว่านยาแลให้ขุดว่านยาต้นสีเขียว สีขาว และเหลือง ๆ แล้วให้จัดทำพิธีเบิกป่ากินทั้งต้น และนั่งสมาธิ ๑ ชั่วยาม จะเห็นปากภ้ำเล็กอยู่บนยอดเขา ภายในถ้ำจะมีพระพุทธรูปอยู่ ขานดเท่ากับองค์พระพุทธจริง ด้สนหลังพระพุทธจะมีรางแช่ว่านเป็นรางหิน (ธรรมชาติ)ให้แช่ว่านในนั้น เพราะเป็นน้ำไหลมาขังจากรางยาของเขาอ้อ ถัดมาอีกหน่อยจะมีรูปฤๅษีสององค์เป็งองค์ขาวและองค์ดำ บางครั้งจะเป็นงูจงอางสองตัวขาวดำพันอยู่ที่องค์ฤๅษีข้างบนและรอบ ๆ ฝาผนังจะมีเคล็ดวิชาต่าง ๆ เอาไว้ ให้ท่องวิชาให้จำได้ และให้ดื่มกินน้ำว่านในรางอยู่ ๗ วัน ห้ามออกทางประตูเข้า และให้ท่องสรรพวิชาต่าง ๆ ใน ๗ วัน
๒. ในถ้ำ
ถ้ำจะมีทางแยก ๓ ทาง ทางแยกนั้นจะมีทาง ๑ ที่มีแสงสว่างและทางโปร่ง ให้เข้าไปทางนั้นจะพบบ่อน้ำ จะมีแผ่นศิลา ๗ แผ่น ให้หยิบออมาศึกษาและเก็บที่เดิม ต่อจากนั้นเดินต่อไปก็จะพบผนัง ๙ ด้าน ภายใน ๘ ด้าน จะเขียนพระเวทสิบสองภาษา และเพดานผนังถ้ำจะเขียนสูตรพระนิพพาน เดินต่อไปจะพบชั้นเข้าไปในถ้ำ ๓ ชั้น แต่ละชั้นมีพระเวททั้งหมด ให้นั่งศึกษาพระเวทครบ ๗ วัน ให้ขึ้นเขาออกว่างปล่องและลงถ้ำข้างขึ้น ๗ ค่ำ เดือนเต็ม (คือมี ๑๕ ค่ำ และให้ออกมาตอนเช้าแรม ๑ ค่ำ)
หมายเหตุ
ห้ามลงไปสุด เพราะสุดเป็นเมืองบาดาล สามารถออกไปได้ทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ นอกจากพบพญานาค และพญานาคจึงจะเชิญเข้าไปได้ และจะเห็นขุมมหาสมบัติของพระศรีอาริยเมตตรัย และสรรพเครื่องรางของขลังอาวุธต่าง ๆ
วิชาที่ตกทอดสู่ทายาทชั้นระดับเจ้าสำนัก
๑. วิชาสั่งกระสุนและกระสุนคต
๒. ตบะเสือ
๓. กำลังหมี
๔. ผูกหุ่นราวี
๕. วิชาเสกทรายกำเนิดจักรวาล
๖. เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
๗. วิชาเหาะ ดำดิน หายตัว ย่นระยะทาง
๘. เรียกปลุกและสลายวิญญา
๙. ดูดกระแสกำลังและพลังจากจักรวาล
๑๐. เรียก ฝน ลม พายุ และเคลื่อนย้ายวัตถุ
๑๑. จับฤกษ์ยามทางในและดูดาว
๑๒. วิชาเสกใบไม้ให้เป็นสัตว์
๑๓. วิชาทำน้ำมนต์ทิพย์สูตร
๑๔. เข้าออกญาณและฌาน
๑๕. ทำยารักษาโรคต่าง ๆ
๑๖. พิชัยสงครามและสมบัติ (อาวุธต่าง ๆ)
วิชาที่สอนสานุศิษย์ทั่วไป
๑. ตั้งเรียกเดินแผลงธาตุ
๒. เวทมนตร์คาถา อาคม มนตร์ โองการ
๓. ยารักษาโรค
๔. เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
๕. ฤกษ์ยาม
๖. พิชัยสงครามและพิชัยสมบัติ
๗. วิชาอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
๘. ทำสมาธิ
๙. ทำน้ำมนตร์บางประเภท
วิชาที่สำนักเขาอ้อจัดทำให้แก่หมู่ศิษย์ทั่วไป
๑. อาบน้ำมนตร์ขับเสนียดจัญไร
๒. กินว่านยา
๓. กินไม้มงคล
๔. กินเหนียวกันมัน
๕. อาบและแช่ว่านยา
๖. กินยาอายุวัฒนะ
๗. พระ เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคลอื่น ๆ
พระเครื่องมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ตกทอดแก่ทายาทของสำนักเขาอ้อ
ชั้นระดับเจ้าสำนัก
๑. พระพุทธมหาโพธิ์ ปางห้ามสมุทร
๒. ประคำดีควาย
๓. ไม้เท้าไม้ไผ่ต้นหรือไม้คุณวิเศษอื่น ๆ เช่น รากโพธิ์ นิพพานตะวันออก รากพญางิ้วดำ เป็นต้น
๔. คฑาวุธ ไม้นามมงคล เช่น ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ มหาโพธิ์ เป็นต้น
๕. มีดครูด้ามครก
๖. กระดานและแท่นเขียนผง
๗. เหลูกจานเหล็กเก้ายอด
๘. ตะกรุดสามกษัตริย์มหาราช ๓ ดอก ๓ ชั้น
๙. หินลับมีดบาดาล
ถ้าของมงคลเหล่านี้สูญหายไปจากสำนักเขาอ้อจนหมดเกินกว่าครึ่ง ให้บรรดาหมู่ศิษย์คัด
พระสงฆ์ ๓ รูป
ฆราวาส ๔ คน
สำรุด ๑ คน
เณร ๑ รูป
มาเข้าพิธีจัดทำของข้างต้น ๙ สำรับ และแจกให้คนละ ๑ สำรับ
พระสงฆ์ให้ลง มะอะอุ
ฆราวาสลง นะมะพะทะ
สำรุดลง มิ
เณรลง น
ของเหล่านี้ปลุกเสก ๗ เสาร์ ๗ อังคาร ๑ อาทิตย์ ๒ จันทร์ ๔ พุธ ๕ พฤหัส ๖ ศุกร์ ในวันมหามงคลมหาฤกษ์ และนำของเหล่านี้มาเข้าพิธี และออกพิธีในวันเสาร์ห้า
พิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของสำนักเขาอ้อ
สำนักเขาอ้อมีพิธีกรรมสำคัญอันถือเป็นเอกลักษณ์หลายอย่าง เท่าที่ค้นพบหลักฐานและยังมีผู้ปฏิบัติสืบทอดมาจนปัจจุบันอย่างน้อยสี่อย่าง คือ
๑. กินยาแช่ว่าน
๒. กินมันหรือเสกน้ำมันงาดิบ
๓. หุงข้าวเหนียวดำ
๔. กินยาวาสนาใต้น้ำหรือกินยาจินดามณี
พิธีกรรมทั้งสี่อย่างนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของสำนักเขาอ้อ หากพิธีกรรมนี้สูญหายไปเมื่อไหร่ สำนักเขาอ้อก็คงจะขาดความสำคัญลงไปมาก