การสวดมนต์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ ผู้ที่นับถือศาสนานี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอินเดีย และมีอยู่ในประเทศอื่นๆ เช่น ศรีลังกา อินโดนีเซีย ไทย และแอฟริกาใต้ รวมประมาณ ๔๗๕ ล้านคน ศาสนาพรามหณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีอายุกว่า ๗๐๐๐ ปี
สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจากอักษร อ อุ และ ม หมายถึง เทพยิ่งใหญ่ ทั้งสามอักษร “อ” แทนพระวิษณุ อักษร “อุ” แทนพระพรหม และอักษร “ม” แทนพระศิวะ เมื่อรวมอักษรทั้ง ๓ นี้เป็นเครื่องหมายแทนปรมาตมนฺ หมายถึง เทพเจ้าสูงสุด และสัญลักษณ์ ใช้ในทุกลัทธิทุกนิกายในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีนิกายอยู่มากมาย แต่นิกายใหญ่ๆ ที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากมีอยู่ ๔ นิกาย คือ นิกายไวษณพ นิกายไศวะ และนิกายศักติ (ศากฺต) และนิกายสฺมารฺต (สฺมารฺต)
การสวดมนต์
การปฏิบัติประจำวันในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การปฏิบัติ พรหมยัญญะ หมายถึง การสวดมนต์ (การสวดมนต์ คือ การสวดเพื่อขอพรจากพระเจ้าองค์ต่างๆ ซึ่งเนื้อหาบทสวดมนต์แต่ละบทโดยส่วนมากจะกล่าวถึงรูปลักษณะและคุณสมบัติของเทวรูปองค์นั้นๆ และกล่าวถึงพรที่พระองค์ทรงประทานให้แก่ผู้สวด) และการศึกษาธรรมะ (ธรรมะ หมายถึง หน้าที่ที่ชาวฮินดูต้องปฏิบัติ) ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่ชาวฮินดูต้องทำในชีวิตประจำวัน
ในการสวดมนต์นี้ บุคคลทั่วไปจะสวดมนต์ ๒ เวลา ได้แก่ ตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนผู้ที่เป็นพราหมณ์จะสวดมนต์ ๓ เวลา ได้แก่ ตอนเช้า ตอนกลางวัน และตอนเย็น
ในปัจจุบันนี้ การสวดมนต์ของบุคคลทั่วไป จะเป็นการบูชาองค์เทพที่ชอบนับถือเป็นพิเศษ เช่น บางท่านนับถือบูชาพระนารายณ์เป็นพิเศษ บทสวดมนต์ที่ใช้ในการบูชาก็จะเป็นบทสวดมนต์ที่เกี่ยวกับการบูชาพระนารายณ์ เป็นต้น ดังนั้น บทสวดมนต์บูชาของแต่ละบุคคลหรือแต่ละบ้านก็จะแตกต่างกันไปตามความนับถือองค์เทพของบุคคลเหล่านั้น นอกจากนั้น การสวดมนต์และการทำพิธีของแต่ละวัดก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
ขั้นตอนการสวดมนต์บูชา
๑.) เตรียมของบูชา กล่าวคือ การสวดมนต์บูชาในแต่ละครั้งจะต้องเตรียมของสำหรับบูชาก่อน ได้แก่ ๑. น้ำนม ๒. น้ำ ๓. เสื้อผ้า (สำหรับองค์เทพ) ๔. ดอกไม้ ๕. กำยานหรือธูป (ส่วนใหญ่จะใช้กำยาน) ๖. ภาชนะสำหรับจุดประทีป
๒.) สรงน้ำเทวรูป มีขั้นตอน ดังนี้
๒.๑ สรงน้ำเทวรูปที่จะบูชาด้วยน้ำเปล่า ตามด้วยน้ำนม แล้วจึงใช้น้ำเปล่าอีกครั้งหนึ่ง
๒.๒ แต่งเทวรูปด้วยเสื้อผ้าที่จัดเตรียมไว้
๒.๓ นำดอกไม้ถวายเทวรูป
๒.๔ จุดกำยานหรือธูป
๒.๕ จุดประทีปถวายเทวรูป
๓.) สวดมนต์บูชา กล่าวคือ เมื่อเสร็จขั้นตอนของการสรงน้ำให้เทวรูป ก็เริ่มทำการสวดมนต์บูชา
๔.) การทำอารตี กล่าวคือ หลังจากสวดมนต์บูชาทุกครั้งจะจบลงด้วยการอารตี
ความหมาย : คำว่า “อารตี” (มาจากคำว่า “อา” แปลว่า มา และ “รตี” แปลว่า ความรัก, ความเป็นสิริมงคล) หมายถึง ขอให้ความรัก ความเป็นสิริมงคลจากพระเป็นเจ้าเข้ามาอยู่ในตัวเรา เพื่อเราจะเป็นคนดี รักเพื่อนมนุษย์ มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกัน
วิธีทำอารตี : การวนเบื้องหน้าเทวรูปด้วยแสงอันสวยงามของเปลวไฟ (ประทีป)
ตัวอย่างบทสวดมนต์
๑.) บทอธิฐานขอพร พระพิฆเนศ
โอม คะชานะนัม ภูตะคะณาธิเสวิตัม กะปิตะชัมพูผะละ จารุภักษะฌัม อุมาสุตัม โสกะวินาศะการะกัม นะมามิ วิฆะเนศวะระปาทะปัมกะชัม
Shri Ganesh
Om Gajanam Bhoot Ganadhisevitam Kapittha Jambu Fal Charu Bhakshanam, Uma Sutam Shok Vinash Karakam Namami Vighneshwsar Pad Pankjam.
๒.) บทอธิฐานขอพร พระนารายณ์
โอม ศานตาการัม ภุชะคะศะยะนัม ปัทมะนาภัมสุเรศัม วิศวาธารัม คะคะนะสะทฤศัม เมฆะวรรณัมศุภางคัม ลักษมีกานตัมกะมะละนะยะนัม โยคิภิร์ธยานะคัมมยัม วันเทวิษฌุม ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกานาถัม
Shri Laxmi Narayan
Shanta Karam Bhujag Shaanam Padmanabham Suresham. Vishwadha Ram Gagan Sadrisham Megha Varnam Shubhangam. Laxmi Kantam Kamal Nayanam Yogibhir Dhyan Gamyam. Vande Vishnambhav Bhaya Haram Sarva Lokai Ka Na Tham.
๓.) บทอธิฐานขอพร พระวิษณุ
โอม สะศางขะจักรัม สะกิริฏะกุณดะลัม สปิตะวัสตรัม สะระสีรูเหกษฌัม สะหาระวักษะสถะละ เกาวสตุภะ ศริยัม นะมามิวิษณุม ศิระสา จตุรภุชัม
Shri Vishnu
Om Sashangkha Chakram Sakirita Kun Dalam Sapitawastram Sarasiru Hekashanum Saharawak Shasthala Kaustubha Sriyam Namami Vishnum Shirasa Chaturaphujam
๔.) บทอธิฐานขอพร พระราม
โอม นีลามพุชะ ศยามะละโกมะลางคัม สีตาสมาโรปิตวา มะภาคัม ปาเณามหาสายะกะ จารุจาปัม นะมามิรามัม ระฆุวันศะ นาถัม
Shri Sita Ram
Om Neelambuja Shyamal Kom Langam Sita Samaropit Vam Bha Gam. Panau Maha Sayak Cha Ru Cha Pam Namami Ramam Raghuvansh Natham
๕.) บทอธิฐานขอพร พระหนุมาน
โอม อะตุลิตะบะละธามัม เหมะไศลาภเทหัม ทะนุชะวะนะกฤศานุม คานินามะคระคะณยัม สะกะละคุณะนิธานัม วานะราณามธีชัม ระฆุปะติ ปริยภักตัม วาตะญาตัม นะมามิ
Shri Hanuman
Om Atulit Bal Dhamam Hemshailabha Deham, Danuj Van Krishanum G_Yani Namagra Ganyam, Sakal Gun Nidhanam Va Naramadhisham Raghu Pati Priy Bhaktam Vat Jatam Namami
๖.) บทอธิฐานขอพร พระกฤษณะ
โอม วันศี วิภูษิตะกะรานนะวะนีระทาภาต ปิตามบะรา ฑรุณะ พิมพะผะลาธะโรษฐาต ปุรเณนทุสุนทะระ มุขาทะระวินทะ เนตราต กฤษณาตปะรัม กิมาปิ ตัดตวามะหัม นะญาเน
Shri Radha Krishna
Om Vanshi Vibhushit Karan Nav Neerda Bhat. Peetapara Darun Bimba Fala Dharosh That Poornendu Sunder Mukha Darvind Netrat Krishant Param Kimapi Tatva Maham Na Jane.
๗.) บทอธิฐานขอพร พระศิวะ
โอม กระปูระเคารัม กรุณาวะตารัม สันสาระสารัม ภุชะเคนทะ ระหารัม สะทะวะสันตัม หฤทะยาระวินเท ภะวัมภะวานี สาหิตัม นะมามิ
Shri Shiv
Om Karpoor Gauram Karunavataram. Sansar Saram Bhuj Gendra Haram. Sada Vasantam Hridayarvinde Bhavam Bhavani Sahitam Namami
๘.) บทอธิฐานขอพร พระแม่อุมา
โอม โรคานเศษานะปะหันสิตุษฎา รุษฎาตุกามาน สะกะลานะภีษะฎาน ตวามาศริตานาม นะวิปันนาราฌาม ตวามาศรีตาหยา ศระยะตามปะระยานติ
Shri Umadevi
Om Roganasheshanaphansi Tushta Rusta Tu Kaman Sakalanabhi Shtan Twama Shritanam Na Vipan Nara Nam Twama Shrita Hyashra Ya Tam Prayanti
๙.) บทอธิฐานขอพร พระพุทธเจ้า
โอม ยัมไศวาหะ สะมุปาสะเตศิวะอิติ พรมเหติเวทานติโน เพาทธา พุทธอีติประมาณะปะฎะวะหะ กรเตติไนยายิ กาหะ อรหัน นิตยะถะไญนะ ศาสะนะระตาหะ กรรมเมติ มีมานสกาหะ โสยัมโน วิทะธาตุวานณฉิตะผะลัม ไตรโลกยะ นาโถ หะริหิ
Shri Buddha Devi
Om Yam Shaiva Samupasate Shiv Itibramhate Vedantino Buddhah Buddha Iti praman Patavah Karteti Naiyayekah. Arhan Nityath Jain Shasan Ratah. Karmeti Mimansakah Soyam No Vid Dhatu Van Chhit Falam Trailo Kyanatho Harih
๑๐.) บทอธิฐานขอพร ทุกๆ พระองค์
โอม ตวะเมวะมาตา จะบิตา ตวะเมวะ ตวะเมวะพันธุศจะ สะขา ตวะเมวะ ตวะเมวะวิทยา ทรวิณัม ตวะเมวะ *ตวะเมวะสรวัม มะมะเทวะ เทวะ (*ซ้ำ)
Sana Dev Prarthana
Om Twameva Mata Chapitatwameve Twameva Bandhushcha Sakha Twameva Twameva Vidya Dravinam Twameva Twameva Sarvam Mamdeva Deva
๑๑.) บท Jay – Ho
ถรมกี |
แจ-ย โฮ |
โอม นมะ ปารวตี ปเต ฮารา ฮารา ฮารา มหาเทว |
Jay – Ho
Om |
Dharma Ki |
Jai Ho |
Om Namaha Parwati Pataye Har Har Har Mahadev |