ตามรอยพราหมณ์ที่ควนกรวด

พิธีกรรมของพราหมณ์พัทลุง
พิธีและขั้นตอนที่ต้องประกอบพิธีต่อเนื่องกัน  ในวันขึ้น ๑ ค่ำ  เดือน ๔ จนถึงรุ่งอรุณของวันขึ้น ๒ ค่ำ  เดือน ๔ คือ 
1.พิธีกรรมสรงน้ำเทวรูป 
2.พิธีกรรมบริสุทธิ์ตัวหรือล้างบาป  
3.พิธีกรรมถวายเครื่องสังเวย  
4.พิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้า  
5.พิธีกรรมตักบาตรใบบัว   

 

ประเพณีทำบุญปีใหม่ของพราหมณ์พัทลุง  ที่ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ  เดือน ๔ แม้จะกำหนดวันแตกต่างไปจากพราหมณ์ในกรุงเทพ ฯ  ที่กำหนดตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ  เดือนอ้าย  ถึงวันแรม ๑ ค่ำ  เป็นวัน ปีใหม่ ตรงกับพระราชพิธีตรียัมปวาย และวันแรม ๑ ค่ำ ถึงวันแรม ๕ ค่ำ เป็นพิธีตรีปวาย  แต่เนื้อหาของประเพณีหลายอย่างที่มีความคล้ายคลึงกัน  สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ดังนี้
ประเพณีทำบุญปีใหม่ ขึ้น ๑ ค่ำ  เดือน ๔ (พราหมณ์พัทลุง)
๑.   วันขึ้นปีใหม่เป็นพิธีราษฎร์
๒.  เทพเจ้าเสด็จลงมาโลกมนุษย์
๓.  ถวายข้าวเม่า  ข้าวอ้อ  ข้าวอวน  ไม่มีเนื้อสัตว์
๔.  พราหมณ์ทำพิธีบริสุทธิ์ตัวให้ร่างกาย บริสุทธิ์
๕.  เทพเจ้ามี พระอิศวร  พระนารายณ์ พระอุมา  และพระพิฆเนศ
๖.   เครื่องประกอบพิธีที่ถวายเทพเจ้าส่วนที่เหลือนำไปถวายวัด
๗.  บวชพราหมณ์ได้เฉพาะในวันประกอบพิธีทำบุญปีใหม่เท่านั้น
๘.  พิธีทำติดต่อกัน ๒ วัน

พระราชพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย ขึ้น ๗ ค่ำเดือนอ้าย - แรม ๒ ค่ำเดือนอ้าย (พราหมณ์กรุงเทพฯ)
๑.   วันขึ้นปีใหม่เป็นพิธีหลวง
๒.  เทพเจ้าเสด็จลงมาโลกมนุษย์
๓.  ถวายข้าวตอกผลไม้ ไม่มีเนื้อสัตว์
๔.  พราหมณ์ทำพิธีอาตมวิสุทธิ์ให้ร่างกายบริสุทธิ์
๕.  เทพเจ้ามีพระอิศวร  พระนารายณ์  พระอุมา และพระพิฆเนศ
๖.   เครื่องประกอบพิธีถวายเทพเจ้าส่วนที่เหลือนำไปแจกบ้านขุนนาง
๗.  บวชพราหมณ์ในช่วงพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวายเท่านั้น
๘.  พิธีทำติดต่อกัน ๑๐ วัน

 

 

คลิกเพื่อชมวีดีโอสไลด์โชว์ ตามรอยพราหมณ์ที่ควนกรวด

Pin It