ตำนาน หัวนะโม
ตำนาน หัวนอโม
ประวัติ หัวนอโม
ประวัติ หัวนะโม

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าแห่งอาณาจักรตามพรลิงก์ ผู้ตั้งเมืองนครศรีธรรมราช จากชุมชนเดิมซึ่งมีชื่อเรียกว่า ตามพรลิงก์ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17-18 ตามตำนานของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้กล่าวว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงพระนามเดิมว่า "อโศก" เป็นชาวอินเดียที่มีความเลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์ จึงทำให้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในศาสนาพราหมณ์เป็นที่แพร่หลายในเมืองนครศรีธรรมราช พระองค์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของนครศรีธรรมราชโบราณ และได้เป็นผู้สร้างบ้านแปลงเมืองให้เป็นอาณาจักรสำคัญได้ทรงสร้างเมือนครศรีธรรมราชขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1098 โดยสร้างกำแพงป้อมปราการโดยรอบทั้งชั้นนอกชั้นใน ทำให้นครศรีธรรมราชเป็นมหานครใหญ่และมีอำนาจมาก มีเมืองขึ้น 12 หัวเมืองเรียกว่าเมือง 12 นักษัตร ตั้งอยู่โดยรอบพระราชอาณาเขต โดยกำหนดให้ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราเมืองแต่ละเมือง
ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้เกิดโรคห่าระบาดในบริเวณภายในกำแพงเมืองหลายครั้งพระองค์จึงต้องอพยพประชากร หนีโรคภัยออกจากเมืองหลายครั้งตามหลักฐานได้ปรากฎว่าหนีมาที่ลานสกาและสถานที่ประทับก็คือ วังโบราณมีลานกว้างมากมีแท่นหินใหญ่เป็นที่ประทับ พระองค์ชอบให้บริวารนำเอาลูกสกามาทอด (การโยนหยอด) ลงหลุมบนลานกว้างนั้นซึ่งมีต้นอินต้นจันทน์ และต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก (ที่ได้ชื่อว่าอำเภอลานสกาเพราะพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้มาทอดลูกสกาบนลานกว้างนี้เอง จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อ อำเภอลานสกา จนมาถึงปัจจุบัน
ตอนที่พระองค์ประทับอยู่ที่ลานสกา พระองค์ได้คิดวิธีแก้ไข้ห่า โดยการประชุมชุมนุมพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงเวทวิทยาอาคมแก่กล้าในสมัยนั้น ทั้งพราหมณ์ที่ตามพระองค์มา และพราหมณ์อันเป็นบรรพบุรุษพราหมณ์ที่ลานสกาในสมัยก่อน ได้เรียกปรอท และนำว่านยา ธาตุกายสิทธิ์ทั้งหลาย พร้อมทั้งปรอทมาหุงขัดยา เพื่อทำเป็นหัวนอโม หรือหัวนะโม หว่านทั่วเมือง และรอบกำแพงเมืองนครเพื่อขจัดโรคห่าให้หมดไป เมื่อโรคห่าซึ่งเป็นโรคระบาดในสมัยนั้นได้หมดไปจากเมืองนครด้วยอำนาจของหัวนอโม และมนตราพระเวทศักดิ์สิทธิ์ของพวกพราหมณ์ทั้งหลาย พระองค์จึงเสด็จประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นการถาวร ปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเป็นวัด ชื่อว่าวัดน้ำรอบแต่ต่อมาได้ย้ายวัดมาที่สถานที่ใหม่เนื่องจากสถานที่เก่าคับแคบ แต่ต่อมาในปี2510 ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ได้มีการนำพระพุทธรูปจำลององค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช มาประดิษฐานที่นี่ด้วยในปี 2514 เพื่อเตือนใจว่าที่นี่เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
คำว่า นอโม หรือ นะโม มาจากคำว่า “นมะ” หรือ “นมัส” เป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงออกถึงความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า ส่วนสัญลักษณ์ของนะโมในตอนนั้นคืออักษรปัลลวะทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งเป็นอักษรและอักขระที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นต้นแบบของภาษาขอมอันศักดิ์สิทธิ์ของเขมรลัทธิไศวนิกาย
ตัวอย่างนะโม หรือนอโม เป็นอักษรหรืออักขระนำหน้าเสมอในการบูชาพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ นี้เป็นตัวอย่างอักษรศิลาจารึกหุมเขาช่องคอย ซึ่งมีคำว่า นะโม นำหน้า แต่พราหมณ์นครในสมัยโบราณ มักจะท่องว่า นอโม
คำแปลศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยอักษรปัลวะ
บรรทัดที่ 1 นโม สตุ ตไสฺม ปตเย วนานัง
ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่านผู้เป็นเจ้าแห่งป่า (พระศิวะ)
บรรทัดที่ 2 นโมสตุต ไสฺม ปตเย สุราณาม
ขอความนอบน้อมจงมีแก่ท่านผู้เป็นเจ้าแห่งเทพทั้งมวล (พระศิวะ)
บรรทัดที่ 3 ปฺโยชนาจฺฉิวนมา คตาเสฺต
ชนทั้งหลายผู้เคารพต่อ (พระศิวะ)
บรรทัดที่ ๔ ทาตวยมิตฺยตร ภวทฺภิเรภยะ
อันท่านผู้เจริญ (พระศิวะ) นี้จะพึงให้มีอยู่ในที่นี้จึงมาเพื่อประโยชน์(นั้น)
บทความโดย พราหมณ์พิธี พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์